กลิ่นตัวแรง ไม่ใช่เรื่องตลก จัดการอย่างไรเมื่อร่างกายมีกลิ่นตัว?

เรียกได้ว่าเป็นปัญหากวนใจที่หลายคนหงุดหงิด นั่นก็คือ กลิ่นตัวแรง แม้ว่ากลิ่นตัวจะเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับบางคนอาจมีกลิ่นตัวที่แรงกว่าคนท 

 918 views

เรียกได้ว่าเป็นปัญหากวนใจที่หลายคนหงุดหงิด นั่นก็คือ กลิ่นตัวแรง แม้ว่ากลิ่นตัวจะเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับบางคนอาจมีกลิ่นตัวที่แรงกว่าคนทั่วไป โดยอาจมาจากการดูแล และปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หากอยู่ในที่ร้อน หรือออกกำลังกาย ก็ไม่แปลกใจว่าทำไมมีกลิ่นตัวแรงกว่าปกติ แต่หากคุณไม่ได้ออกกำลังกาย อยู่ในห้องแอร์ หรือรักษาความสะอาดบริเวณใต้วงแขนแล้วยังมีกลิ่นตัว นั่นก็เป็นสัญญาณว่าคุณอาจมีกลิ่นตัวที่แรงได้ อย่าพึ่งกังวลไปนะคะ วันนี้เรามีบทความดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณได้เข้าใจสาเหตุ และวิธีการจัดการกลิ่นตัวได้ค่ะ

กลิ่นตัวแรง เกิดจากอะไร?

กลิ่นตัวเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นจากเหงื่อ แบคทีเรีย และสิ่งผิดปกติบนร่างหายซึ่งเมื่อผสมกันแล้ว ก็ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวนั่นเอง โดยกลิ่นตัวมักออกมาทางลมหายใจ เหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ ซึ่งอาจมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อาหาร : อาหารบางชนิดที่เรารับประทานเข้าไป อาจกระตุ้นให้เกิดกลิ่นกายได้ ซึ่งมักเกิดในกระบวนการเผาผลาญ และย่อยอาหาร เมื่อร่างกายไม่สามารถย่อย และเผาผลาญอาหารได้ ก็จะส่งผลให้ร่างกายผลิตสารที่ระเหยออกมา โดยอาหารที่กระตุ้นให้เกิดกลิ่นนั้น ได้แก่ กระเทียม หัวหอม ปลา และแอลกอฮอล์ เป็นต้น นอกจากนี้พืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง และพืชตระกูลกะหล่ำ ก็สามารถทำให้เกิดกลิ่นตัวได้เช่นกันค่ะ
  • ความเครียด : เมื่อเราเครียด ก็จะส่งผลให้กลิ่นตัวฉุนขึ้นมาได้ ยิ่งหากคุณรู้สึกเสียใจ ตื่นเต้น หรือเครียดมากจนเกินไป ก็จะทำให้ต่อมเหงื่อที่อยู่ใต้วงแขนทำงานมากขึ้น จนมีเหงื่อออกมา หรือที่เรียกกันว่า “เต่าเปียก” นั่นเอง
  • โรคทางร่างกาย : โรคบางอย่างอาจส่งผลให้เกิดกลิ่นตัวแรงได้ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้น้อยเช่นกัน เช่น อาการตัวมีกลิ่นปลา อันเนื่องมาจากพันธุกรรมนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ทัน “วัณโรค” โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

กลิ่นตัวแรง

สัญญาณของอาการกลิ่นตัวแรง

อาการกลิ่นตัวแรง มักปรากฏในช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นช่วงวัยรุ่น โดยคุณจะรู้สึกได้กลิ่นตัวที่เหม็นคลุ้ง คล้ายกลิ่นเหม็นเขียว หรือกลิ่นปลาเน่า ซึ่งบางครั้งมักออกมาทางลมหายใจ เหงื่อ ปัสสาวะ อสุจิ และสารคัดหลั่งในช่องคลอด โดยบางคนอาจมีกลิ่นตัวแรงอยู่ตลอดเวลา โดยทั่วไปแล้วกลิ่นตัวจะมา ๆ หาย ๆ และมีอาการรุนแรงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดกลิ่นตัว อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยผู้หญิงบางคนในช่วงประจำเดือน การทานยาคุม ก็อาจกระตุ้นให้เกิดกลิ่นตัวแรงได้เช่นกันค่ะ

กลิ่นตัวแรง จัดการอย่างไรดี?

แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีกำจัดกลิ่นตัวให้หายขาด แต่ก็ยังมีวิธีที่สามารถช่วยลดกลิ่นตัวได้ดีขึ้น ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบางชนิด

อาหารบางชนิด เป็นตัวกระตุ้นกลิ่นกายอย่างดี ให้พยายามลด และหลีกเลี่ยงอาการที่มีไตรเมทิลามีน โคลีน และไตรเมทิลามีน เอ็นออกไซด์ เช่น ข้าวสาลี ไข่ นมวัว ตับ ไต ถั่วเหลือง ถั่วลิสง บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก อาหารทะเล และอาหารที่มีเลซิทิน

  • กำจัดขน

การกำจัดขน โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ สามารถช่วยลดกลิ่นตัวลงได้ เพราะขนที่ยาวสามารถเก็บเหงื่อไคล และแบคทีเรียไว้จนเกิดการหมักหมม และเกิดกลิ่นตัวออกมา

  • ไม่พยายามเครียด

การเครียดจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องความรัก หรือเรื่องเรียน ก็สามารถส่งผลให้เกิดกลิ่นตัวเหม็นแรงได้ ดังนั้นอย่าเครียดจนเกินไปนะคะ ใช้วิธีการดูหนัง ฟังเพลง และกิจกรรมต่าง ๆ แทนเพื่อคลายความวิตกกังวล

  • ทาโรลออน

โรลออนสามารถช่วยลดเหงื่อ และกินกายได้ อีกทั้งยังช่วยลดรูขุมขนบริเวณใต้ลงแขนให้เล็กลง ทำให้ต่อมเหงื่อแคบลง และป้องกันไม่ให้เหงื่อไหลออกจำนวนมาก พยายามเลือกโรลออนแบบมีสารระงับกลิ่นกายก็ช่วยลดกลิ่นได้เป็นอย่างดีค่ะ

  • พยายามลดเหงื่อ

การออกกำลังกายหักโหม อาจส่งผลให้เกิดปริมาณเหงื่อจำนวนมาก จนทำให้เกิดกลิ่นตัวตามมาได้ ดังนั้นให้ใช้วิธีการออกกำลังกายเบา ๆ หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ต้องเสียเหงื่อมากจนเกินไป

  • รักษาสุขอนามัย

แน่นอนว่าการรักษาความสะอาดของร่างกาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยทำความสะอาดร่างกายแล้ว ยังช่วยลดกลิ่นตัวได้เช่นกันค่ะ โดยสามารถใช้สบู่ แชมพู หรือครีมอาบน้ำที่มีค่า pH ระหว่าง 5.5-6.5 เพื่อช่วยขจัดกลิ่นกายที่อาจเกิดขึ้นบนร่างกายได้

  • ใช้ยา

หากคุณมีกลิ่นตัวที่รุนแรง และเหม็นมาก สามารถไปพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะ ในการลดปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ และสร้างไตรเมทิลามีน อย่างไรก็ตามการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ให้ปรึกษากับแพทย์เพื่อเปลี่ยนยา หรือรับยาอื่น ๆ แทนเพื่อป้องกันแบคทีเรียดื้อยา นอกจากนี้การใช้ยาระบาย ยังสามารถขจัดอาหารที่อยู่ในลำไส้ และทำให้ไตรเมทิลามีนที่อยู่ในลำไส้ลดลงได้ค่ะ

  • ปรึกษาแพทย์ และนักจิตบำบัด

อีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุด คือการไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา และลดกลิ่นตัวได้อย่างแน่นอน ซึ่งผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นตัวแรงบางคน อาจรู้เครียด และมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าได้ จึงควรไปปรึกษากับจิตแพทย์ หรือนักบำบัด เพื่อรักษาทั้งกลิ่นตัว และสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค?

กลิ่นตัวแรง

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์?

หากสังเกตว่ากลิ่นตัวแรงเกินไป แม้ว่าจะรักษาความสะอาดใต้วงแขน และฉีดสเปรย์แล้ว แต่กลิ่นก็ยังแรงอยู่ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดจากภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์ได้ รวมถึงยังเกี่ยวข้องกับโรคไต และโรคเบาหวานได้อีกเช่นกัน โดยหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้าทำการรักษาต่อไป

  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • เหงื่อออกมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีกลิ่นกายคล้ายผลไม้ ซึ่งอาจเป็นโรคเบาหวาน
  • เหงื่อออกผิดปกติจนส่งผลในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีกลิ่นกายคล้ายสารฟอกขาว ซึ่งอาจเกิดจากสารพิษที่อยู่ในตับหรือไต

กลิ่นตัวแรง เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้วิธีลดกลิ่นกายได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบางชนิด รักษาสุขอนามัย และพยายามไม่เครียดจนเกินไป แต่หากคุณมีอาการเหงื่อออกผิดปกติ มีกลิ่นกายคล้ายผลไม้ หรือสารฟอกขาว ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไปค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคหัด คืออะไร อันตรายหรือไม่ หากลูกเป็นโรคหัดควรทำอย่างไร?

โรคอีสุกอีใส เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่แสดงว่าลูกเป็นอีสุกอีใส?

โรคมือ เท้า ปาก โรคระบาดใกล้ตัวเด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ที่มา : 1, 2