โรคหัด คืออะไร อันตรายหรือไม่ หากลูกเป็นโรคหัดควรทำอย่างไร?

โรคหัด เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ โรคหัดก็สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วย 

 1145 views

โรคหัด เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ โรคหัดก็สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยแบบรุนแรง และบางครั้งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ได้ วันนี้เรามีสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคหัดมาบอกต่อ เพื่อให้คุณแม่ได้พร้อมรับมือกับโรคติดต่อนี้ค่ะ

โรคหัด คืออะไร ?

โรคหัด (Measles) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นตามผิวหนังร่วมกับอาการไข้ โดยโรคหัดเกิดจากไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) ซึ่งสามารถแพร่กระจายติดต่อกันผ่านอากาศ และการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งเมื่อเราสัมผัสเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ก็จะทำให้เชื้อนี้แพร่กระจายไปตัวร่างกาย จนเกิดอาการอื่น ๆ ตามมา โรคหัดเรียกได้ว่าเป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน ยังไม่พบว่ามีการติดจากสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ดังนั้นจึงถือเป็นอีกหนึ่งโรคสำคัญที่คุณแม่ควรเฝ้าระวังเป็นอย่างยิ่งค่ะ

โรคหัด

โรคหัด เกิดจากอะไร?

โรคหัดเกิดจากการรับเชื้อผ่านทางอากาส หรือการสัมผัสกับน้ำลาย และน้ำมูกของผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจ ก่อนจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเริ่มเกิดผื่น และอาการไข้ร่วมด้วย หากผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน ก็อาจทำให้ร่างกายป่วยเป็นโรคนี้ได้ง่ายขึ้น

ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

  • เด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน
  • คุณแม่ตั้งครรภ์
  • ผู้ที่ขาดสารอาหาร
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยลูคีเมีย ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่กำลังเข้ารับการบำบัดเคมี หรือผู้ที่กำลังใช้ยาบางตัวอยู่

โรคหัด มีอาการอย่างไร?

โรคหัดมักจะเกิดขึ้นภายใน 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส โดยเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อ ก็จะเกิดอาการดังนี้

  • เป็นไข้ตัวร้อน : ผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก จะมีอาการเป็นไข้หวัด โดยมีไข้สูงถึง 40 องศา และจะเป็นประมาณ 10-12 วันหลังได้รับเชื้อ นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีอาการไอ น้ำมูกไหล เจ็บรอ ตาแดง และมีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นในกระพุ้งแก้ม
  • ผื่นขึ้นตามร่างกาย : หลังจากได้รับเชื้อ 3-5 วัน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งจะคล้ายกับผื่นผิวหนัง โดยมีลักษณะเป็นผื่นแดง หรือออกสีน้ำตาล ขึ้นอยู่บนหน้าผากก่อน แล้วค่อย ๆ แพร่ไปที่ใบหน้า และลำคอ โดยภายใน 3 วัน จะกระจายไปถึงมือ และเท้า โดยผื่นเหล่านี้จะเกิดขึ้นประมาณ 3-5 วัน จากนั้นจะค่อย ๆ หายไปเอง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัดมักเกิดขึ้นกับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และเด็กที่ขาดสารอาหารหรือภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมทั้งกลุ่มวัยรุ่น และผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โดยเมื่อผู้ป่วย ป่วยเป็นโรคหัดก็สามารถที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วยได้ ดังต่อไปนี้

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย

  • กล่องเสียงอักเสบ
  • ท้องเสีย และอาเจียน
  • ตาแดง ตาเยิ้มแฉะ เพราะติดเชื้อ
  • ปวดหู เกิดอาการติดเชื้อที่บริเวณหูชั้นกลาง
  • หลอดลมอักเสบ ปอดบวม หรืออาจเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย

  • ตาเหล่
  • ไวรัสตับอักเสบ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย

  • ตาบอด
  • ภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้สมองผิดปกติ
  • มีปัญเกี่ยวกับโรคหัวใจ และระบบประสาท

นอกจากนี้แม่ท้องที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัดมาก่อน ก็มีโอกาสแท้งลูกหรือคลอดก่อนกำหนดก็ได้ ซึ่งหากแม่ป่วยเป็นโรคหัดขณะตั้งครรภ์ ก็สามารถทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยหลังจากคลอด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้เ้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำให้เพียงพอ รวมถึงการจิบน้ำเกลือแร่ก็จะช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อต่าง ๆ ได้เช่นกัน

