โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค?

ในช่วงหน้าฝน โรคไข้หวัดใหญ่ มักแพร่ระบาดหนัก ยิ่งโดยเฉพาะช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ทันสังเกตว่าลูกป่วยเป็นไข้หวัดทั่วไป หรื 

 1070 views

ในช่วงหน้าฝน โรคไข้หวัดใหญ่ มักแพร่ระบาดหนัก ยิ่งโดยเฉพาะช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ทันสังเกตว่าลูกป่วยเป็นไข้หวัดทั่วไป หรือไข้หวัดใหญ่ วันนี้เรามีบทความดี ๆ เกี่ยวกับโรคระบาดนี้มาฝาก เพื่อให้คุณแม่ได้รู้จักอาการของไข้หวัดใหญ่ พร้อมวิธีการดูแล และรักษาตัวเองเบื้องต้นค่ะ

โรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุมาจากอะไร?

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสกลุ่ม Influenza Virus ที่ได้แพร่ผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะแพร่กระจายอยู่บนอากาศ เมื่อร่างกายได้หายใจรับอากาศ หรือรับของเหลวที่มีเชื้อปะปนอยู่ไม่ว่าจะเป็น อาหารการกิน การสัมผัสเลือด น้ำเหลือง และน้ำหล่อลื่นที่ตาโดยตรง ก็จะทำให้เชื้อเหล่านี้ เข้าสู่ร่างกายจนเป็นโรคไข้หวัดใหญ่นั่นเอง อย่างไรก็ตามการติดเชื้อขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ไวรัสด้วย บางสายพันธุ์สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ ทำให้ไข้หวัดใหญ่จึงมีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดในปศุสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่ใกล้ชิดกับคน

ไข้หวัดกับไข้หวัดใหญ่ต่างกันอย่างไร?

อาการของไข้หวัดทั่วไป และไข้หวัดใหญ่มักมีลักษณะใกล้เคียงกัน จนทำให้คุณแม่หลายคนสับสน และไม่ทันสังเกต แต่ผู้ป่วยมักแสดงอาการที่แตกต่างกันบ้าง โดยสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

โรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัด

  • อาการจะค่อย ๆ แสดงทีละน้อย
  • มีอาการในระบบหายใจ เช่น ไอ จาม คัดจมูก เจ็บคอ และมีเสมหะ
  • สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ทั่วไป แม้มีอาการป่วยก็ตาม

ไข้หวัดใหญ่

  • เกิดอาการเฉียบพลัน รุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป
  • มีไข้สูง อ่อนเพลีย ร่วมกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รู้สึกเพลียมากกว่าไข้หวัดทั่วไป ต้องการพักผ่อนมากกว่าปกติ

ประเภทของไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ที่พบได้ในมนุษย์ ได้แก่ สายพันธุ์ A B และ C

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

ไวรัสชนิด A เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง และอันตรายมากที่สุด สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน และจากคนไปสู่คนได้ ผ่านทางการไอ จาม หรือหายใจอากาศที่มีเชื้อไวรัสกระจายอยู่ โดยไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่ระบาดได้อย่างเป็นวงกว้าง และรวดเร็ว

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

ไวรัสชนิด B สามารถแพร่ระบาดตามฤดูกาลที่อากาศเอื้ออำนวย เช่น ฤดูหนาว และฤดูฝน ซึ่งอาจแพร่ราดในระดับภูมิภาคได้

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ C

ไวรัสชนิด C เป็นสายพันธุ์ที่ติดเชื้อทางระบบหายใจที่ไม่รุนแรง มีอาการป่วยเล็กน้อยหรือไม่ป่วยเลย และไวรัสชนิดนี้ ไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ D

ไวรัสชนิด D เป็นการติดเชื้อที่พบได้ในสัตว์เท่านั้น ยังไม่มีการพบการติดเชื้อจากคน

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากกว่า โดยจะมีไข้สูง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการแบบอื่น ๆ แทรกซ้อนขึ้นอยู่กับร่างกาย อายุ และโรคประจำตัวของแต่ละบุคคล

  • มีไข้สูงมากกว่า 39-40 องศา
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • อ่อนเพลีย
  • ไอ จาม เจ็บคอ
  • คออักเสบ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หนาวสั่น
  • เบื่ออาหาร

โรคไข้หวัดใหญ่

การรักษาไข้หวัดใหญ่

โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สามารถรักษาเองได้ หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง สามารถพักผ่อนอยู่ที่บ้าน และรักษาตามอาการได้ หากผู้ป่วยมีไข้สูง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว และทานยาลดไข้พาราเซตามอล พยายามหลีกเลี่ยงการทานยาแอสไพริน ดื่มน้ำพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อน ๆ และไม่ควรออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น มีไข้สูงมาก หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หน้ามือ และมีอาการขาดน้ำ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เกิดขึ้นได้

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  • ล้างมือบ่อย ๆ : การล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ สบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ สามารถช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้
  • ไม่ใช่สิ่งของร่วมกับผู้อื่น : พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเด็ก คุณแม่ควรแยกสิ่งของเครื่องใช้ให้เขาเป็นพิเศษ เช่น แก้วน้ำ หลอดน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย : ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิด และคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ หากมีเหตุจำเป็น ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดอัตราในการติดเชื้อ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : การรับประทานอาหารที่ปรุงสุก และอาการมีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ไข่ และนม ร่วมกับการใช้ช้อนกลาง ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้
  • ดูแลสุขภาพ : ในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย คุณแม่ควรดูแลสุขภาพตัวเอง และลูกเป็นพิเศษ โดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายบ่อย ๆ และดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด : พยายามไม่เข้าใกล้สถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เพราะอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ : คุณแม่สามารถพาลูกฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ โดยให้พาเขาไปฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุ 6-19 ปี

โรคไข้หวัดใหญ่ อาจเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่าย แต่คุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเอง และลูกให้แข็งแรง พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัด หรือพบปะผู้ป่วย เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับเชื้อจนเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมาได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคหัด คืออะไร อันตรายหรือไม่ หากลูกเป็นโรคหัดควรทำอย่างไร?

โรคอีสุกอีใส เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่แสดงว่าลูกเป็นอีสุกอีใส?

รู้ทัน “วัณโรค” โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ที่มา : 1, 2, 3