ตะคริว เกิดจากอะไร เป็นตะคริวบ่อยรักษาอย่างไรให้หายดี?

ตะคริว เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย และมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่เราไม่ได้ตั้งใจ จนอาจนำไปสู่อันตรายได้ เช่น ตอนวิ่ง ตอนว่ายน้ำ ตอนออกกำลังกาย  

 1048 views

ตะคริว เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย และมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่เราไม่ได้ตั้งใจ จนอาจนำไปสู่อันตรายได้ เช่น ตอนวิ่ง ตอนว่ายน้ำ ตอนออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งในตอนนอน ตะคริวมักเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป ซึ่งหากเป็นบ่อย ๆ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของร่างกายเราได้ วันนี้เรามีบทความดี ๆ ที่จะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจสาเหตุของการเป็นตะคริว และวิธีบรรเทาอาการได้ค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันดีกว่าว่าจะมีวิธีใดบ้าง

ตะคริวเกิดจากอะไร?

ตะคริว (Muscle Cramp) เกิดจากภาวะที่ กล้ามเนื้อหดเกร็งจนเกิดเป็นก้อนแข็ง โดยมักเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดบริเวณน่อง และขา ส่งผลให้เกิดอาการปวด และเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ส่วนใหญ่แล้วอาการตะคริวมักเกิดขึ้นโดยไม่ทันได้ตั้งแต่ ซึ่งมักจะเป็นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ ทุเลาลงไปเอง แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานกว่าอาการจะทุเลาลง และก็สามารถเป็นได้บ่อย จนทำให้รู้สึกหงุดหงิด นอกจากนี้ตะคริวยังสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำน้อยเกินไป
  • ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม
  • ประสาททำงานผิดปกติขณะนอนหลับ
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต และโรคตับ
  • ระบบไหลเวียนเลือดหยุดทำงานเฉียบพลัน
  • ร่างกายขาดเกลือแร่ มีสารพิษ หรือมีการติดเชื้อ
  • กล้ามเนื้อทำงานหนักจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาราโลซิฟิน หรือยาขับปัสสาวะ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม่ตั้งครรภ์ที่มีแคลเซียมต่ำ อาจส่งผลต่อภาวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การมีถุงซีสต์ หรือผลกระทบต่อตำแหน่งของมดลูก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรบริโภคนมบ่อย ๆ เพื่อช่วยเพิ่มแคลเซียมให้แก่ร่างกายได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

ตะคริว

อาการของตะคริว

อาการของตะคริวมักเกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อ ซึ่งหากเราสัมผัสก็จะรู้สึกถึงก้อนเนื้อในบริเวณนั้น โดยปกติแล้วอาการตะคริวจะทุเลาลงภายใน 2-15 นาที แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเรื้อรัง และต้องกินยาจนกว่าอาการจะหายไป ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการตะคริวที่รุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป

  • เป็นตะคริวบ่อย ๆ
  • มีอาการตะคริวอย่างรุนแรง
  • เป็นตะคริวโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รักษาด้วยตัวเองแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
  • เป็นตะคริวที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • บริเวณที่เกิดตะคริวบวมแดง หรือมีผิวหนังเปลี่ยนไป

ตะคริวเกิดขึ้นบริเวณใดได้บ้าง?

หลายคนอาจเป็นตะคริวบริเวณขาบ่อย ๆ และมักเข้าใจว่าตะคริวเกิดขึ้นได้บริเวณขาเท่านั้น ทราบไหมคะ ว่าตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด โดยเฉพาะจุดที่ต้องใช้การเคลื่อนไหว ได้แก่

  • บริเวณขา : ตะคริวที่เกิดขึ้นบริเวณขา มักเกิดจากการออกกำลังกาย เพราะเป็นการใช้กล้ามเนื้อหนักเกินไปจนทำให้เกิดอาการเกร็ง หรืออ่อนล้านั่นเอง ซึ่งตะคริวที่ขามักอันตรายเป็นอย่างมากในขณะวิ่ง และว่ายน้ำ
  • บริเวณหลัง : ตะคริวบริเวณหลังมักเกิดจากการออกแรงในขณะก้มมากเกินไป เช่น การก้มนาน ๆ หรือการก้มยกของหนัก จนทำให้เกิดอาการตะคริว และอาการปวดได้ ซึ่งอาการปวดเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติของกระดูกสันหลังได้เช่นกัน
  • บริเวณหน้าท้อง : สำหรับผู้ที่เป็นตะคริวบริเวณหน้าท้อง มักเกิดขึ้นจากการออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง และการเป็นโรคต่าง ๆ ที่บริเวณท้อง เช่น ระบบย่อยอาหารติดเชื้อ เป็นต้น

