มดลูกไม่เข้าอู่ อีกหนึ่งปัญหาของแม่หลังคลอด ที่ควรเข้าใจ !

เชื่อว่าหลังจากการอุ้มท้องตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา อีกหนึ่งปัญหา ที่แม่มือใหม่อาจจะกำลังเป็นกังวล นั่นก็คือเรื่องเกี่ยวกับอาการหลังคลอด ที่ไม 

 1418 views

เชื่อว่าหลังจากการอุ้มท้องตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา อีกหนึ่งปัญหา ที่แม่มือใหม่อาจจะกำลังเป็นกังวล นั่นก็คือเรื่องเกี่ยวกับอาการหลังคลอด ที่ไม่เคยเจอแต่เคยได้ยินแน่นอนค่ะ ซึ่งอาการดังกล่าวยังรวมไปถึง มดลูกไม่เข้าอู่ หนึ่งในปัญหาที่ได้ยินบ่อย แต่บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจดี



แม่หลายท่านอาจจะกำลังสงสัย ว่ามดลูกจะเข้าอู่เมื่อไร มีวิธีสังเกตอย่างไรบ้าง และหากมดลูกไม่เข้าอู่ จะมีผลเสียตามมาหรือเปล่า วันนี้ Mamastory จะพาไปหาคำตอบกันค่ะ !



มดลูกเข้าอู่คืออะไร ?

มดลูกเป็นหนึ่งในอวัยวะที่น่าสนใจ เพราะสามารถหดตัวและขยายตัวได้ จนขนาดกว้างพอที่จะเป็นที่อยู่ของทารกในครรภ์ เมื่อลูกในท้องเริ่มโตขึ้น มดลูกก็จะเริ่มขยายขึ้น ซึ่งเมื่อหลังคุณแม่คลอดลูกแล้ว มดลูกก็จะกลับสู่สภาพเดิม โดยจะค่อย ๆ หดรัดเล็กลงเรื่อย ๆ จึงเป็นการเรียกว่า “มดลูกเข้าอู่”



โดยหลังจากระยะหลังคลอด (Postpartum period) ตั้งแต่ตอนคลอดเสร็จสิ้น ไปจนถึงราว 6 สัปดาห์หลังคลอด มดลูกจะกลับเข้าสู่สภาพเดิม ใช้เกณฑ์เดียวกันทั้งการคลอดปกติทางช่องคลอดและการผ่าท้องคลอด ซึ่งในช่วงหลังคลอดนี้จะมีน้ำคาวปลา, เลือด และของเหลวในโพรงมดลูก จะถูกขับออกมาทางช่องคลอด โดยในระยะ 3 วันแรกน้ำคาวปลาจะมีสีแดง ก่อนที่จะสีจางลงในช่วง 4-10 วัน หลังจากนั้นน้ำคาวปลาจะเป็นสีขาว อาจจะอยู่นานถึง 4-6 สัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคาวปลา เกิดจากอะไร ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีน้ำคาวปลาหลังคลอด?



มดลูกไม่เข้าอู่



มดลูกไม่เข้าอู่ และมดลูกเข้าอู่ อาการต่างกันอย่างไร

การที่มดลูกเข้าอู่ คือการที่มดลูกหดรัดตัว เพื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติในอุ้งเชิงกราน ซึ่งเมื่อหลังคลอดแล้ว เลือดจะไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง ทำให้ขนาดเล็กลงเกือบเท่าขนาดก่อนตั้งครรภ์ เมื่อมดลูกเข้าอู่แล้ว คุณแม่มักจะมีอาการปวดเสียวท้องน้อย แต่ไม่พบอาการผิดปกติเมื่อตรวจ แต่ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง อาจจะได้รับการรักษาด้วยการเย็บเอ็นยึดมดลูกให้ตึงขึ้น หรืออาจจะตัดมดลูกทิ้ง ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ค่ะ



หลังจากที่คลอดและพักฟื้นแล้ว หลังจากนั้นแพทย์จะนัดตรวจสุขภาพ เพื่อตรวจส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการขับถ่าย เรื่องของน้ำคาวปลา แผลฝีเย็บต่าง ๆ และยังตรวจดูว่ามดลูกคุณแม่ รัดตัวเข้าสู่สภาวะปกติแล้วหรือยัง



วิธีสังเกตมดลูกเข้าอู่ช้า

  • คลำพบรอยยอดมดลูกที่หน้าท้อง หรืออยู่สูง
  • ปวดท้องน้อย
  • มีกลิ่นเหม็น
  • น้ำคาวปลาออกนาน หรือออกมามาก
  • มีน้ำคาวปลาออกเป็นสีแดง
  • อุณหภูมิในร่างกายสูง
  • กดเจ็บที่มดลูก
  • ตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง



มดลูกไม่เข้าอู่



สาเหตุที่มดลูกเข้าอู่ช้า

  • การหดตัวของมดลูกไม่ดี
  • มีเศษรกหรือหุ้มเยื่อทารกค้างในมดลูก
  • มีก้อนเนื้องอกของมดลูก เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ หรือทารกในครรภ์หัวโต-ตัวโต
  • การผ่าตัดคลอดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
  • ทารกไม่ได้ดูดนมแม่
  • มีการติดเชื้อของมดลูก
  • มดลูกคว่ำหน้ามากหรือคว่ำหลังมาก



สิ่งที่ห้ามทำหลังคลอด

  1. เลี่ยงการใช้แรงเยอะ รวมถึงการยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนัก ๆ เพราะอาจทำให้แผลเกิดการฉีกขาดได้ ควรรอให้แพทย์อนุญาตก่อน
  2. เบ่งถ่ายรุนแรง เพราะกล้ามเนื้อคลอดและเบ่งถ่ายเป็นกล้ามเนื้อเดียวกัน อาจทำให้เกิดการเจ็บแผลได้ ควรทานอาหารที่มีกากใย ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อเลี่ยงอาการท้องผูกหลังคลอด
  3. ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดรูปจนเกินไป เพราะการที่รัดแน่นจะทำให้อึดอัด หรือเหงื่อออกได้ง่าย จนเกิดการอับชื้นหรือติดเชื้อได้ ควรเลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
  4. เลี่ยงการแช่น้ำหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำ อ่างน้ำ หรือแม้แต่การเล่นน้ำทะเล ก็ควรงดก่อน เพราะเลือดที่ออกอาจทำให้ติดเชื้อได้ เพื่อความปลอดภัยควรรอให้เลือดหยุดไหล หรือมดลูกเข้าอู่ก่อน



วิธีทำให้มดลูกเข้าอู่ไว

1. นวดหน้าท้อง

คุณแม่สามารถนวดหน้าท้องเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ไว โดยการกดบริเวณที่มีก้อนกลม ๆ ค่อย ๆ นวดเบา ๆ ให้ทำการนวดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเป็นก้อนและมดลูกเข้าสู่สภาพปกติค่ะ



2. ให้นมลูกบ่อย ๆ

การที่แม่ให้นมลูก แล้วรู้สึกปวดท้องน้อย แสดงว่ามดลูกกำลังบีบตัว เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว การให้นมลูกจะช่วยได้ค่ะ



มดลูกไม่เข้าอู่



3. อยู่ไฟ

การอยู่ไฟจะช่วยให้ร่างกาย ขับของเสียออกมา ทำให้ร่างกายเป็นปกติได้เร็ว



4. ดื่มน้ำอุ่น

การดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้ไวขึ้น และช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น



5. มีเพศสัมพันธ์

การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด จะช่วยทำให้ฮอร์โมนในร่างกาย สามารถทำงานได้ดีขึ้น และยังช่วยทำให้มดลูกของคุณแม่เข้าอู่ได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ



การดูแลมดลูกหลังคลอดที่ดีที่สุด คือ การให้ลูกกินนมแม่ เพราะจะช่วยกระตุ้นฮอร์โมน ให้มดลูกมีการหดรัดตัว ป้องกันการตกเลือดหลังคลอด โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ค่ะ ที่สำคัญทุก ๆ วิธีการถ้าได้ทำแล้ว ก็จะดีต่อสุขภาพมดลูกของเราค่ะ



ทั้งนี้ ช่วงหลังคลอดแพทย์จะนัดคุณแม่มาตรวจสุขภาพหลังคลอด ซึ่งแพทย์จะตรวจดูว่ามดลูกกลับสู่ภาวะปกติหรือไม่ เพราะบางครั้งอาจพบภาวะความผิดปกติบางอย่าง ทำให้มดลูกเข้าอู่ช้า ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้องจากแพทย์ หรือหากคุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติ เช่น มีน้ำคาวปลามากผิดปกติ มีไข้ ปวดท้องมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อแก้ไขโดยเร็วค่ะ



บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เรื่องน่ารู้! บล็อกหลังคลอด ตัวช่วยบรรเทาความเจ็บปวด สำหรับแม่ท้องคลอดลูก

เทรนด์ใหม่มาแรง! คลอดลูกในน้ำ ทางเลือกสำหรับแม่ท้องคลอดธรรมชาติ

10 วิธีการเตรียมตัวก่อนคลอด มีอะไรบ้างที่คุณแม่ควรเตรียมให้พร้อม

ที่มา : 1, 2