เคล็ดลับ! ฝึกลูกเขียนหนังสือ ด้วยวิธีง่าย ๆ เริ่มต้นจากอะไร?

เมื่อลูก ๆ เริ่มมีอายุได้ประมาณ 1 ขวบขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่บางคนก็อาจจะเริ่มให้เด็ก ๆ ได้ลองจับดินสอเขียนนู้น เขียนนี่กันมาบ้างแล้ว ซึ่งต้องบอก 

 1590 views

เมื่อลูก ๆ เริ่มมีอายุได้ประมาณ 1 ขวบขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่บางคนก็อาจจะเริ่มให้เด็ก ๆ ได้ลองจับดินสอเขียนนู้น เขียนนี่กันมาบ้างแล้ว ซึ่งต้องบอกว่าการที่เราฝึกให้เขาลองเขียนหนังสือตั้งแต่เด็ก ๆ ฝึกให้เราลองจับหรือใช้ดินสอบ้าง สิ่งนี้ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากลอง ฝึกลูกเขียนหนังสือ ด้วยตัวเอง ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี เรามาดูเคล็ดลับเหล่านี้ไปพร้อมกันเลยค่ะ

เทคนิคการจับดินสอที่ถูกวิธีทำอย่างไร?

ฝึกลูกเขียนหนังสือ

1. นั่งหลังตรง เท้าวางราบกับพื้น

สิ่งแรกที่เราควรคำนึงถึงก่อนที่จะพาเด็ก ๆ เขียนหนังสือนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องให้เด็ก ๆ นั่งอยู่ในท่าที่เหมาะสมและถูกต้อง พยายามให้ลูกนั่งหลังตรง บริเวณส่วนเท้าให้วางราบกับพื้น โดยจะวางราบทั้งสองข้างนะคะ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราปล่อยให้ลูกนั่งตามสบาย หรือปล่อยให้เขานั่งหลังค่อม สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้เขาเสียบุคลิกภาพได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : การฝึกลูก ๆ วาดรูป ตั้งแต่ยังเด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการอย่างไรบ้าง?

2. การหยิบดินสอ

เมื่อมาถึงขั้นตอนการหยิบดินสอ เราอาจจะต้องให้เด็ก ๆ หยิบดินสอด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หรือสำหรับบางคนก็อาจจะใช้ 3 นิ้ว คือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วนางได้เหมือนกัน เมื่อเด็ก ๆ ทำการจับดินสอขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว เราก็อาจจะให้เด็ก ๆ เอียงดินสอประมาณ 45 องศา เพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกเขียนหนังสือ

3. วางนิ้วชี้ลงบนดินสอ

ขั้นตอนต่อมาให้อาจจะต้องลองให้เด็ก ๆ วางนิ้วชี้ลงบนดินสอ เพื่อเราจะได้ควบคุมการเขียนหนังสือตามไปด้วย ซึ่งในขณะที่เราเขียนนั้น เราจะใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งเป็นตัวบังคับในการเขียนหนังสือ ขั้นตอนนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยบอกเด็ก ๆ และคอยระวังไม่ให้เขาบีบบังคับดินสอมากจนเกินไปนะคะ เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้เขารู้สึกเจ็บนิ้ว และเขียนไม่สบายขึ้นมาได้เลย

4. รองรับดินสอด้วยนิ้วกลาง

หลังจากที่เราใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้เป็นตัวบังคับการเขียนแล้ว จากนั้นเราก็จะใช้นิ้วกลางเป็นตัวรองรับดินสอ เพื่อที่เราจะได้เขียนหนังสือได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ

5. วางมือบนกระดาษ

วิธีการเขียนที่ดี การวางมือก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องให้เด็ก ๆ วางสันมือบนกระดาษ พยายามอย่าให้มือออกมาบริเวณนอกกระดาษ หรือเมื่อไหร่ที่จำเป็นต้องเอามือออกนอกกระดาษ เราอาจจะต้องหากระดาษมารองมือให้กับเด็ก ๆ เพื่อป้องกันรอยเปื้อน และช่วยให้เด็ก ๆ เขียนหนังสือได้สะดวกตามไปด้วยนะคะ

ทักษะการเขียนที่ดีสำหรับเด็ก ๆ มีอะไรบ้าง?

ฝึกลูกเขียนหนังสือ

1. ทักษะ In hand manipulation

มาดูกันที่ทักษะแรก ซึ่งต้องบอกว่าทักษะนี้จะเป็นทักษะที่มีความสามารถในการจัดการวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ภายในมือของเด็ก ๆ ยกตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวดินสอที่อยู่ในมือ เป็นต้น แต่ในการเคลื่อนไหวเหล่านี้ ก็อาจจะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย เพราะฉะนั้นการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก ๆ แต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกร้องเพลง กิจกรรมง่าย ๆ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข

2. ทักษะ Crossing midline

ทักษะต่อมา เป็นทักษะที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลำตัว เรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการขั้นพื้นฐานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของสมองทั้งสองซีก ดังนั้นการที่เราสอนให้เด็ก ๆ ฝึกเขียนหนังสือ หรือวาดรูปตั้งแต่เด็ก ๆ สิ่งนี้ก็นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับเด็ก ๆ ได้เหมือนกัน