การวินิจฉัยโรคหัด

เบื้องต้นแล้ว แพทย์จะวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดผู้ป่วย เพื่อตรวจดูภูมิคุ้มกันของโรค และสามารถตรวจดูว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสปัจจุบัน หรือจากเชื้อไวรัสในอดีตที่เคยมีภูมิคุ้มกันแล้ว แต่การวินิจฉัยนี้อาจไม่สามารถแยกภูมิคุ้มกันได้ว่าเกิดจากการติดเชื้อในอดีต หรือการฉีดวัคซีน นอกจากนี้แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการผื่น และเป็นไข้ร่วมด้วย โดยจะดูว่าผื่นที่ขึ้นเหล่านั้นเป็นอาการของโรคหัดหรือไม่ และอาการป่วย เช่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล หรือตาแดงแฉะนี้ เป็นอาการของโรคหัดดังกล่าวหรือเปล่า

โรคหัด

การรักษาโรคหัด

สำหรับการรักษาโรคหัด อาจยังไม่มีวิธีที่แน่นอนที่สามารถรักษา และกำจัดเชื้อไวรัสของโรคได้ แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองให้อาการโรคหัดบรรเทาลงด้วยการดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ และอยู่ในที่แห้งเพื่อช่วยลดอาการไอ และเจ็บคอ รวมถึงการรับประทานวิตามินเอ จะก็ช่วยให้ร่างกายดีขึ้นจากอาการป่วยได้ค่ะ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหัดควรรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ไม่ควรไปโรงเรียน ที่ทำงาน หรือแหล่งชุมชนเป็นอย่างน้อย 4 วัน หลังจากอาการผื่นขึ้น

ในส่วนของทารก เด็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อได้รับเชื้อไวรัสหัด เพราะอาจส่งผลต่อร่างกาย และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้คุณไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี รับประทานยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ เพราะเด็กอาจเกิดการแพ้ยาจนทำให้ตับ และสมองบวมได้ โดยอาการเหล่านี้จะทำให้เด็กอาเจียน อ่อนเพลีย และซึม หากคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการสับสน หายใจหอบเร็ว เกิดอาการชัก หรือหมดสติ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารักษาได้อย่างทันท่วงที

การป้องกันโรคหัด

โรคหัดสามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีน โดยจะเป็นวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน โดยปกติแล้วทารกจะสามารถรับวัคซีนได้เมื่ออายุครบ 9-12 เดือน และรับเข็มต่อไปเมื่ออายุ 4-6 ปี ขณะที่เด็กวัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างประมาณ 28 วัน อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีน อาจทำให้เด็กเกิดอาการข้างเคียงตามมาได้ โดยจะเกิดอาการผื่นคล้ายกับโรคหัด และจะหายไปเอง นอกจากนี้วัคซีนยังอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงตามมาได้ เช่น หูหนวก อาการชัก หรือหมดสติไม่รู้ตัว จึงจำเป็นที่คุณแม่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังจากลูกได้รับวัคซีน 

อย่างไรก็ตาม การรับวัคซีนอาจไม่เหมาะกับคนบางกลุ่ม เช่น แม่ท้อง เด็กที่ป่วยเป็นลูคีเมีย วัคโรค หรือมะเร็งชนิดต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ หากฉีดแล้ว ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงอย่างรุนแรงตามมาได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการศึกษาข้อมูล และปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกครั้ง

โรคหัด เป็นโรคที่ติดต่อกันง่าย ผ่านการหายใจทางอากาศ หรือสัมผัสกับของเหลวขจากผู้ป่วยโดยตรง ยิ่งโดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่หากได้รับเชื้อก็อาจเสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรเฝ้าระวัง และสังเกตอาการของลูกน้อยทุกครั้ง หากสงสัยว่าลูกมีอาการโรคหัด ควรรีบนำตัวไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ตรวจรักษาได้อย่างปลอดภัย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคอีสุกอีใส เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่แสดงว่าลูกเป็นอีสุกอีใส?

โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางทางพันธุกรรม สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

ที่มา : 1, 2, 3