เรื่องน่ารู้! บล็อกหลังคลอด ตัวช่วยบรรเทาความเจ็บปวด สำหรับแม่ท้องคลอดลูก

แม่ท้องหลาย ๆ คน อาจกังวลเรื่องความเจ็บปวดเมื่อถึงวันกำหนดคลอด จะเจ็บมากไหม ? จะทนไหวหรือเปล่า ? บางท่านกลัวถึงขนาด หลีกเลี่ยงการคลอดเองโดยธ 

 1508 views

แม่ท้องหลาย ๆ คน อาจกังวลเรื่องความเจ็บปวดเมื่อถึงวันกำหนดคลอด จะเจ็บมากไหม ? จะทนไหวหรือเปล่า ? บางท่านกลัวถึงขนาด หลีกเลี่ยงการคลอดเองโดยธรรมชาติ เพราะกลัวจะเจ็บจนทนไม่ไหว แต่ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดของคุณแม่ขณะคลอดได้ดีเลยทีเดียว คือการ บล็อกหลังคลอด แล้วมันคืออะไร ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง มีข้อดี หรือข้อเสียอะไรตามมาหรือเปล่า วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกันค่ะ 

บล็อกหลังคลอด

การบล็อกหลังคืออะไร มีแบบไหนบ้าง? 

การบล็อกหลังคลอด คือ การที่แพทย์จะทำการ ฉีดยาชาเข้าไปที่ไขสันหลัง เพื่อทำให้แม่ท้องที่กำลังจะคลอดเกิดความชา และไม่มีความรู้สึกเจ็บขณะคุณหมอกำลังทำการผ่าคลอด เป็นหนึ่งวิธีที่ปลอดภัย และคุณแม่ไม่จำเป็นต้องออกแรงเบ่งด้วย ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดีเลยล่ะ การบล็อกหลังมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ 

การบล็อกหลังแบบ Epidural

เป็นการที่วิสัญญีแพทย์ จะใช้เข็มแทงเข้าไปในส่วนกระดูกสันหลังของคุณแม่ ภายในเข็มจะมีหลอดนำยาขนาดเล็ก ซึ่งจะทำหน้าที่ปล่อยยาชาอย่างต่อเนื่อง คุณแม่จะเริ่มเกิดอาการชาบริเวณผิวหนังของไขสันหลัง โดยคุณแม่จะมีอาการชาตั้งแต่ช่วงเอวลงไป ภายใน 5 นาที อีกทั้งความรู้สึกจากการบีบรัดตัวของมดลูกก็จะค่อย ๆ หายไปจนไม่รู้สึกเจ็บ อีกทั้งการบล็อกหลังแบบ epidural นี้ คุณแม่ยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อยู่ บางคนจึงเรียกการบล็อกหลังแบบนี้ว่า การบล็อกหลังชนิดเดิน

การบล็อกหลังแบบ Spinal Block

การบล็อกหลังแบบนี้ เป็นการที่แพทย์ใช้เข็มแทงเข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างของแม่ท้อง เจาะผ่านเข้าไปยังไขสันหลังโดยตรง ซึ่งยาจะทำการออกฤทธิ์ ภายใน 1-2 นาที นิยมนำมาใช้ในช่วงใกล้คลอดเนื่องจากระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาสั้นเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น อีกทั้งยังทำให้ประสิทธิภาพในการเบ่งคลอดของแม่ท้องลดลงอีกด้วย วิธีนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ เนื่องจากยาออกฤทธิ์ในระยะสั้นซึ่งอาจหมดฤทธิ์ก่อนที่ทารกจะคลอดออกมา ซึ่งอาจส่งผลให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดได้ 

การบล็อกหลัง แบบผสม Epidural และ Spinal

เป็นการบล็อกหลังแบบที่ผสมระหว่าง ระหว่าง Epidural กับ Spinal ซึ่งวิธีนี้แพทย์จะทำการแทงเข็มขนาดใหญ่เข้าไปที่กระดูกไขสันหลัง ซึ่งภายในเข็มขนาดใหญ่นี้จะซ่อนไว้ด้วยเข็มขนาดเล็ก เข็มขนาดเล็กแทงเข้าไปในส่วนของ แนวไขสันหลัง หรือ spinal  วิธีการบล็อกหลังแบบนี้เรียกว่า เทคนิคแบบสองเข็ม

ยาจะถูกปล่อยในส่วนของ spinal เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ให้เร็วที่สุด แต่ถ้าหากทารกยังไม่คลอดในช่วงที่ ยา spinal ออกฤทธิ์แพทย์ก็จะทำการบล็อกหลังอีกครั้งในระดับ epidural ซึ่งได้แก่ระดับกระดูกสันหลัง โดยไม่ต้องมีการแทงเข็มซ้ำนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง: ผ่าคลอดแล้ว ท้องต่อไปจะต้องผ่าอีกไหม ครรภ์แบบไหนต้องผ่าคลอด ? 


