ปัจจุบันการคลอดลูกในน้ำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่ต้องการลดอาการเจ็บท้องขณะคลอดลูก คุณแม่หลายคนจึงอาจสงสัยว่าการคลอดลูกในน้ำนั้น ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน และจะมีอันตรายต่อตัวเอง และลูกน้อยไหม วันนี้ Mama Story จะพาคุณแม่ทุกท่านไปรู้จักขั้นตอน และข้อดีของการคลอดลูกในน้ำค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ
คลอดลูกในน้ำคืออะไร?
คลอดลูกในน้ำ คือ การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง ซึ่งปกติแล้วการคลอดแบบธรรมชาติจะคลอดอยู่บนเตียงในห้องสำหรับการคลอด แต่การคลอดในน้ำจะเป็นการคลอดในสระ หรืออ่างที่มีน้ำอยู่เต็ม ให้น้ำท่วมครรภ์ จากนั้นคุณแม่จะทำการเบ่งทารกออกมา ทำให้การคลอดแบบนี้ เป็นวิธีการคลอดธรรมชาติ และวารีบำบัดที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการคลอดการคลอดรูปแบบนี้ในหลายโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน ก็เริ่มมีการคลอดลูกในน้ำเช่นกันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 สัญญาณเตือนก่อนคลอด มีอาการอะไรบ้างที่คุณแม่ห้ามพลาด

คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร?
การคลอดในน้ำ มีประโยชน์ต่อตัวคุณแม่ และลูกน้อยหลายอย่าง โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- ช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย : เนื่องจากการคลอดในน้ำอุ่นช่วยพยุงสรีระคุณแม่ให้เบา และสามารถเคลื่อนไหวได้ง่าย รวมทั้งยังสามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และช่องคลอด ทำให้คุณแม่คลอดลูกได้ง่ายขึ้น
- ช่วยลดความดันโลหิต : การคลอดในน้ำช่วยให้ลดความดันโลหิต และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ซึ่งการคลอดในน้ำอุ่นนั้น มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับน้ำคร่ำในท้องคุณแม่ ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย และส่งผลให้ร่างกายคุณแม่ช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายคงที่ รวมทั้งยังช่วยให้เลือดลมเดินได้สะดวก และลดการหดรัดตัวของมดลูกอีกด้วย
- ดีต่อคุณแม่ที่เป็นโรคหอบ : สำหรับคุณแม่ท้องที่เป็นโรคหอบ สามารถคลอดลูกในน้ำเพื่อช่วยเพิ่มความสดชื่น และหายใจได้สะดวกมากขึ้น
- ทำให้ปากมดลูกเปิดเร็ว : เมื่อคุณแม่คลอดลูกในน้ำอุ่น จะส่งผลให้ปากมดลูกเปิดเร็วกว่าการรอคลอดที่โรงพยาบาล
- ช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวเร็วขึ้น : การคลอดในน้ำอุ่นช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็ว และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้น้อยลง
- ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ครอบครัว : นอกจากประโยชน์ทางด้านร่างกายแล้ว การคลอดในอ่างน้ำอุ่น ช่วยให้คุณแม่ และคนในครอบครัวเพิ่มความใกล้ชิดกันมากขึ้นได้
คลอดลูกในน้ำมีข้อเสียไหม?