3. ทักษะ Bilatetal

ทักษะ Bilatetal เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จะฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักใช้มือทั้งสองข้างไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งในครั้งแรกเราอาจจะยังดูไม่ออกว่าเด็ก ๆ ถนัดมือข้างซ้ายหรือข้างขวา แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 2 – 3 ปี เด็ก ๆ ก็จะเริ่มแสดงมือข้างที่ตัวเองถนัดมากขึ้น จากการที่เขาใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับสิ่งของใกล้ตัวอยู่บ่อย ๆ

4. ทักษะ Posture

ทักษะนี้จะเป็นทักษะเกี่ยวกับการนั่ง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องจัดให้เด็ก ๆ นั่งอยู่ในท่าที่เหมาะสม เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้นั่งหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกตามไปด้วยนะคะ

5. ทักษะ Proximal control

มาถึงทักษะที่สำคัญอีกอย่าง คือทักษะ Proximal control ทักษะนี้เกี่ยวข้องกับการควบคุมการระบบการทำงานของไหล่และแขนให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และเมื่อไหร่ที่ไหล่และแขนของเด็ก ๆ ถูกวางในตำแหน่งที่ถูกต้อง เขาก็จะมีทักษะการเขียนหนังสือที่ดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถเขียนหนังสือได้อย่างสบายเลย

ฝึกลูกเขียนหนังสือ

6. ทักษะ Vitual perception and Visual motor integration

ทักษะเหล่านี้จะเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับสายตาทั้งหมด ซึ่งต้องบอกว่าค่อนข้างที่จะมีองค์ประกอบหลายอย่างมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแยกวัตถุทางด้านสายตา หรือการรับรู้ตำแหน่งและทิศทางของวัตถุ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เทคนิค เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด อารมณ์ดี เป็นอัจฉริยะ

7. ทักษะ Kinesthesia

Kinesthesia เป็นทักษะที่จะช่วยฝึกให้เด็ก ๆ รับรู้ถึงทิศทางและน้ำหนัก โดยเฉพาะตอนที่เด็ก ๆ ได้ลองฝึกเขียนหนังสือ สิ่งนี้ก็จะช่วยฝึกให้เขารับรู้ถึงการลงน้ำหนักไปที่ตัวหนังสือได้อย่างถูกต้อง เด็ก ๆ ก็จะได้รู้ว่าขณะที่เราเขียนหนังสืออยู่นั้น ควรลงน้ำหนักประมาณถึงจะถูกต้องและเหมาะสมนั่นเองค่ะ

8. ทักษะ Motor planning

เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน เพราะก่อนที่เด็ก ๆ จะเขียนหนังสือออกมาได้แต่ละตัว เขาก็อาจจะต้องมีการวางแผนลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ออกมาก่อน เพราะฉะนั้นต้องบอกว่าการที่เราฝึกให้เด็ก ๆ ได้ลองฝึกเขียนหนังสือตั้งแต่เด็ก ๆ สิ่งนี้ก็ค่อนข้างที่จะทำให้เขาได้ทักษะต่าง ๆ ที่ดีตามไปด้วยเลยล่ะค่ะ

9. ทักษะ Psychosocial

ทักษะนี้จะเกี่ยวข้องทางด้านอารมณ์และจิตใจ ต้องบอกว่าในขณะที่ลูก ๆ ฝึกเขียนหนังสือนั้น เราไม่ควรที่จะไปบังคับหรือกดดันเขามากจนเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้เขารู้สึกเครียด หรือมีความกังวลจนไม่อยากเขียนหนังสือขึ้นมาได้เช่นกัน

10. ทักษะ Cognition

มากันที่ทักษะนี้กันบ้าง ทักษะ Cognition เป็นทักษะที่เกี่ยวกับความรู้และความเข้าใจ เรียกได้ว่าเป็นทักษะที่ค่อนข้างมีความสำคัญ อีกทั้งยังช่วยฝึกให้เด็ก ๆ มีสมาธิเพิ่มขึ้นอีกด้วย เอาเป็นว่าหากเด็ก ๆ เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยที่โตมากขึ้น เราก็อาจจะลองฝึกเด็ก ๆ เขียนหนังสือดูนะคะ เพื่อที่เขาจะได้มีทักษะต่าง ๆ ติดตัวไปด้วยได้

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ฝึกเด็ก ๆ ให้ลองเขียนหนังสือเองได้แล้ว บอกเลยว่านอกจากเขาจะเขียนหนังสือเป็นแล้ว เขายังจะได้รับทักษะทางด้านความรู้ ความจำ และความคิดตามไปอีกด้วย หากในช่วงเวลาว่างไม่รู้จะพาลูก ๆ ทำกิจกรรมอะไรดี ลองฝึกเด็ก ๆ เขียนหนังสือดูนะคะ ขอบอกเลยว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก ๆ เลยล่ะค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกชอบ “กลั่นแกล้ง” เพื่อน สอนลูกอย่างไรไม่ให้รังแกผู้อื่น?

4 เทคนิค สอนลูกทำงานบ้าน มีประโยชน์ต่อพัฒนาการลูกน้อย

7 วิธีแก้เมื่อ ลูกหวงของ ให้มีน้ำใจ เป็นเด็กชอบแบ่งปัน

ที่มา : 1, 2