การเจริญเติบโตของ เนื้องอกในมดลูก นั้นเกิดจากอะไรกันแน่ ภัยเงียบสำหรับมองผู้หญิงที่ไม่ควรละเลย หรือมองข้ามไปรวมถึงถ้าหากเป็นจะมีอาการอะไรบ้าง ถ้าหากเป็นเนื้องอกในมดลูกจะเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ หรือมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยป้องกันหรือรักษาเนื้องอกในมดลูกได้ วันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยทั้งหมดไปพร้อม ๆ กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วมาตามไปดูพร้อมกันเลย
เนื้องอกในมดลูก คืออะไร?
สำหรับเนื้องอกในมดลูกก็คือเนื้องอกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อมดลูก หรือในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงนั่นเองค่ะ ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้มักจะเกิดกับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเนื้องอกในมดลูกนั้นจะมีขนาดเล็กตั้งแต่ระดับมิลลิเมตรไปจนถึงขนาดใหญ่ระดับเซนติเมตรเลยค่ะ
สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูกมาจากอะไร?
ทางการแพทย์ยังสรุปสาเหตุไม่ได้ว่าเนื้องอกในมดลูก นั้นเกิดจากปัจจัยอะไรเป็นหลัก แต่ปัจจัยส่วนหนึ่งก็มีการเชื่อว่าเรื่องของกรรมพันธุ์ก็อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูกขึ้นได้ และนอกจากนี้ ในเรื่องของปัจจัยการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิงก็อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากเนื้องอกนั้นเกิดในมดลูกของผู้หญิงที่อยู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่อผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน โดยเฉพาะคนที่มีอายุยังน้อย นั้นได้ถูกพบว่ามีโอกาสเป็นเนื้องอกในมดลูกสูงกว่าคนทั่วไป นั้นจะแสดงว่าเนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้นมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิง จนทำให้เกิดการเจริญเติบโตขึ้นจนอาจจะกลายเป็นเนื้องอกชิ้นใหญ่ขึ้นได้
ช่วงอายุเท่าไหร่ถึงจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก
สำหรับการเกิดเนื้องอกในมดลูกโดยส่วนใหญ่แล้วจะพบได้บ่อยในผู้หญิงในช่วงอายุ 25-30 ปี ซึ่งจะมีโอกาสพบได้ในอัตราร้อยละ 30-50 แต่เมื่อผู้หญิงเริ่มมีอายุที่มากขึ้นในช่วงอายุ 40 ปี ขึ้น หรือช่วงที่หมดประเดือนแล้ว ตัวเนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก ก็จะมีขนาดเล็กลงเอง
แต่ถ้าหากคนในครอบครัวของคุณนั้นมีประวัติการเป็นเนื้องอกในมดลูกมาก่อน ก็อาจจะมีแนวโน้มสูง ที่คนอื่น ๆ ในครอบครัวก็จะสามารถเป็นเนื้องอกในมดลูกได้เช่นเดียวกันได้ เนื่องจากกรรมพันธุ์ก็ถือเป็นปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูกขึ้นมาค่ะ ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงสูงมากกว่าผู้ที่ไม่มีคนในครอบครัวเป็นเนื้องอกในมดลูกค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับต้น ๆ ของหญิงไทย
อาการของเนื้องอกมดลูก
สำหรับในส่วนของอาการคนที่มีเนื้องอกในมดลูกมักจะขึ้นอยู่ขนาด และบริเวณอวัยวะที่เนื้องอกมดลูกไปเบียด ซึ่งถ้าหากใครที่มีเนื้องอกขนาดเล็กก็อาจจะไม่อาการแสดงอะไร แต่ถ้าหากใครที่มีเนื้องอกในมดลูกขนาดใหญ่ สำหรับบางคนก็อาจจะมีอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง เช่น มีเลือดออกมากว่าปกติ หรือปวดท้องน้อย แล้วก็อาจจะมีอาการท้องผูกเกิดขึ้น ปัสสาวะบ่อย หรืออาจจะส่งผลให้มีบุตรยาก
เนื้องอกในมดลูกมีกี่แบบ
- เนื้องอกในกล้ามเนื้อ (Intramural fibroid) ก็คือ เนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในกล้ามเนื้อของมดลูกนั่นเองค่ะ
- เนื้องอกด้านนอกมดลูก (Subserosal fibroid) ก็คือ เมื่อเนื้องอกมีขนาดที่โตขึ้นจะมีการดันออกมาด้านนอกของผิวมดลูก
- เนื้องอกที่ขาไปในโพรงมดลูก (Submucosal fibroid) จะเป็นเนื้องอกที่ถูกดันอยู่ในโพรงมดลูก และอาจจะมีอาการแทรกซ้อนทำให้ประจำเดือนของผู้หญิงมามากกว่าปกติ
เป็นเนื้องอกในมดลูก ไม่ควรกินอะไรบ้าง?
