โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) อันตรายต่อแม่ท้องที่ต้องพึงระวัง

เชื่อว่าหลายบ้านที่เลี้ยงแมว เมื่อมีเบบี๋มาอยู่ในท้อง อาจจะเคยได้รับคำเตือนว่า “การเลี้ยงแมวเป็นอันตราย การเลี้ยงแมวเสี่ยงแท้ง” จนกลายเป 

 658 views

เชื่อว่าหลายบ้านที่เลี้ยงแมว เมื่อมีเบบี๋มาอยู่ในท้อง อาจจะเคยได้รับคำเตือนว่า “การเลี้ยงแมวเป็นอันตราย การเลี้ยงแมวเสี่ยงแท้ง” จนกลายเป็นประเด็นหลัก ที่ทำให้น้องแมวโดนเปลี่ยนถ่ายเจ้าของ ซึ่งเรื่องนี้เป็นความจริง แต่ไม่เสมอไป 100% ขั้นแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการของ โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) เกิดขึ้นได้ แต่เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องทำความเข้าใจให้มากกว่าเดิม

สุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องรู้อยู่แล้ว แต่การแยกจากกำลังใจ หรือแมวตัวน้อย ที่เป็นเสมือนหนึ่งในสมาชิกครอบครัว ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่อาจจะตามมาได้ จริงอยู่ที่ว่าเชื้อโรคอันตราย จะกลายเป็นความเสี่ยง ที่อาจทำให้ลูกติดเชื้อ หรือไม่สบายได้ แต่ใช่ว่าจะเป็นจริงตามคำบอกเล่าเสมอไป

วันนี้ Mamastory มีข้อมูลเกี่ยวกับ โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) มาฝากทุกคนค่ะ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีปัญหาปากเสียงกัน ระหว่างคนในครอบครัว และเพื่อให้เจ้าเหมียวกับลูกน้อยของเรา อาจจะเป็นเพื่อนรักในอนาคตก็ได้ค่ะ

โรคขี้แมว (Toxoplasmosis) คืออะไร ?

โรคขี้แมว หรือ โรคทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เป็นโรคที่มีสาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasma gondii) ที่มีวงจรซับซ้อนและพบได้ทั่วโลก สามารถพบได้ในสัตว์จำพวก แกะ แพะ หมู หมา แต่โดยส่วนมากมักพบในแมว 

ซึ่งโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ที่มักติดมาจากขี้แมว ที่อาจจะเป็นสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของแม่ท้อง โดยความเสี่ยงติดโรค อาจเกิดได้จากการเก็บ การทำความสะอาด หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับขี้แมว โดยปราศจากการล้างมือ ซึ่งหากแม่ท้องได้รับการติดเชื้อดังกล่าว ก็จะสามารถถ่ายทอดไปยังลูกในครรภ์ด้วย 

นอกจากนี้ เชื้อโรคดังกล่าวยังสามารถแพร่ติดต่อ จากการกินเชื้อที่ปะปนอยู่ในผักดิบ หรือเนื้อที่ปรุงไม่สุก รวมถึงได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะที่ติดเชื้อ หรือการถ่ายเลือดที่ติดเชื้อค่ะ



กลุ่มเสี่ยงของผู้ติดเชื้อโรคทอกโซพลาสโมซิส

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเอดส์ 
  • เด็ก
  • หญิงมีครรภ์



โรคขี้แมว



อาการของโรคทอกโซพลาสโมซิสในคนที่ติดเชื้อ

อาการโดยเริ่มต้นของโรคขี้แมว อาจจะเริ่มต้นจากอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก ส่วนใหญ่แล้ว มักมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัด ได้แก่

  • มีไข้ 
  • ปวดเมื่อยตามตัว 
  • ปวดศีรษะ 
  • เจ็บคอ
  • อาจแสดงอาการรุนแรงได้ ถ้าโปรโตซัวทำลายกล้ามเนื้อ ระบบประสาท หัวใจ ปอด หรือตา 
  • เชื้ออาจทำให้หญิงมีครรภ์แท้ง และทำให้เด็กในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิด 
  • ในผู้ป่วยโรคเอดส์ อาจเกิดการติดเชื้อที่สมอง และทำให้เสียชีวิตได้



แต่ในขณะเดียวกัน ในสัตว์ที่ติดเชื้อโรคนี้ มักไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ให้เห็นอย่างชัดเจน แต่สามารถพบความรุนแรงได้ ในสัตว์ที่มีอายุน้อย หรือเพิ่งเกิด เช่น ในลูกหมาหรือลูกแมว โดยแมวอาจจะมีอาการปอดอักเสบ ระบบประสาทหรือตาเสีย ส่วนหมาเมื่อติดเชื้ออาจจะแสดงอาการชัก คอตก สั่น หรืออัมพาต แต่ในแกะที่เป็นสัตว์โตเต็มวัย มักจะพบการแท้งเป็นจำนวนมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 3 เดือน ท้องแข็งเป็นก้อน อันตรายหรือไม่? เกิดจากอะไร?

