ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

หลังจากเดือนแรกผ่านไป ยินดีต้อนรับคุณแม่เข้าสู่ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนที่ 2 นะคะ หลังจากที่ผ่านมาแล้วหนึ่งสัปดาห์ เรามาดูไปพร้อมกันดีกว่าพ 

 2220 views

หลังจากเดือนแรกผ่านไป ยินดีต้อนรับคุณแม่เข้าสู่ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนที่ 2 นะคะ หลังจากที่ผ่านมาแล้วหนึ่งสัปดาห์ เรามาดูไปพร้อมกันดีกว่าพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ เป็นอย่างไรบ้างแล้ว จะตัวโตขึ้นแค่ไหนกันนะ แล้วอาการของคุณแม่จะมีอะไรที่น่าเป็นห่วงหรือจะต้องระวังเพิ่มเติมหรือเปล่า ไปดูกันค่ะ


ท้อง 5 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน

ข้อสงสัยที่เป็นคำถามยอดฮิตเมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ครั้งแรก และคุณหมอแจ้งระยะเวลาของการตั้งครรภ์เป็นแบบสัปดาห์ คุณแม่บางคนถึงกับงงเลยทีเดียว หากคุณแม่ที่คุณหมอแจ้งว่า ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์เท่ากับ 1 เดือนกับอีก 1 สัปดาห์นะคะ สามารถเรียกได้ทั้งสองแบบเลย


ทารกในครรภ์อายุ 5 สัปดาห์ เป็นอย่างไรบ้าง

หลังจากที่ผ่านช่วงเดือนแรกมาได้หนึ่งสัปดาห์ เจ้าตัวน้อยในครรภ์ของคุณเริ่มมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยทารกในครรภ์อายุ 5 สัปดาห์จะมีขนาดเท่ากับเมล็ดแอปเปิล ถ้าวัดคร่าว ๆ จากหัวถึงก้นก็จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 2 มิลลิเมตร หรือมีขนาดเท่ากับเมล็ดทับทิม ซึ่งถือได้ว่าทารกในครรภ์มีขนาดเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเลยทีเดียว และนอกจากนี้ทารกในครรภ์ยังมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย ไปดูกันเลย


ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์


ทารกเริ่มมีลำตัว

พัฒนาการทางร่างกายของทารกในครรภ์นอกจากจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว พวกเขาจะเริ่มเปลี่ยนรูปร่างจากเอ็มบริโอขนาดเล็ก ขยายออกมาในลักษณะตามแนวยาว หรือมองแล้วมีรูปร่างคล้ายกับลูกอ๊อดที่มีหัวและหางเป็นฐาน แต่อย่างกังวลไปค่ะ เพราะในอีกไม่ช้าอวัยวะส่วนต่าง ๆ จะถูกสร้างมาทำให้พวกเขากลายเป็นเด็กที่สมบูรณ์ และนอกจากนี้ระบบการทำงานภายในร่างกายจะเริ่มทำงานประสานกันกับอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงท่อประสาทที่เป็นสารตั้งต้นของสมองและไขสันหลังของทารกด้วย


ตรวจพบอัตราการเต้นของหัวใจ

ทารกในครรภ์ช่วงสัปดาห์ที่ 5 นั้นถือว่าเป็นช่วงที่มีพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จากเอ็มบริโอเล็กจิ๋ว พัฒนาสู่การเริ่มต้นการเป็นทารกอย่างแท้จริง ซึ่งในช่วงสัปดาห์นี้ ระบบย่อยอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท และอวัยวะต่าง ๆ อาทิ หัวใจ ปอด และกระเพาะอาหารจะถูกสร้างขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก ๆ เพื่อที่จะทำให้ร่างกายนั้นสามารถทำงานร่วมกันจนเกิดพัฒนาการกลายมาเป็นทารกในที่สุด และแน่นอนว่าหากคุณแม่ได้ไปอัลตร้าซาวด์ก็จะได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยในครรภ์ด้วยนะคะ


การเปลี่ยนแปลงของ ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ มีอะไรบ้าง

