สำหรับช่วงอายุการ ตั้งครรภ์ 41 สัปดาห์ ช่วงนี้จะถือว่าเป็นช่วงที่เลยกำหนดการคลอด แต่ยังไม่ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด (Overdue หรือ Post-term) ดังนั้นวันนี้เราจะพาไปคลายข้อสงสัยกันค่ะว่าสำหรับช่วงตั้งครรภ์ 41 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์นั้นเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงร่างกายของคุณแม่นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง มาตามไปดูพร้อมกันเลย!
พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 41 สัปดาห์
- ทารกในครรภ์จะมีลำตัวยาวประมาณ 48.3 เซนติเมตร ถึง 53.3 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ถึง 4.5 กิโลกรัม
- ทารกได้มีพัฒนาการ (Fetal development) ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
- อวัยวะภายนอก แต่ผม คิ้ว ขนตา เล็บมือและเท้า จะมีความยาวเพิ่มขึ้น
ตั้งครรภ์ 41 สัปดาห์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
- สำหรับช่วงตั้งครรภ์ 41 สัปดาห์ หน้าท้องของคุณแม่จะมีขนาดที่ใหญ่มาก
- ปัญหาเรื่องของการนอน ซึ่งอาจจะทำให้นอนลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากท้องของคุณแม่ก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น เวลาลูกดิ้น ก็อาจจะทำให้นอนไม่ค่อยหลับ และไม่สบายตัว
- อาการปวดหลัง อาการปวดหลังถือเป็นอาการส่วนใหญ่ที่คุณแม่ท้องต้องพบเจอ เนื่องจากน้ำหนักของอายุครรภ์ที่มากขึ้น
- อาการเท้าบวม คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีอาการเท้าบวม แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะหลังจากที่คลอดลูกไปแล้ว อาการบวมเหล่านี้จะลดลง
- ริดสีดวงทวาร จะเกิดจากแรงกดที่บริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้เส้นเลือดแถว ๆ ทวารหนักบวมจนเกิดเป็นริดสีดวง
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากช่วงนี้ทารกจะเริ่มเคลื่อนศีรษะลงมาอยู่ที่อุ้งเชิงกราน ทำให้คุณแม่เริ่มหายใจได้สะดวกขึ้น แต่อาจจะหน่วงในช่องเชิงกรานมากยิ่งขึ้น เพราะทารกจะลงไปกดอวัยวะในช่องเชิงกรานทำให้ปวดที่หัวหน่าว และน้ำหนักของมดลูกนั้นจะไปกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่นั้นปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น
- มดลูกบีบตัว การบีบตัวและคลายตัวของมดลูก จะเกิดขึ้นบ่อยมาก แต่ถ้าหากมีความถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจเป็นสัญญาณว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ดังนั้น คุณแม่จึงต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 42 สัปดาห์ ครรภ์เกินกำหนด ทำอย่างไรดี ?
การดูแลตัวเองสำหรับการตั้งครรภ์ 41 สัปดาห์
- ทานอาหารเพื่อสุขภาพ คุณแม่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ที่หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ และต้องทานในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ ที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เหล็ก วิตามิน เป็นต้นเพื่อที่จะได้ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ให้แข็งแรง
- เสื้อในการสวมใส่ ช่วงนี้หน้าท้องของคุณแม่ก็จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้นควรเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดเวลาใส่เสื้อผ้า
- คุณแม่ควรปรึกษาพูดคุยกับเพื่อน ๆ ที่เคยมีประสบการณ์การมีลูกมาก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงลูกคนแรก และเพื่อไม่ให้ตัวคุณแม่เกิดอาการวิตกกังวลมากเกินไป
- คุณแม่ควรศึกษา และปรึกษาสูตินรีแพทย์ ถึงวิธีการคลอดที่เหมาะสมสำหรับตัวคุณแม่และลูกน้อย
- เร่งคลอด ไปพบแพทย์เพื่อทำการอัลตราซาวนด์ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกสบายดี สุขภาพแข็งแรงทุกอย่าง ซึ่งผลการตรวจจะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะเร่งคลอดหรือไม่
สัญญาณบ่งบอกว่าทารกใกล้จะคลอด
- ถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกกันว่า น้ำเดิน ซึ่งมดลูกจะทำการเริ่มบีบตัวหดเล็กลงเพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน ซึ่งน้ำที่ออกมาจะเป็นลักษณะใส ๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ ไม่มีกลิ่น ซึ่งอาการนี้มีโอกาสที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง
- เจ็บท้องคลอด คุณแม่จะอาการเจ็บท้องเริ่มถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ในจังหวะสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง หากคุณแม่เกิดอาการนี้ แนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะถือว่าเป็นสัญญาณสำคัญของการคลอด
-
มีเมือกไหลออกมาทางช่องคลอด บริเวณปากมดลูกจะมีเมือกที่เรียกว่า mucus plug เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อใกล้คลอด ปากมดลูกเริ่มเปิดและบาง เมือกนี้ก็จะหลุดออกมา
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 41 สัปดาห์ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 41 สัปดาห์หรือไตรมาสที่ 3 กันนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 3
ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 3
ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 3