วิธีบรรเทาอาการตะคริว

แม้ว่าตะคริวจะเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่คุณสามารถแก้อาการตะคริวง่าย ๆ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • หากเป็นตะคริวในขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา : ให้ใช้วิธีการยืดกล้ามเนื้อ และนวดบริเวณนั้นประมาณ 1-2 นาที ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ให้นวดเรื่อย ๆ จนกว่าจะหาย
  • หากเกิดตะคริวในตอนนอน : พยายามยืดกล้ามเนื้อขาขึ้นตรง กระดกปลายเท้าค้างไว้ 5 วินาที ทำไปเรื่อย ๆ 5-10 ครั้ง แล้วนวดกล้ามเนื้อบริเวณขาจนกว่าอาการจะทุเลาลง
  • หากเกิดตะคริวในช่วงตั้งครรภ์ : สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นตะคริว ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อฝากครรภ์ และรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะอาการตะคริวในช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

ตะคริว

วิธีป้องกันอาการตะคริว

สำหรับวิธีการป้องกันตะคริวที่ดีที่สุด คือการหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม จนทำให้เกิดการตึงบริเวณกล้ามเนื้อนั่นเอง นอกจากนี้วิธีป้องกันตะคริว ยังสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ลดการบริโภคคาเฟอีน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มนมเพื่อเพิ่มแคลเซียมให้แก่ร่างกาย
  • นอนหลับให้เพียงพอวันละ 7-9 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารเสริม หรือวิตามินต่าง ๆ
  • นอนยกขาให้สูง โดยใช้หมอนข้างรองใต้ขา
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • วอร์มกล้ามเนื้อก่อนเล่นกีฬา และออกกำลังกาย
  • ระวังการยกของหนัก และการใช้กล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มให้น้อยลง
  • ไม่ควรออกกำลังกายทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ

เป็นตะคริวตอนว่ายน้ำทำอย่างไรดี?

อีกหนึ่งสถานการณ์ที่เมื่อเป็นตะคริวแล้วก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ เพราะเมื่อเป็นตะคริวตอนว่ายน้ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการจมน้ำอย่างมาก ดังนั้นเราจึงควรออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อก่อนการว่ายน้ำ โดยคุณสามารถออกกำลังกายโดยเน้นไปที่แขน และขา เช่น การยืดขา วิ่งเหยาะ ๆ หรือกระโดดตบ เป็นต้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นตะคริวตอนว่ายน้ำได้ ทั้งนี้หากคุณเกิดอาการตะคริวตอนว่ายน้ำ สามารถวิธีแก้ปัญหา ดังต่อไปนี้

  • ตะคริวหลังขาอ่อน : นอนคว่ำ แล้วพบข้อเท้าเข้าหาด้านหลัง
  • ตะคริวข้อเท้า : นอนหงาย ให้เท้าอยู่บนผิวน้ำ จากนั้นค่อย ๆ นวด หรือหมุนข้อเท้าเบา ๆ
  • ตะคริวน่องด้านหลัง : หงายตัวขึ้น แล้วใช้มือพยุงน้ำให้ลอย จากนั้นยกขาขึ้นเหนือน้ำเข้าหาใบหน้า

การเป็นตะคริวตอนว่ายน้ำ ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์อันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นให้คุณควบคุมสติ และพยายามว่ายน้ำไปที่ตื้น ๆ เพื่อให้ตัวเราลอยน้ำอยู่ตลอดเวลา เพราะหากเราตื่นตระหนกมากจนเกินไป ก็จะทำให้เราขาดสติ และจมน้ำได้

ตะคริว ถือเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ถ้าหากเรารู้จักวิธีรับมือ และป้องกัน ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ดี และช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเป็นตะคริว ทั้งนี้หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นตะคริวบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และการรักษา เพราะหากปล่อยไว้ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

กลิ่นตัวแรง ไม่ใช่เรื่องตลก จัดการอย่างไรเมื่อร่างกายมีกลิ่นตัว?

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร เสี่ยงต่อลูกในท้องหรือไม่?

โฟลิก สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร? คนท้องเริ่มกินโฟลิกได้ตอนไหน

ที่มา : 1, 2, 3