การบล็อกหลัง มีขั้นตอนอะไรบ้าง

บล็อกหลังคลอด

  • วิสัญญีแพทย์จะทำการประเมินก่อนว่า แม่ท้องทำการบล็อกหลังได้หรือยัง โดยปกติแล้วมดลูกของแม่ท้องต้องบีบตัวอย่างต่อเนื่อง และปากมดลูกจะต้องเปิดอย่างน้อย 3-4 เซนติเมตร จึงจะประเมินให้บล็อกหลังคุณแม่ได้ 
  • โดยเริ่มจากการทำความสะอาดบริเวณที่แผ่นหลังของแม่ท้อง เพื่อฆ่าเชื้อ 
  • วิสัญญีแพทย์จะใช้เข็มแทงเข้าไปที่ บริเวณกระดูกสันหลัง หรือบริเวณไขสันหลัง ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่ทำการบล็อกหลังแบบไหน 
  • เมื่อวิสัญญีแพทย์ทำการปล่อยยาแล้ว คุณแม่ก็จะค่อย ๆ รู้สึกชาตั้งแต่ช่วงกลางลำตัวลงไปถึงช่วงล่าง หลังจากนั้นคุณแม่ก็จะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างคลอดอีกค่ะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง: 10 วิธีการเตรียมตัวก่อนคลอด มีอะไรบ้างที่คุณแม่ควรเตรียมให้พร้อม

ข้อดีและข้อเสียของการบล็อกหลัง 

ข้อดี 

  • เนื่องจากยาที่ใช้บล็อกหลัง จะช่วยระงับความเจ็บปวดได้เร็ว คุณแม่จึงไม่ต้องรู้สึกเจ็บปวด เพราะการบีบรัดตัวของมดลูก หรือปวดท้องคลอดแต่อย่างใด ทั้งยังสามารถรับรู้ และเคลื่อนไหวส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อยู่ 
  • ปลอดภัยต่อทารกสูง
  • ไม่กระทบต่อกระบวนการคลอด หรือส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์ 
  • คุณแม่ที่บล็อกหลังคลอด จะรู้สึกเจ็บแผลคลอดน้อยกว่าคุณแม่ที่วางยาสลบคลอด 

ข้อเสีย

  • อาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้คือ ร่างกายสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ 
  • คุณแม่อาจเสียความรู้สึกบริเวณอุ้งเชิงกราน แพทย์อาจต้องใช้คีมช่วยดึงทารกขณะคลอด
  • สำหรับคุณแม่ที่บล็อกหลังแบบ Spinal block ตัวยาอาจหมดฤทธิ์ก่อนที่ทารกจะคลอด ทำให้เกิดอาการปวดขึ้น แต่จะไม่สามารถบล็อกหลังอีกครั้งได้แล้ว
  • หลังคลอดอาจมีอาการชาต่อเนื่อง ปัสสาวะไม่ออก ปวดบริเวณช่วงล่าง และ บางรายอาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังได้

การบล็อกหลังคลอดเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับแม่ ๆ ที่อยากลดความเจ็บปวดขณะคลอดเลยใช่ไหมละคะ แม่ท้องอาจต้องทนกับความเจ็บเพียงไม่กี่นาที หลังจากคุณหมอทำการบล็อกหลังแล้ว คุณแม่ก็จะไม่รู้สึกอะไรแล้วค่ะ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรศึกษาผลข้างเคียง หรืออาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงดูแล และคอยเช็กสุขภาพร่างกายของคุณแม่อย่างสม่ำเสมอ ให้พร้อมสำหรับการคลอดลูกด้วยนะคะ 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ: 

โลหิตจางตอนท้อง รับมืออย่างไรให้ปลอดภัย ควรดูแลตัวเองแบบไหน

กำเดาไหลตอนท้อง อันตรายไหม แม่ท้องเลือดกำเดาไหลทำไงดี?

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร เสี่ยงต่อลูกในท้องหรือไม่?

ที่มา: 1 2 3