โรคหัดเยอรมัน โรคติดต่อจากเชื้อไวรัส ติดได้ตั้งแต่แม่ท้องสู่ทารก !

หนึ่งในโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอย่าง โรคหัดเยอรมัน (Rubella) ที่บางครั้งแสดงอาการเล็กน้อย จนแทบจับสังเกตไม่ได้ แต่ถึงแม้ความรุนแรงของโรคจะมีไม่ม 

 857 views

หนึ่งในโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอย่าง โรคหัดเยอรมัน (Rubella) ที่บางครั้งแสดงอาการเล็กน้อย จนแทบจับสังเกตไม่ได้ แต่ถึงแม้ความรุนแรงของโรคจะมีไม่มาก แต่ถ้าหากแม่ท้องติดเชื้อ สามารถส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ได้ด้วย !



วันนี้ Mamastory จะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ป้องกันได้ถูกวิธี และรับวัคซีนป้องกันก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรคค่ะ หากพร้อมแล้วไปดูกันเลย !



โรคหัดเยอรมัน คืออะไร ?

โรคหัดเยอรมัน คือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสรูเบลลา (Rubella) เป็นการติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย โดยคนส่วนใหญ่อาจจะไม่มีการแสดงอาการของโรค หรือบางรายอาจจะแสดงอาการน้อย โดยรวมแล้วอาการคล้ายกับโรคหัด เพียงแต่ความรุนแรงน้อยกว่า



โรคหัดเยอรมันสามารถติดต่อได้จากการหายใจ และการสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อโดยตรง เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบการหายใจ เชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือด และระบบน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต และเชื้อจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยปกติแล้วจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 12-24 วัน



โรคหัดเยอรมัน



โรคหัดเยอรมันกับคนท้อง

สำหรับแม่ท้องระยะแรก หรือช่วง 3-4 เดือน มีความเป็นไปได้สูงที่เชื้อไวรัส จะแพร่ต่อไปยังทารกในครรภ์ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้เกิดความพิการทางหู ตา หัวใจ และสมอง หรือหากอันตรายที่สุดคือแท้งลูกได้ ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่าไม่เคยฉีดวัคซีน ควรรับคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนจากแพทย์อีกครั้ง



ที่อันตรายมากกว่านั้นคือ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ยังส่งผลถึงหลังคลอดอีกด้วย รวมถึงเชื้อจะยังอยู่ในน้ำนมแม่ นอกจากนี้เชื้อยังส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของแม่และเด็กอย่างต่อเนื่องค่ะ



ความแตกต่างระหว่างโรคหัดเยอรมัน กับโรคหัด

โรคหัดเยอรมัน และโรคหัด ไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่มีอาการของผู้ป่วยที่มีผื่นแดงคล้ายกัน นอกจากนั้นสาเหตุการเกิดโรคหัดเยอรมันนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆที่แตกต่างจากโรคหัด ในแง่ของความรุนแรงของโรค พบว่าโรคหัดเยอรมันมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคหัด



สาเหตุของโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสจากคนสู่คนโดยตรง เชื้อจะแพร่กระจายเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม อีกทั้งเชื้อยังสามารถส่งต่อได้ หากสัมผัสกับน้ำมูกของผู้ป่วยโดยตรง โดยเชื้อจะฟักตัวอยู่ราว 2 สัปดาห์ ก่อนเกิดผื่นแดงตามร่างกาย และผู้ป่วยจะแพร่เชื้อต่อโดยไม่รู้ตัว



ปัจจุบันโรคนี้พบการติดต่อได้น้อย เพราะเด็กหลายคนได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ก็ยังสามารถติดเชื้อได้ หากเดินทางออกนอกประเทศ ดังนั้นการรับวัคซีนป้องกันที่จำเป็น ก่อนการเดินทางไปยังต่างประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ครรภ์เป็นพิษ เกิดจากอะไร อันตรายต่อเด็กและแม่ท้องหรือไม่?



อาการของโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในเด็กยิ่งไม่ปรากฏอาการ แต่มักจะแสดงอาการใน 2-3 สัปดาห์ หลังจากที่ได้สัมผัสกับเชื้อไวรัส โดยผู้ป่วยอาจต้องรักษาตัวราว 5 วัน โดยส่วนใหญ่มักพบอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้ต่ำประมาณ 38.9 องศาฯ หรือต่ำกว่านั้น
  • ปวดหัว เวียนศีรษะ
  • น้ำมูกไหล
  • ตาแดง หรือตาอักเสบ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต บริเวณด้านหลังกะโหลกศีรษะ หลังคอ หรือหลังหู
  • ผื่นขึ้นหน้า ลำตัว แขน และขา ตามลำดับ
  • ปวดตามข้อกระดูก
  • เบื่ออาหาร
  • บางรายอาจไม่ปรากฏอาการใด



โรคหัดเยอรมัน



โรคหัดเยอรมันกับภาวะแทรกซ้อน

อย่างที่บอกข้างต้นค่ะ ว่าโรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่ไม่รุนแรง หากเคยติดเชื้อหนึ่งครั้ง จะส่งผลให้มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต สำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิง อาจจะมีอาการปวดตามข้อกระดูก ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้าได้ นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจส่งผลให้มีอาการแทรกซ้อนอย่าง ติดเชื้อที่หูหรือเกิดโรคสมองอักเสบได้



สำหรับแม่ตั้งท้อง โรคหัดเยอรมันจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อทารกในครรภ์ จนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต การเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา ดังนี้

  • การเติบโตช้าลง
  • ต้อกระจก
  • หูหนวก
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • พิการ
  • ความบกพร่องทางสติปัญญา



โรคหัดเยอรมัน จะมีความรุนแรงมากที่สุดในช่วง 12 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไปจนคลอด แต่ถ้าหากพ้นการคลอดไปแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงให้นมลูก แม่ได้รับเชื้อหัดเยอรมัน ก็ยังคงส่งต่อความรุนแรงของโรคไปยังทารกเช่นเดิมค่ะ



วิธีป้องกันโรคหัดเยอรมัน

  1. รับวัคซีนป้องกัน MMR เข็มแรกตั้งแต่อายุ 9-12 เดือน และรับเข็มที่ 2 อีกครั้ง เมื่ออายุ 4-6 ปี
  2. แม่เตรียมท้องควรรับวัคซีน MMR ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อลดการติดเชื้อของทารก
  3. ไม่ควรเข้าในสถานที่แออัด หรือคนเยอะ ในช่วงที่มีการระบาดของโรค
  4. ไม่ควรใกล้ชิด หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ



โรคหัดเยอรมัน



วิธีปฏิบัติเมื่อต้องการตั้งครรภ์

หากไม่แน่ใจว่าได้รับเชื้อหัดเยอรมันหรือไม่ ควรตรวจเช็กย้อนหลังว่า เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน MMR หรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าหากตั้งครรภ์ จะไม่ส่งผ่านเชื้อไปยังลูก เพราะโรคนี้อาจส่งผลกระทบให้ลูกพิการได้ โดยเชื้อจะยิ่งมีความรุนแรง หากเป็นหากติดเชื้อจากแม่สู่ลูกโดยตรง



การได้รับวัคซีน MMR ก่อนการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ตัดคัดกรองภูมิคุ้มกัน ก่อนเข้าสู่กระบวนการตั้งครรภ์ หากไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกัน ควรทำการนัดรับวัคซีนก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อความปลอดภัยของแม่และลูก


อย่างที่บอกค่ะ ว่าโรคนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้น หากเป็นการส่งต่อเชื้อจากแม่สู่ลูกโดยตรง ดังนั้นก่อนการวางแผนตั้งครรภ์ ควรรับการคัดกรองภูมิคุ้มกันก่อน รวมถึงตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อเป็นการวางแผนสร้างครอบครัวโดยปลอดภัยไร้ความกังวล



บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคท้าวแสนปม โรคทางพันธุกรรม อีกโรคผิวหนังที่ผู้คนรังเกียจ !

โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) อันตรายต่อแม่ท้องที่ต้องพึงระวัง

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร เสี่ยงต่อลูกในท้องหรือไม่?

ที่มา : 1, 2