น้ำเดิน เป็นอาการแบบไหน หนึ่งในอาการเตือนก่อนคลอด ที่แม่ท้องควรรู้

ในช่วงใกล้คลอด มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่กำลังสงสัยว่า น้ำเดิน เป็นอาการอย่างไร แล้วจะเกิดขึ้นเมื่อไร ควรจะสังเกตอย่างไรว่าเป็นปัสสาวะปกติ ห 

 1304 views

ในช่วงใกล้คลอด มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่กำลังสงสัยว่า น้ำเดิน เป็นอาการอย่างไร แล้วจะเกิดขึ้นเมื่อไร ควรจะสังเกตอย่างไรว่าเป็นปัสสาวะปกติ หรือเตือนใกล้คลอด ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้ Mamastory ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ พร้อมตัวอย่างอาการมาตอบให้กับคุณแม่ทุกคนแล้ว ถ้าหากพร้อมแล้ว ไปอ่านบทความดี ๆ พร้อมกันที่ด้านล่างได้เลยค่ะ !

น้ำเดิน คืออะไร ?

น้ำเดิน หรือชื่อทางการแพทย์ ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ (Premature Rupture of Membranes: PROM) เป็นอาการที่เกิดขึ้น เมื่อถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มตัวทารก กำลังจะแตกหรือรั่วก่อนการเจ็บครรภ์ ในบางกรณีก็อาจเกิดภาวะน้ำเดิน ก่อนครบกำหนดคลอดได้ เนื่องจากเกิดการบีบตัวของมดลูกอย่างรุนแรง ที่อาจเกิดจากการกระแทกของอุบัติเหตุได้

โดยปกติแล้ว อาการน้ำเดินจะเกิดขึ้นในช่วง 37 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสัญญาณว่า ทารกจะพร้อมจะคลอดออกมาแล้ว แต่ถ้าหากเกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ อาจมีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และภาวะอื่นที่อันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม แม่ท้องบางรายก็อาจเผชิญกับน้ำเดิน ในระยะก่อนหน้าได้เช่นกัน โดยแม่ท้องจะรู้สึกเปียกแฉะบริเวณอวัยวะเพศ และจะมีน้ำไหลออกมาให้เห็น สีของน้ำที่ออกมา อาจเป็นสีใส หรือ สีเหลืองอ่อน ๆ

ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด คืออะไร ?

ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด หมายถึง ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกเอง ก่อนมีการเจ็บคลอด ซึ่งอาจเกิดขึ้นขณะอายุครรภ์ครบกำหนดตั้งแต่ 37 สัปดาห์ หรือ ก่อนอายุครรภ์ครบกำหนด 37 สัปดาห์ โดยสามารถพบอาการก่อนกำหนดได้ถึง 3-10% ถึงแม้สาเหตุจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็พบว่ามีสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงได้หลายอย่าง

น้ำเดิน



สาเหตุและปัจจัย น้ำเดินก่อนกำหนด

  • มีประวัติน้ำเดินก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนหน้า
  • มีประวัติเชื้อที่อวัยวะเพศ เช่น ปากมดลูก ช่องคลอด และปากช่องคลอด
  • มีภาวะเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ เสี่ยงกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า
  • เกิดการติดเชื้อในร่างกายแม่ หรือทารกในครรภ์
  • ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการคลอดก่อนกำหนด

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ได้แก่ ตั้งครรภ์แฝด, ภาวะน้ำคร่ำมาก, เนื้องอกมดลูก, ประวัติเคยผ่าตัดปากมดลูก, ตรวจพบปากมดลูกสั้น, รกเกาะต่ำ, รกลอกตัวก่อนกำหนด, โลหิตจาง และตรวจพบความพิการของทารกในครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้องนอกมดลูก เกิดจากอะไร อาการแบบไหนเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก?

น้ำเดินต่างจากปัสสาวะเล็ดอย่างไร

โดยภาวะน้ำเดิน กับปัสสาวะเล็ดของแม่ท้อง แตกต่างกันโดยสังเกตได้จาก ลักษณะและกลิ่นของน้ำที่ไหลออกมา โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้

  1. หากน้ำเดินเพราะถุงน้ำคร่ำแตก จะมีน้ำไหลไม่หยุด ไม่ว่าจะมากหรือน้อย
  2. หากปัสสาวะเล็ด จะมีน้ำเล็ดออกมาครั้งเดียวแล้วหยุด
  3. หากเป็นน้ำคร่ำ จากภาวะน้ำเดิน จะไม่มีสี และไม่มีกลิ่น
  4. หากเป็นปัสสาวะ จะมีกลิ่นของปัสสาวะ



น้ำเดิน



นอกจากนี้แม่ท้องส่วนใหญ่ มักตั้งข้อสงสัยว่า น้ำเดินไปแล้ว กี่ชั่วโมงถึงจะคลอดลูก ซึ่งมักจะเกิดหลังจากนั้นไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่ก็มีกรณีที่ไม่คลอดเช่นกัน ซึ่งอาการนี้ค่อนข้างเป็นอันตราย ต่อทั้งแม่และเด็ก ยิ่งดึงเวลาไว้นาน ยิ่งมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น แต่ก็มีแม่ท้องบางคน ที่มีอาการน้ำเดินแต่ปากมดลูกยังไม่เปิดค่ะ ซึ่งหากกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ เมื่อรู้สึกว่าใกล้คลอดแล้ว หรือมีอาการน้ำเดิน ควรรีบเตรียมตัวไปโรงพยาบาล เพื่อรับการช่วยเหลือจากแพทย์ ที่จะมีวิธีทำให้ปากมดลูกเปิดได้

โดยปกติแล้ว คุณแม่ท้องหลาย ๆ ท่าน จะมีอาการน้ำเดินในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด หรือเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงหลังสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป ซึ่งแพทย์มักให้รอดูอาการที่โรงพยาบาล เพื่อดูว่าแม่ท้องสามารถคลอดแบบธรรมชาติได้หรือไม่ แต่หากไม่สามารถคลอดเองได้ แพทย์มักเร่งให้เกิดการคลอด เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังได้ค่ะ

อันตรายจากการน้ำเดิน นอกจากน้ำคร่ำจะออกมาแล้ว แม่ท้องบางรายยังอาจมีสายสะดือ โผล่มาทางปากช่องคลอดได้อีกด้วย ซึ่งกรณีแบบนี้ อาจทำให้ลูกน้อยขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เสียชีวิตได้ ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที เพื่อความปลอดภัยจึงควรรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงใกล้คลอด อย่าลืมดูแลสุขภาพ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอนะคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่ควรเข้าใจ !

สายรกพันคอ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องควรรู้วิธีสังเกต

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคที่เกิดจากพันธุกรรม ลูกจะออกมาน้ำหนักน้อย ?

ที่มา : 1