เทคนิค! การใช้ตะเกียบ แบบง่าย ๆ สอนลูกจับตะเกียบแบบไหนดี?

เมื่อลูกของเราเริ่มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเขาเริ่มที่จะดูแลตัวเองได้บ้างแล้วนั้น เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนก็อยากที่จะสอนเทคนิคต่าง ๆ ใน 

 1110 views

เมื่อลูกของเราเริ่มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเขาเริ่มที่จะดูแลตัวเองได้บ้างแล้วนั้น เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนก็อยากที่จะสอนเทคนิคต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้กับลูก ซึ่งเทคนิคต่าง ๆ ที่เราจะสอนลูกได้นั้น เราก็อาจจะเริ่มจากเทคนิคการสอนแบบง่าย ๆ อาทิเช่น การใช้ตะเกียบ เป็นต้น เอาเป็นว่าหากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากจะฝึกให้ลูก ๆ ของเราใช้ตะเกียบกันให้คล่องมากขึ้นแล้วล่ะก็ เรามาสอนลูกให้รู้จักขั้นตอน การใช้ตะเกียบ กันเลยดีกว่า



ประเภทของตะเกียบที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้!

ก่อนที่เราจะเริ่มใช้ตะเกียบกันนั้น เรามาดูประเภทของตะเกียบแต่ละชนิดกันดีกว่าว่า แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร และเราควรเลือกซื้อตะเกียบแบบไหน เพื่อที่เราจะได้ใช้ตะเกียบที่ตอบโจทย์ความต้องการของเราได้มากที่สุด หากเป็นแบบนั้นแล้วล่ะก็ เรามาดูกันได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกคิดบวก หายห่วงทุกสถานการณ์ กับ 5 วิธีแสนง่าย



การใช้ตะเกียบ


1. ตะเกียบแบบไม้ไผ่

มาดูกันที่ตะเกียบประเภทแรก ต้องบอกว่าตะเกียบในรูปแบบนี้จะเป็นตะเกียบในรูปแบบใช้แล้วทิ้งซะมากกว่า เพราะตะเกียบไม้ไผ่หากเราเก็บไว้นาน สิ่งนี้ก็อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราได้ง่ายเหมือนกัน



2. ตะเกียบแบบไม้

ตะเกียบประเภทก็ไม่ได้แตกต่างจากตะเกียบไม้ไผ่สักเท่าไหร่ ซึ่งเป็นหนึ่งในตะเกียบที่ค่อนข้างใช้งานง่าย อีกทั้งยังเป็นตะเกียบที่นิยมใช้แล้วทิ้งเหมือนกัน หากใครที่ไม่ค่อยชอบเก็บตะเกียบไว้ใช้นาน ๆ เราก็อาจจะเลือกใช้ตะเกียบประเภทไม้กันได้เลยนะคะ



3. ตะเกียบแบบพลาสติก

สำหรับตะเกียบแบบพลาสติกนั้น เป็นหนึ่งในตะเกียบที่ค่อนข้างพกพาไปไหนมาไหนได้ง่าย อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสารตกค้างอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นตะเกียบที่ได้รับความนิยม หรือคนส่วนใหญ่ชอบใช้ตะเกียบในลักษณะแบบนี้กันมาก ๆ เลยล่ะค่ะ



4. ตะเกียบแบบเหล็กไร้สนิม

ต้องบอกเลยนะคะว่าตะเกียบในลักษณะแบบนี้ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจอยู่เช่นเดียวกัน เพราะเป็นตะเกียบที่มีความทนทานค่อนข้างสูง อีกทั้งยังสามารถนำไปทำความสะอาด และสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานอีกด้วยนะคะ



ขั้นตอนการใช้ตะเกียบที่ทำตามได้ไม่ยากมีอะไรบ้าง?

หากใครที่กำลังมองหาวิธีการใช้ตะเกียบแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งอยากฝึกให้ลูก ๆ ได้ลองใช้ตะเกียบกันดูบ้าง ต้องบอกว่าขั้นตอนการใช้จับตะเกียบที่เราได้นำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ในวันนี้ เด็ก ๆ จะต้องทำตามกันได้อย่างแน่นอนค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิค! สอนลูกอาบน้ำ ทำอย่างไร? ไม่ให้ลูกงอแง



การใช้ตะเกียบ


1. จับตะเกียบมือข้างที่ถนัด

สิ่งแรกที่เราจะต้องคำนึงถึงเลยคือ เราจะต้องฝึกให้เด็ก ๆ จับตะเกียบในมือข้างที่เขารู้สึกถนัด เพื่อที่เขาจะได้ไม่รู้สึกเกร็งนิ้ว และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนการจับเราจะใช้นิ้วกลางและนิ้วโป้งทำการหนีบตะเกียบข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมา โดยที่ไม้ตะเกียบจะพาดอยู่บริเวณนิ้วโป้งกับนิ้วชี้นั่นเองค่ะ



2. ทำการหยิบตะเกียบด้วยนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง

จากนั้นให้เราใช้แรงที่บริเวณนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง พร้อมกับทำการขยับไปมา ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่ควรที่จะเกร็งข้อมือ แต่ควรปล่อยมือให้สบาย ๆ เพื่อที่เราจะได้คีบอาหารได้อย่างสะดวกมากขึ้น



3. ทำการฝึกขยับตะเกียบไปมาอยู่บ่อย ๆ

สำหรับใครที่ฝึกให้เด็ก ๆ ลองจับตะเกียบในครั้งแรก เราก็อาจจะต้องฝึกให้เด็ก ๆ ฝึกกางและหุบตะเกียบไปมาอยู่บ่อย ๆ โดยการจับตะเกียบนั้นเราจะต้องให้ตะเกียบเป็นรูปกากบาท หรือไขว้กันอยู่ เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้คีบอาหารขึ้นมาได้แบบง่าย ๆ



4. ทำการคีบอาหาร

จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนของการคีบอาหาร ซึ่งในขั้นตอนนี้ให้ฝึกให้เด็ก ๆ ยกตะเกียบขึ้นมาทำมุมประมาณ 45 องศา พร้อมกับทำการคีบอาหารที่เราต้องการขึ้นมา และที่สำคัญในขั้นตอนนี้เราจะต้องคีบอาหารให้แน่น ไม่ควรคีบแล้วยกขึ้นเลย แต่ควรค่อย ๆ ระวังเพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้อาหารที่เราคีบมาตกลงบนพื้นได้



ข้อควรระวังในการใช้ตะเกียบที่เราต้องรู้!

หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ทำการฝึกเด็ก ๆ ให้ลองใช้ตะเกียบกันดูแล้วนั้น เราอาจจะต้องฝึกให้เขารู้จักข้อควรระวัง และวิธีการใช้ตะเกียบที่ถูกต้องตามไปด้วย เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้เข้าใจและรู้จักใช้ตะเกียบได้อย่างเหมาะสมตามไปด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีสอนลูกให้จำชื่อตัวเอง ทำบ่อย ๆ ช่วยลูกได้แน่นอน



การใช้ตะเกียบ


1. ไม่ควรปักตะเกียบไว้กลางอาหาร

ข้อควรระวังอย่างแรกของการใช้ตะเกียบที่ดีนั้น คือ หากเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกอิ่มหลังจากที่กินข้าวเสร็จแล้วนั้น เราไม่ควรที่จะปักตะเกียบไว้บริเวณกลางภาชนะ เพราะสิ่งนี้เป็นอะไรที่ไม่เหมาะสมมาก ๆ หากรู้สึกอิ่มแล้วเราควรวางตะเกียบไว้บริเวณข้าง ๆ ภาชนะที่เตรียมไว้จะดีกว่านะคะ



2. ไม่ควรส่งอาหารจากตะเกียบสู่ตะเกียบ

ด้วยความเชื่อของคนญี่ปุ่น สิ่งนี้จึงเป็นอะไรที่ไม่เหมาะและไม่ควรทำเช่นเดียวกัน เพราะการที่จะส่งอาหารจากตะเกียบสู่ตะเกียบจะทำได้เฉพาะในงานศพเท่านั้น ดังนั้นเราอาจจะต้องระวังในเรื่องนี้กันด้วยนะคะ



3. ห้ามใช้ตะเกียบจิ้มอาหาร

สิ่งที่เราอาจจะต้องระวังต่อมาเลยคือ ไม่ควรที่จะใช้ตะเกียบในการจิ้มอาหาร ทางที่ดีเราอาจจะต้องใช้ตะเกียบในการคีบอาหารจะดีกว่า เพราะเมื่อไหร่ที่เราใช้ตะเกียบจิ้มอาหาร สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้อาหารบางประเภทหกลงบนพื้นโต๊ะที่เราทานข้าวได้



4. ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหรือคนอาหาร

สิ่งที่ไม่ควรทำมาก ๆ ต่อมาเป็นเรื่องของการใช้ตะเกียบคุ้ยหรือคนอาหาร ยิ่งใครที่ต้องทานข้าวร่วมกับคนอื่น ๆ เราไม่ควรที่จะทำแบบนี้เลยนะคะ ทางที่ดีเราอาจจะต้องใช้ตะเกียบคีบขึ้นมาใส่จานของตัวเองก่อนจะดีที่สุดค่ะ



5. ไม่ใช้ตะเกียบลากสิ่งของหรือภาชนะ

นอกเหนือจากนั้นแล้ว เราไม่ควรที่จะใช้ตะเกียบลากสิ่งของหรือภาชนะที่เราต้องการนะคะ เพราะสิ่งนี้เป็นอะไรที่ไม่เหมาะสมและไม่น่ารักมาก ๆ หากสิ่งของที่เราต้องการอยู่ไกล หรือเราอยากที่จะได้สิ่งนั้น เราก็อาจจะใช้มือยกภาชนะที่ต้องการมาจะดีกว่า



6. ไม่ใช้ตะเกียบเคาะภาชนะ

สิ่งที่เราอาจจะต้องระวังต่อมาเลยคือ ไม่ควรที่จะใช้ตะเกียบเคาะภาชนะ หรือถ้วย จาน หรือชามที่เรานำมาใส่อาหาร เพราะสิ่งของเหล่านี้เป็นสิ่งของที่เหมาะสำหรับใส่อาหารเพียงเท่านั้น เมื่อไหร่ที่เราทำการเคาะ ใช้งานผิดลักษณะสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน



จากที่เราได้พาคุณพ่อคุณแม่มารู้กับวิธีการใช้ตะเกียบมากขึ้นแล้วนั้น บอกเลยว่าวิธีการฝึกให้ลูกจับตะเกียบในครั้งแรกไม่ยากกันเลยใช่ไหมคะ หากใครที่อยากจะลองฝึกให้ลองทานข้าวเอง พร้อมกับอยากฝึกให้เขาลองใช้ตะเกียบดูบ้าง สามารถเข้ามาดูเทคนิคการฝึกลูกจับตะเกียบกันในครั้งแรกเลยนะคะ เพราะเราได้นำมาฝากคุณแล้ว


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
5 วิธีช่วยแก้ปัญหา เมื่อลูกรักกลายเป็นเด็ก “ขี้อาย”
10 เทคนิค เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด อารมณ์ดี เป็นอัจฉริยะ
ปิงปอง มีวิธีการเล่นอย่างไรบ้าง? เล่นปิงปองยากไหม มาดูกัน!
ที่มา : 1, 2