ตาแดง เกิดจากอะไร คุณแม่รับมืออย่างไรเมื่อลูกมีอาการตาแดง?

ตาแดง โรคอักเสบที่มักแพร่ระบาดบ่อย ๆ ในช่วงฤดูฝน ตาแดงเป็นโรคติดต่อที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะในชุมชนที่อยู่อาศัย และโรงเรียน ซึ่งถื 

 1145 views

ตาแดง โรคอักเสบที่มักแพร่ระบาดบ่อย ๆ ในช่วงฤดูฝน ตาแดงเป็นโรคติดต่อที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะในชุมชนที่อยู่อาศัย และโรงเรียน ซึ่งถือเป็นแหล่งระบาดชั้นดีที่ทำให้เกิดโรคนี้ สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ลูกมีอาการตาแดง ต้องรีบทำการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากลูกมีอาการรุนแรง ก็อาจเกิดการติดเชื้อที่อันตรายได้ วันนี้เรามีบทความดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่ได้เข้าใจ และพร้อมรับมือกับโรคตาแดงมากยิ่งขึ้นค่ะ

ตาแดงคืออะไร?

ตาแดง คือ อาการที่เยื่อบุดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง เป็นสีแดงจากหลอดเลือดฝอยที่ขยายตัว โดยมักเกิดจากการอักเสบ และระคายเคืองบริเวณเยื่อบุตา โดยอาการตาแดงมักเกิดขึ้นหลังจากการขยี้ตา การสัมผัสตา ตาแห้ง ฝุ่นเข้าตา การบาดเจ็บบริเวณดวงตา และเนื้อเยื่อดวงติดเชื้อ เป็นต้น อาการตาแดง สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยอาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง และสามารถหายเองได้ 1-2 วัน แต่หากผู้ป่วยสังเกตว่าอาการตาแดงค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารักษาทันที

ตาแดง

ตาแดง เกิดจากอะไร?

ตาแดงเกิดจากหลอดเลือดบริเวณดวงตาอักเสบ จากการระคายเคืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควัน แสงแดด อาการแห้ง หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โรคภูมิแพ้ และการไออีกด้วย นอกจากนี้อาการตาแดง ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ตาแห้ง
  • ตากุ้งยิง
  • กระจกตาเป็นแผล
  • การใช้ยาหยอดตา
  • เลือดออกใต้เยื่อบุตา
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
  • การอักเสบบริเวณตาขาว
  • การบาดเจ็บบริเวณดวงตา
  • มีก้อนสีแดงขึ้นบริเวณเปลือกตา
  • หนังตาม้วนออกด้านนอกหรือด้านใน

ตาแดง อาการเป็นอย่างไร?

อาการตาแดง สามารถเกิดขึ้นได้ข้างใดข้างหนึ่ง หรือเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้าง ตามแต่ละสาเหตุ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • คันตา
  • ขนตาร่วง
  • ไวต่อแสง
  • เปลือกตาอักเสบ
  • แสบตา น้ำตาไหล
  • ปวดหัว ไอ และมีไข้
  • การมองเห็นเปลี่ยนไป
  • มีวัตถุแปลกปลอมในตา
  • ลืมตาหรือหลับตาไม่ได้
  • ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด
  • เป็นไข้อย่างรุนแรงมากกว่า 38 องศา

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตาแดง

หากผู้ป่วยมีอาการตาแดง และไม่ยอมรักษา หากปล่อยไว้นานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น

  • เป็นแผลในดวงตา
  • สูญเสียการมองเห็น
  • สูญเสียดวงตา
  • มีปัญหาในการมองเห็นต่าง ๆ
  • ติดเชื้อลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ตาแดง

การรักษาตาแดง

ผู้ป่วยไม่ควรขยี้ตาเมื่อมีอาการตาแดง เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้ ทางที่ดีควรปล่อยไว้เฉย ๆ จนอาการดีขึ้น และหายเองจนไม่ปรากฏอาการอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลด้วย ซึ่งหากผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าตัวเองตาแดงจากอะไร ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้าวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาต่อไป เบื้องต้นแล้ว ผู้ป่วยสามารถรักษาตาแดงด้วยวิธี ดังต่อไปนี้

  • พักสายตา
  • รับประทานยาแก้แพ้
  • ประคบร้อนหรือประคบเย็น
  • ออกจากบริเวณที่มีอาการแพ้
  • ใช้ยาหยอดตาหรือน้ำตาเทียม
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาด้วยมือ
  • ล้างตาด้วยน้ำเกลือ น้ำเย็น หรือน้ำอุ่น

หากผู้ป่วยใช้วิธีข้างต้นแล้วอาการไม่บรรเทาลง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ยาหยอดตา หรือยาแก้แพ้อื่น ๆ ร่วมด้วย

การป้องกันตาแดง

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตาแดง ควรรักษาสุขอนามัยของตัวเองเป็นอย่างดี และหลีกเลี่ยงการใช้สารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่าง ๆ โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสบริเวณดวงตา
  • หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า และการใช้เครื่องสำอาง
  • ไม่ใช่ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และหมอนร่วมกับผู้อื่น
  • หากมีสิ่งสกปรกเข้าตา ให้ใช้น้ำเปล่าล้างตาให้สะอาด
  • งดไปทำโรงเรียน ไปที่ทำงาน และไปที่สาธารณะจนกว่าจะหายดี
  • งดการใช้สายตามาก ๆ หรือเพ่งสายตาบ่อย ๆ เพราะอาจทำให้เกิดอาการตาล้าได้
  • งดการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน และควรล้างคอนแทคเลนส์ให้สะอาดทุกครั้ง

แม้ว่าอาการ ตาแดง จะเป็นโรคระบาดที่ติดต่อได้ง่าย ๆ แต่ผู้ป่วยก็สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง ด้วยการรักษาสุขอนามัยของตัวเอง ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา และงดใช้สายตา ก็จะช่วยให้อาการทุเลาลงได้ค่ะ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง รักษาด้วยตัวเองแล้วไม่หาย ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคอีสุกอีใส เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่แสดงว่าลูกเป็นอีสุกอีใส?

โรคมือ เท้า ปาก โรคระบาดใกล้ตัวเด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

รู้ทัน “วัณโรค” โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ที่มา : 1, 2, 3