แม้ว่าการคลอดในน้ำ จะเป็นการคลอดที่มีความปลอดภัยสูง แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงหลายอย่างที่คุณแม่ควรระวัง โดยข้อเสียของการคลอดในน้ำ มีดังนี้
- หากคุณแม่คลอดลูกในน้ำที่ไม่สะอาด อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
- บางกรณี ลูกน้อยอาจหายใจลำบาก หรือขาดอากาศหายใจเมื่ออยู่ใต้น้ำ
- หากสายสะดือสั้น อาจทำให้สายสะดือขาดระหว่างน้ำทารกขึ้นมาจากน้ำก็ได้
- หากลูกน้อยถูกช่องคลอดบีบอัด หรือสายสะดือเกิดการบิดงอ อาจส่งผลให้หายใจไม่ออก และหายใจเอาน้ำเข้าไป จนทำให้เกิดการสำลักได้ อย่างไรก็ตามกรณีนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้น้อย
ข้อจำกัดของการคลอดลูกในน้ำ
อย่างที่ทราบกันว่า การคลอดลูกในน้ำ มีความปลอดภัยที่สูง แต่ก็อาจไม่ได้เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน โดยบางครั้งอาจมีข้อจำกัดสำคัญที่คุณแม่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้
- การคลอดในน้ำอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากน้ำไม่สะอาด
- คุณแม่ควรทำการคลอดโดยอยู่ภายใต้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
- บางกรณีอาจส่งผลให้ทารกไม่หันหัวออก แต่เอาก้นหรือขาออกแทน
- หากสายสะดือสั้น อาจทำให้เกิดการฉีกขาด และการเสียเลือดจำนวนมาก
- หากอุณหภูมิของน้ำสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ก็อาจเกิดภาวะอันตรายแก่ลูกน้อยได้
- คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี อาจไม่เหมาะแก่การคลอดในน้ำ
- คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไม่ควรคลอดลูกในน้ำ
อุปกรณ์สำหรับการคลอดลูกในน้ำ
- อ่างน้ำอุ่น ขนาดพอดีกับตัวคุณแม่
- ไฟฉายใต้น้ำ เพื่อคอยส่องดูปากมดลูกใต้น้ำ
- เครื่องวัดอุณหภูมิน้ำอุ่น เพื่อวัดระดับน้ำอุ่นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และคงที่เสมอ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตกเลือดหลังคลอด อันตรายไหม ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

ขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำ
สำหรับขั้นตอนการคลอดในน้ำ จะมีวิธีในการคลอดคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
- ปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำในการคลอดในน้ำ
- นวดเบา ๆ บริเวณไขสันหลัง และอุ้งเชิงกราน เพื่อเตรียมพร้อมในการคลอด
- เตรียมน้ำอุ่นอยู่ที่อุณหภูมิ 35-37 องศา และต้องคอยวัดระดับอุณหภูมิให้คงที่อยู่เสมอ
- หลังจากที่คุณแม่ลงอ่าง ให้นำผ้าขนหนูวางไว้บนศีรษะ เพื่อปรับอุณหภูมิเหนือน้ำ ให้เท่ากับใต้น้ำ
- ในการคลอดในน้ำ ต้องมีแพทย์ และพยาบาลคอยดูแลอยู่ข้าง ๆ เสมอ โดยคุณแม่จะเริ่มเบิ่งเป็นระยะ จนกระทั่งลูกน้อยออกมา และจะมีการตัดสายสะดือตามปกติ
คุณแม่คนไหนที่สามารถคลอดลูกในน้ำได้?
- คุณแม่ที่ท้องลูกคนเดียว
- คุณแม่ที่ท้องทารกน้ำหนักปกติ
- คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์
- คุณแม่ที่ลูกในครรภ์กลับหัวเตรียมคลอด
- คุณแม่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคผิวหนัง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และโรคงูสวัด เป็นต้น
การคลอดลูกในน้ำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณแม่ที่ต้องการลดความเจ็บปวด ขณะคลอดลูกแบบธรรมชาติ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยที่สูง และยังมีผลข้างเคียงที่น้อย อย่างไรก็ตามการคลอดในน้ำ อาจไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ทุกคน เพราะยังมีข้อจำกัดหลายประการ ที่ห้ามไม่ให้คุณแม่คลอดในน้ำอีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อยู่ไฟหลังคลอดคืออะไร ยังจำเป็นอยู่ไหมสำหรับคุณแม่ยุคใหม่?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร เสี่ยงต่อลูกในท้องหรือไม่?