สายรกพันคอ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องควรรู้วิธีสังเกต

เรียกได้ว่าอีกหนึ่งปัญหาของการตั้งครรภ์ ก็คืออาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่บางครั้งเมื่อได้ยิน อาจจะรู้สึกว่าน่ากลัว และเป็นอันตรายสำหรั 

 872 views

เรียกได้ว่าอีกหนึ่งปัญหาของการตั้งครรภ์ ก็คืออาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่บางครั้งเมื่อได้ยิน อาจจะรู้สึกว่าน่ากลัว และเป็นอันตรายสำหรับแม่และลูก แต่สำหรับอาการ สายรกพันคอ ที่ถึงแม้จะดูน่ากลัว แต่แม่ท้องก็ควรเรียนรู้ถึงวิธีสังเกตค่ะ เพราะถ้าหากปล่อยเอาไว้ คิดว่าลูกเป็นปกติ อาจเกิดอันตรายจากการขาดออกซิเจน และจำเป็นต้องคลอดด่วนได้ค่ะ ถ้าหากพร้อมแล้ว ไปอ่านบทความดี ๆ ที่ Mamastory นำมาฝากกันในวันนี้เลยค่ะ เชื่อว่าต้องได้ข้อมูลดี ๆ กลับไปสังเกตการตั้งครรภ์อย่างแน่นอน !

สายสะดือ คืออะไร ?

ว่าต้องเรื่องของสายสะดือ หรือสายรก เป็นคำที่ผู้เชี่ยวชาญใช้เรียก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงการทำงาน โดยเป็นอวัยวะสำคัญที่ลำเลียงออกซิเจน และสารอาหารจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ เรียกได้ว่าเป็นแหล่งพลังงานชีวิตก็ว่าได้ค่ะ ซึ่งปัญหาของสายรกที่มักเกิดขึ้นก็คือ สายรกพันคอ นั่นเองค่ะ แถมยังพบปัญหาข้อนี้ได้ 1 ใน 3 ของทารก แต่ก็ยังมีความโล่งอกตรงที่ว่า เมื่อทำการคลอดแล้ว ทารกที่เกิดปัญหาดังกล่าว มีร่างกายที่อุดมสมบูรณ์

สายรกพันคอ



สายรกพันคอ เกิดจากอะไร ?

โดยส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากการดิ้น หรือการเคลื่อนไหวภายในท้อง ที่มีมากกว่าปกติ จนทำให้อวัยวะบางส่วน ไปเกี่ยวหรือคล้องกับสายรกโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจจะเกิดจากการพันคอหลวม แล้วหลุดออกในภายหลังได้เช่นกัน หรือทารกบางราย อาจจะดิ้นมากเกินไป จนเข้าไปพันกับสายรกแน่น จนไม่สามารถคลายตัวออกได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกดิ้นน้อยลง ลูกขาดออกซิเจน และต้องรีบไปโรงพยาบาล เพื่อทำการคลอดโดยด่วน

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ทัน อาการครรภ์เป็นพิษ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

ปัจจัยที่สายรกพันคอทารก

  • ทารกเคลื่อนไหวภายในครรภ์มากเกินไป
  • สายสะดือของแม่ท้อง ยาวเกินไป
  • สายสะดือตีบ และผิดปกติ
  • สายสะดือของแม่สู่ลูก ไม่สมบูรณ์พอ
  • แม่ท้องตั้งครรภ์แฝด
  • น้ำคร่ำเยอะเกินไป (polyhydramnios)



สายรกพันคอ



ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ภาวะที่สายรกพันคอนั้น เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดได้ในครรภ์ โดยสามารถพบได้มาถึง 15-35% ของการตั้งครรภ์ในประเทศไทย อาจเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งการเคลื่อนไหวของทารก หรือปัจจัยอื่นข้างต้นร่วมด้วย

วิธีสังเกตเมื่อสายรกพันคอลูก

ในข้อนี้คุณแม่ท้อง สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง โดยดูที่การดิ้นเป็นหลัก เพียงแต่ข้อนี้อาจจะไม่ใช้วิธีที่แม่นยำ 100% แต่ใช้ในการประเมินคร่าว ๆ ได้ โดยสามารถเช็กได้ด้วยตนเอง เมื่ออายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ขึ้นไป โดยใช้วิธีนับลูกดิ้นแบบ “Count to Ten” ตั้งแต่เช้า-เย็น หรือประมาณ 10-12 ชั่วโมง


  • หากลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง ถือว่าปกติ เพราะใน 1 วัน การที่ลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง เป็นเรื่องปกติ
  • หากลูกดิ้นมากกว่า 40 ครั้ง ต่อชั่วโมง และหยุดไปนาน นั่นคือสัญญาณอันตราย ต้องรีบไปพบแพทย์



อาการทารกหลังคลอด ที่สายรกพันคอ

เพราะนอกจากอันตรายที่เกิดจาก การขาดออกซิเจน เนื่องจากสายรกพันคอแล้ว ทารกยังสามารถรับอาการบาดเจ็บอื่น ที่อาจเกิดขึ้นหลังการคลอดได้ โดยแบ่งได้ดังนี้

  1. ภาวะสมองทำงานผิดปกติ : เป็นภาวะการทำงานของสมองที่ผิดปกติ ที่เกิดขึ้นจากการขาดออกซิเจนหรือขาดเลือด โดยเป็นการอาการที่อาจส่งผลให้ทารก เกิดความผิดปกติทางสมอง อาทิ สมองพิการ โรคลมบ้าหมู และความพิการทางสติปัญญาและพัฒนาการ
  2. ทารกเสียชีวิตในครรภ์ โดยที่ไม่ได้ทำการคลอด
  3. ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ : โดยที่จะมีขนาดร่างกายเล็กกว่าปกติ มีโอกาสที่สมองจะได้รับความเสียหายสูงระหว่างคลอด
  4. มีขี้เทาในน้ำคร่ำ : หากทารกในครรภ์มีการอุจจาระครั้งแรกในช่วงของการตั้งครรภ์ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยอาจมีการกลืนน้ำคร่ำ หรือของเหลวเข้าไปจนกลายเป็น ภาวะสูดสำลักขี้เทา
  5. อัตราหัวใจผิดปกติ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเครื่องมือ ระหว่างที่ผ่าคลอด เช่น คีม เครื่องดูดสุญญากาศ
  6. ภาวะเลือดเป็นกรดจากสายสะดือ และความผิดปกติของระบบประสาท



สายรกพันคอ



วิธีแก้เมื่อสายรกพันคอทารก

เมื่อเกิดเหตุการณ์สายรกพันคอ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกัน หรือวิธีทำการรักษา แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็ก แพทย์จะแนะนำให้แม่ตัดสินใจผ่าคลอด แทนการคลอดธรรมชาติ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงอื่น ที่อาจเกิดขึ้นกับแม่และเด็ก

สายสะดือพันคอทารก ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ มักจะประสบปัญหาดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ เพราะว่าอาจส่งผลที่ร้ายแรงต่อทารก ดังนั้นการไปพบแพทย์ตามกำหนด เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าแพทย์จะได้ตรวจสอบสุขภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าทารกจะสามารถเจริญเติบโต และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ จนกว่าจะถึงกำหนดคลอดนั่นเอง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องรู้ไว้ จะได้รับมือทัน!

ภาวะแท้งคุกคาม ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายที่เกิดได้ในไตรมาสแรก

ลูกหายใจครืดคราด อันตรายไหม เสี่ยงเป็นโรคอะไรหรือเปล่า ต้องทำอย่างไร ?

ที่มา : 1