หากคุณแม่ที่เพิ่งทราบว่าประจำเดือนของตนเองไม่มาสักพักแล้ว ช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะตรวจพบว่าตนเองตั้งท้องมากที่สุด เพราะเมื่อตั้งครรภ์ได้ 5 สัปดาห์แล้ว ระดับของ hCG หรือ Human chorionic gonadotropin ในร่างกายนั้นจะมีปริมาณมากเพียงพอที่สามารถตรวจและทราบผลได้อย่างแน่นอนได้ที่บ้าน และนอกจากนี้อาการต่าง ๆ ที่คุณแม่จะพบเจอในช่วงสัปดาห์นี้จะทำให้คุณมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่ากำลังตั้งครรภ์ เรามาดูกันดีกว่ามีท้อง 5 สัปดาห์จะมีอาการอย่างไรบ้าง


ความอยากอาหารที่มากกว่าปกติ หรือไม่อยากกิน

หากวันหนึ่งคุณรู้สึกว่าคุณมีความอยากอาหารบางอย่างที่จะต้องกินให้ได้ทันทีเดี๋ยวนี้ หรือแม้แต่ของที่เคยชอบกลับไม่อยากรับประทานอีกคุณอาจจะกำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ที่ร่างกายของคุณยังไม่คุ้นเคยกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คุณนั้นมีความอยากหาร หรือไม่อยากทานอาหารนั่นเอง


ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ ความอยากอาหาร

เหนื่อยง่าย หมดแรง

การตั้งครรภ์ถือเป็นงานที่หนักหน่วงสำหรับผู้หญิง คุณจะรู้สึกว่าการตื่นตัวของคุณนั้นลดลง ในช่วงไตรมาสแรกคุณจะหมดพลังงานทั้งไปกับการช่วยเจ้าตัวน้อยสร้างระบบการทำงานภายในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการสร้างรก คุณจะรู้สึกเหนื่อยง่ายและหมดแรงที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ เพราะถ้าหากรกถูกสร้างเสร็จแล้วคุณแม่ก็จะสามารถฟื้นคืนพลังงานกลับมาได้เหมือนเดิม


น้ำลายมากเกินไป

จากประสบการณ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านพบว่า การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกมีอาการน้ำลายสออย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งจะส่งผลทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ร่วมกับการที่ร่างกายผลิตน้ำลายออกมาเป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าอาการดังกล่าวนั้นมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์นั่นเอง หากคุณแม่รู้สึกว่าการที่มีน้ำลายมากจนเกินไปจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันก็สามารถเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อช่วยลดปริมาณน้ำลายลงได้


ปัสสาวะบ่อย

ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์ส่งผลทำให้ไหลเวียนของเลือด และของเหลวในร่างกายของคุณเปลี่ยนผ่านได้ไวมากยิ่งขึ้น ทำให้ไตของคุณทำงานหนักยิ่งขึ้นเพื่อที่จะกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งของเสียเหล่านั้นจะถูกขับออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ เป็นผลทำให้คนท้องจะต้องเข้าห้องน้ำอยู่บ่อยครั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณแม่ก็ควรดื่มน้ำมาก ๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไป และป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ



คลื่นไส้ วิงเวียน

บางครั้งคุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกไม่สบายท้อง ซึ่งอาจทำให้อาเจียนได้ และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือกลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางอย่าง ความเครียดที่เพิ่มมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของร่างกาย อาทิ การรับกลิ่นที่ไวขึ้น และได้รับกลิ่นที่รุนแรงขึ้น เป็นต้น


หน้าอกเต่งตึง

นอกจากที่ลูกน้อยในครรภ์ของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ร่างกายของคุณแม่ก็อยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนและการขยับขยายเช่น โดยฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ส่งผลทำให้แม่ท้องในช่วงสัปดาห์ที่ 5 จะรู้สึกบวม เจ็บ แสบ และไวต่อการสัมผัสมาเป็นพิเศษบริเวณเต้านม


เคล็ดลับสำหรับการดูแลของคุณแม่ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์

เมื่อร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ทารกในครรภ์มีพัฒนาการทางร่างกายมากยิ่งขึ้น คุณแม่จึงจำเป็นจะต้องยิ่งระวังตัวเองให้มากยิ่งขึ้นด้วย เพราะช่วงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกเสี่ยงต่อการสูญเสียบุตรได้ง่าย ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์นั้นต้องหลีกเลี่ยงหรือดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง


