ทำไมลูกถึงชอบปีนป่าย ลูกอย่าไม่นิ่งควรทำอย่างไร ลูกจะชอบปีนป่ายเมื่อไหร่

ลูกอยู่ไม่นิ่ง ลูกชอบปีนป่าย เดี๋ยวปีนโซฟาบ้าง ปีนเก้าอี้บ้าง เผลอแปปเดียวก็ไปปีนตู้อีกล่ะ ลูกซนแบบนี้ปกติไหม พฤติกรรมที่เด็กซุกซนชอบปีนป 

 1421 views

ลูกอยู่ไม่นิ่ง ลูกชอบปีนป่าย เดี๋ยวปีนโซฟาบ้าง ปีนเก้าอี้บ้าง เผลอแปปเดียวก็ไปปีนตู้อีกล่ะ ลูกซนแบบนี้ปกติไหม พฤติกรรมที่เด็กซุกซนชอบปีนป่ายมักจะเกิดขึ้นกับเด็กวัยหัดเดิน เพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กกำลังตื่นเต้น และเป็นพัฒนาการขั้นต้นของเด็กนั่นเองค่ะ





ทำไมเด็กวัยหัดเดินถึงชอบปีนป่าย

สาเหตุหลัก ๆ เป็นเพราะว่าเด็ก ๆ เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเริ่มที่จะควบคุมร่างกายให้เคลื่อนไหวได้ตามที่ต้องการได้มากขึ้น เริ่มรู้จักการขว้างลูกบอล วิ่งเล่นตามสวน หรือแม้แต่กระทั่งปีนป่ายเฟอร์นิเจอร์เล่นภายในบ้าน ซึ่งสาเหตุที่ลูกชอบปีนป่ายนั่นก็มาจากความคิดของเด็กที่ว่าอยากจะเลียนแบบพ่อแม่ อยากจะลุกนั่งบนโซฟาบ้าง อยากจะลองสำรวจสิ่งของรอบ ๆ ตัว เพราะพวกเขารู้สึกว่ามีพลังมีแรงที่จะควบคุมร่างกายของตัวเองได้แล้ว โดยที่ไม่รู้ว่าการปีนป่ายนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายได้

อีกทั้งยังคิดว่า การปีนไปนู้นมานี่เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น สนุกสนาน สนองความอยากรู้อยากเห็นได้ โดยการใช้มัดกล้ามเนื้อและความสามารถทั้งหมดที่มี และยิ่งถ้าลูกน้อยมีพี่หรือเด็กที่โตกว่าอยู่ด้วย เขาก็จะยิ่งอยากทำให้เหมือนกับเด็กโตกว่า จึงพยายามเลียนแบบให้เหมือนพี่ ๆ ให้ได้มากที่สุดค่ะ


ควรห้ามให้ลูกน้อยปีนป่ายไหม?

ถึงพ่อแม่จะห้ามไม่ให้ลูกน้อยปีนป่ายมากเท่าไหร่ มันก็ไม่ค่อยไม่ผลมากนัด เพราะเด็กวัยนี้มีความซุกซนแถมเด็กในวัยนี้จำเป็นต้องผ่านช่วงเวลาปีนป่ายไปก่อน เพื่อเติบโตไปอีกขั้นของพัฒนาการทางด้านร่างกายค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแรงของร่างกาย ความยืดหยุ่น และสมดุลที่เด็กควรจะเรียนรู้ แต่พ่อแม่อาจต้องคอยสอดส่องดูแลอย่าให้ลูกคลาดสายตา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

เฟอร์นิเจอร์บางชนิดถ้าพ่อแม่เห็นว่าหากลูกปีนป่ายแล้วเกิดอันตรายก็ควรเปลี่ยนออกไป อย่างเช่นตู้ลิ้นชัก เพราะเคยมีกรณีที่เด็กเปิดลิ้นชักแล้วตู้ลิ้นชักล้มทับเด็ก ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของเด็กเป็นอย่างมากค่ะ





วิธีทำให้ลูกสงบ ไม่ดื้อ ไม่ซน ควรทำอย่างไร

ก่อนอื่น พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าเด็กวัยนี้มักจะซุกซนเป็นปกติ ชอบปีน ไม่ยอมหยุดนิ่งเท่าไหร่ โดยเฉพาะการได้ปีนป่ายขึ้นไปอยู่บนที่สูง ๆ นั้นก็เป็นหนึ่งในความปรารถนาของเด็กวัยนี้เช่นกัน ดังนั้น วิธีที่จะทำให้ลูกดื้อน้อยลงเวลาอยู่ที่บ้าน คือ การให้ลูกได้เล่นอย่างเต็มที่อาจจะเป็นสนามเด็กเล่นที่บ้าน หรือโซนเครื่องเล่นตามห้างสรรพสินค้า หรือที่ต่าง ๆ ค่ะ พ่อแม่อาจจะให้ลูกเล่นประมาณ 1-2 ชั่วโมง ให้ลูกได้เล่นจนเพลีย รู้สึกเหนื่อย หรือรู้สึกง่วงนอน แต่ก็อาจจะช่วยได้เพียงชัวครู่ เพราะหากลูกน้อยได้พักงีบพลังก็จะกลับมาอีกครั้ง หรือทำโดยวิธีนี้

  • หาเก้าอี้หรือบันไดสำหรับเด็ก ให้น้องได้ลองปีนเล่นเพื่อหยิบหนังสือหรือของเล่นบนชั้นเอง โดยที่ชั้นวางของเล่นหรือหนังสือต้องมีความแข็งแรงพอด้วยค่ะ
  • อย่านำเก้าอี้ไว้ใกล้กับหน้าต่าง เพราะลูกน้อยอาจจะปีนขึ้นไปและพลาดตกหน้าต่างไปได้ค่ะ
  • หาของเล่นแถบแม่เหล็กแบบติดกับเฟอร์นิเจอร์ได้ ให้ลูกน้อยได้ลองติด และสำรวจดูค่ะ
  • ทำคอกหรือหาเครื่องเล่นสำหรับเด็กให้ลูกได้ปีนป่ายภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย

ความปลอดภัยของเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญ และพัฒนาการของเด็กก็เป็นเรื่องที่สำคัญด้วยเช่นกัน ซึ่งพ่อแม่อาจไม่สามารถห้ามลูกน้อยที่จะเล่นหรือปีนป่ายได้ แต่พ่อแม่สามารถเลือกที่จะป้องกันอุบัติเหตุของลูกน้อยได้ค่ะ



บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการชักในเด็ก จากอาการไข้ รับมืออย่างไรให้ลูกปลอดภัย

ชื่นชมลูก อย่างไร? ให้ถูกวิธี และไม่ทำให้เด็กหลงตัวเอง

ปัญหาเด็กยุคใหม่ ลูกติดมือถือ จับไม่ยอมวาง ทำอย่างไรดี ?

ที่มา : 1 , 2