- อาหารอย่างแรกที่ห้ามกินเลยสำหรับคนที่ป่วยเป็นเนื้องอกในมดลูก ก็คือควรหลีกเลี่ยงการกินเต้าหู้ หรืออาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง เพราะอาหารเหล่านี้นั้นจะมีสารไอโซฟลาโวน ซึ่งสารนี้จะทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นฮอร์โมนของเพศหญิงนั่นเองค่ะ เพราะอาจจะไปกระตุ้นให้เนื้องอกเจริญเติบโตขึ้นเร็วกว่าปกติ
- ต่อมาสิ่งที่ไม่ควรกินก็คือมะพร้าวนั่นเองค่ะ เพราะน้ำมะพร้าวนั้นได้ถูกค้นพบในงานวิจัยว่ามีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ดังนั้น อาจจะส่งผลให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติหรือมีอาการปวดท้องจากการบีบตัวของมดลูก ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีมะพร้าวจะดีที่สุดค่ะ
- ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไก่ทอด นม เนย เบเกอรี เป็นต้น เพราะจะส่งผลให้มีไขมันสะสมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนภายร่างกายเพิ่มสูงขึ้นได้
- ควรลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพราะถ้าหากกินอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณมากเกินไป อาจจะมีส่วนในการไปกระตุ้นเนื้องอกได้ ดังนั้น ควรงดการกินโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ หรือไม่ก็ลดการกินให้มีปริมาณที่น้อยลงค่ะ
- ควรงดการน้ำอัดลมและหันมาดื่มน้ำเปล่าแทน ยิ่งถ้าหากคุณดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ อาจจะส่งผลเสียร่างกายมากยิ่งขึ้นได้ เพราะน้ำอัดลมนั้นจะมีน้ำตาลอยู่ในปริมาณมาก การดื่มบ่อย ๆ จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไป อาจจะส่งผลให้ประจำเดือนมาผิดปกติ และอาจจะส่งผลทำให้ระบบฮอร์โมนผิดปกติด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การเลือกดื่มน้ำเปล่าจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดค่ะ
การรักษาเนื้องอกในมดลูก
สำหรับการรักษาเนื้องอกในมดลูกนั้นมีหลากหลายวิธีในการรักซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและอาการของผู้ป่วยว่าอยู่ในขั้นที่รุนแรงมากหรือไม่ โดยจะแบ่งออกเป็นหลัก ๆ ดังนี้
การรักษาด้วยยา
สำหรับการรักษาด้วยยาจะเหมาะสำหรับคนผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการที่รุนแรง หรือตรวจพบเนื้องอกที่มีขนาดเล็กและไม่ได้มีอาการใด ๆ จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด และเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้จึงต้องใช้ยาในการรักษาแทน ดังนั้น การรักษาด้วยยาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็อาจจะทำการรักษาด้วยการใช้ยาเพื่อลดขนาดของเนื้องอกมดลูก หรือใช้งานยาเพื่อรักษาอาการของเนื้องอกในมดลูกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาได้
การผ่าตัดเอาเนื้องอกในมดลูกออก
สำหรับการผ่าตัดเอาเนื้องอกในมดลูกออกก็จะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ก็คือการผ่าตัดเนื้องอกในมดลูกแบบผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งแผลผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้นจะมีขนาดเล็ก ซึ่งการผ่าตัดก็จะมีทั้งแบบที่ผ่าตัดมดลูกออกไปพร้อมเนื้องอกเลยกับผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกออกและเก็บมดลูกไว้ ซึ่งการผ่าตัดโดยตัดมดลูกออกไปเลย จะเหมาะสำหรับคนที่มีอายุค่อนข้างมาก หรือคนที่มีบุตรยาก และเป็นวิธีรักษาที่หายขาด แต่สำหรับคนที่ต้องการผ่าตัดเพียงเนื้องอกออกไป ก็อาจจะมีโอกาสกลับมาเป็นอีกครั้งได้เหมือนกันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : มดลูกบีบตัว เกิดจากอะไร? เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ควรระวัง!
การป้องกันการเกิด เนื้องอกในมดลูก
สำหรับการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเนื้องอกในมดลูกนั้นสามารถทำได้โดยการตรวจ ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เช่น ตรวจภายใน หรืออัลตราซาวนด์ จะได้หมั่นสังเกตร่างกายไปด้วยว่ามีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ แล้วก็อาจจะต้องมีการปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเพราะจะทำให้ปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นสูง หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ๆ แล้วก็ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะจะได้ช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุลค่ะ ดังนั้น การดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อให้ฮอร์โมนทำงานได้อย่างปกติถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากเลยค่ะ
เนื้องอกในมดลูก ถือเป็นโรคที่ผู้หญิงทุกวันสามารถเป็นได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพด้วยการเป็นตรวจร่างกายเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นตรวจภายใน หรืออัลตราซาวนด์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้ามเลยค่ะ เพราะถ้าหากตรวจเจอจะได้รักษาอาการได้อย่างทันท่วงที เพราะหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับทุกคนนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ท้องนอกมดลูก เกิดจากอะไร อาการแบบไหนเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก?
ภาวะแท้งคุกคาม ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายที่เกิดได้ในไตรมาสแรก
ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่ผู้หญิงทุกคนเสี่ยง แต่ถ้ายิ่งปวดหนักยิ่งอันตราย