คนท้อง เคลียร์ปัญหาสุขภาพช่องปาก

เคลียร์ปัญหาสุขภาพช่องปาก

คุณแม่ที่อยู่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ควรนัดคิวเข้าพบกับทันตแพทย์รัว ๆ เพื่อจัดการกับปัญหาสุขภาพช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการ การอุดฟัน ถอนฟัน หรือขูดหินปูน เพราะว่าการเคลียร์ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์นั้นอาจทำให้ภาวะแทรกซ้อนอย่างความดันโลหิตสูง และครรภ์เป็นพิษได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้คุณแม่ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ถ้าหากมีการเอกซเรย์ ทันตแพทย์จะได้จัดเตรียมชุดป้องกันรังสีที่ส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ให้ปลอดภัยนั่นเอง


อยู่ห่างจากกระบะทรายแมว

บ้านคุณแม่ท่านใดที่กำลังเลี้ยงแมวอยู่รับฟังทางนี้ค่ะ ขอให้คุณแม่งด ละ เลิกเก็บอึแมวช่วงตั้งครรภ์ ห้ามอย่างเด็ดขาด! เพราะอุจจาระของแมวนั้นสามารถกักเก็บปรสิตที่ทำให้เกิดโรคทอกโซพลาสโซซิส (Toxoplasmosis) หรือโรคขี้แมว ซึ่งจะส่งผลทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำนั้นได้รับปรสิตนั้นเข้าสู่ร่างกาย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้ออย่างรุนแรงขณะตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ควรให้อาหารแมว หรือใกล้ชิดกับแมวไม่ว่าจะเป็นแมวจร หรือแมวที่คุณเลี้ยงก็ตาม


ทานอาหารที่จำเป็นเท่านั้น

ถึงเวลาที่อาหารมื้อโปรด หรือเมนูที่คุณโปรดปรานจะถูกถอดออกจากการรับประทานชั่วคราว นอกจากนี้ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมและน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์อีกด้วย และการปรุงอาหารจากที่คุณสามารถทานกึ่งสุกกึ่งดิบได้ คุณแม่อาจต้องเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ รวมทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


คนท้อง ออกกำลังกายเบา ๆ

ออกกำลังกายเบา ๆ

หากคุณแม่ที่กำลังมีอาการแพ้ท้องอยู่ การออกกำลังกายเบา ๆ จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี คุณอาจจะเริ่มจากการเดินช้า ๆ ไปตามทางเดินของสวนสาธารณะ การออกกำลังกายด้วยท่าโยคะ หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้า ๆ ในสระน้ำ เพียงแต่ทำวันละ 10-15 นาทีก็จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ และส่งผลทำให้คุณแม่รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาอีกด้วย


เสริมโปรตีนจากการอาหาร

การรับประทานหลังจากที่คุณตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่คุณแม่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าไม่ได้เพียงแค่คุณตัวคนเดียวอีกต่อไป การเลือกรับประทานอาหารประเภทโปรตีนที่คุณอาจคุ้นชิน ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเนื้อสัตว์เหล่านี้จะทำให้กระบวนการย่อยอาหารที่ถูกลดประสิทธิภาพการทำงานลงหลังจากการตั้งครรภ์นั้นทำงานได้ยากมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากคุณแม่ต้องการที่จะเพิ่มโปรตีนให้กับตนเองและลูกน้อย ควรมองหาโปรตีนที่ได้จากพืช อาทิ โยเกิร์ต ถั่ว หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เป็นต้น


ป็นอย่างไรกันบ้างคะ เจ้าตัวน้อยของคุณเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้ว มีคุณแม่บ้านไหนได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์แล้วบ้างคะ จะต้องเป็นเสียงที่ไพเราะและนำความสุขมาให้คุณพ่อกับคุณแม่แน่ ๆ เลย หลังจากนี้เจ้าตัวน้อยของคุณจะเป็นอย่างไรต่อสามารถติดตามเรื่องราวของการตั้งครรภ์ในแต่ละสัปดาห์เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือเลือกบทความเกี่ยวกับเรื่องตั้งครรภ์ในสัปดาห์ถัดไปและสัปดาห์ก่อนหน้าได้ที่ด้านล่างนี้


บทความที่น่าสนใจ :

10 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ แม่ท้องห้ามทำอะไรบ้าง

ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

ที่มา : 1, 2, 3, 4