อันตรายจากโรคขี้แมว สู่แม่ตั้งครรภ์

อย่างที่บอกข้างต้น ในส่วนของผู้ติดเชื้อ สุขภาพของแม่ตั้งครรภ์ อาจจะไม่มีอาการที่เป็นอันตราย แต่การติดเชื้อจะส่งผลกระทบต่อเนื่อง ที่ส่งต่อถึงลูกในท้อง โดยอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อแม่ท้องติดเชื้อโรคขี้แมว ได้แก่

  • คุณแม่แท้งระหว่างคลอด
  • เด็กตัวเล็กกว่าปกติ
  • เด็กหัวโตผิดปกติ
  • เด็กมีความผิดปกติทางด้านการมองเห็น หรือการได้ยิน



การติดเชื้อโรคขี้แมวของแม่สู่ลูก จะเกิดขึ้นต่อเมื่อติดเชื้อครั้งแรกในขณะที่ตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ถ้าเพียงแค่มีประวัติเคยติดเชื้อ หรือไม่ได้เป็นขณะตั้งครรภ์ โรคนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์

โรคขี้แมว กับผลกระทบของทารกในครรภ์

การติดเชื้อใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มีโอกาสติดเชื้อโรคนี้มากที่สุด โดยพบว่า

  • 60% ของทารกที่ติดเชื้อ จะไม่พบอาการผิดปกติ 
  • 30% ของทารกที่ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรง หรือพิการแต่กำเนิด เช่น สมองบวมน้ำ มีการสะสมของแคลเซียมในสมอง การอักเสบของจอตาและประสาทตา อารมณ์ผิดปกติ เป็นต้น
  • 10% ของทารกที่ติดเชื้อจะเสียชีวิต



โรคขี้แมว



นอกจากนี้ยังพบว่า ทารกที่ติดเชื้อ หลังคลอดแล้ว 6-7 เดือน อาจจะตาบอด ปัญญาอ่อน มีปัญหาด้านการเรียนรู้ แต่ในบางเคสก็ไม่พบอาการรุนแรง หรือทารกบางคนแม้ได้รับเชื้อ ก็ไม่มีอาการผิดปกติ 



วิธีป้องกันโรคขี้แมว

สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงแมว โดยใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเป็นประจำ และเลี้ยงแมวระบบปิด อย่างไรก็ควรระมัดระวังในการอยู่ใกล้ชิดกับแมว และต้องเปลี่ยนคนดูแล เปลี่ยนคนเก็บขี้แมว และเปลี่ยนคนทำความสะอาดในช่วงตั้งครรภ์ คนที่มาดูแลแทน ก็ต้องดูแลความสะอาดให้ดี ใส่ถุงมือทุกครั้งที่ทำความสะอาด

แต่ในทางที่ดี สำหรับการเลี้ยงแมวเพื่อไม่ให้ติดโรค ควรเลี้ยงเป็นระบบปิด โดยให้แมวอยู่แต่ในบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือการหาอาหารกินจากข้างทางเอง เลี่ยงการให้แมวกินเนื้อดิบหรือปรุงไม่สุก 

การป้องกันไม่ให้ติดโรค

(โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกที่ไม่เคยติดเชื้อ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง)

  • ดื่มน้ำสะอาด
  • ไม่ดื่มนมดิบ
  • ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ ๆ หรือไม่สุกดี
  • ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  • ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสเนื้อดิบ
  • ล้างเครื่องครัวที่สัมผัสกับเนื้อดิบ ด้วยน้ำและสบู่
  • หลังจากการ ทำสวน ควรล้างมือให้สะอาด ควรสวมถุงมือขณะทำสวน



วิธีเลี้ยงแมวตอนท้องให้ปลอดภัย

  • หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรงดการเลี้ยงหรืออุ้มแมว รวมไปถึงการล้างถาดอุจจาระแมว
  • หากเลี้ยงแมว ควรมีกระบะให้แมวขับถ่ายและเปลี่ยนทุกวัน จากนั้นต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และสวมถุงมือทุกครั้ง
  • ห้ามให้อาหารเนื้อดิบ ๆ แก่แมว ควรเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารที่ทำให้สุก
  • หากจะซื้อแมวมาเลี้ยง แมวต้องอายุมากกว่า 1 ปีและสุขภาพแข็งแรง
  • ห้ามปล่อยให้แมวเข้าห้องครัว หรืออยู่ใกล้ภาชนะทำอาหาร
  • ควรเลี้ยงแมวให้ห่างจากสัตว์อื่น ๆ
  • ไม่ให้แมวของบ้านอื่น เข้ามาในเขตของบ้านเรา
  • ฝากญาติพี่น้อง เพื่อน หรือ โรงพยาบาลสัตว์เลี้ยง จนกว่าจะคลอดลูก



แต่ถ้าหากบ้านไหนที่เลี้ยงแมว และมั่นใจในระบบการเลี้ยงดู ก็ยังสามารถใช้ชีวิตไปพร้อมกันได้ค่ะ ตราบใดที่น้องไม่ได้หนีออกจากบ้าน และไปเผลอกินอาหารดิบ โดยที่แม่ท้องไม่รู้ น้องก็ยังสามารถอยู่ด้วยกันได้ โดยที่แม่ไม่ต้องเสี่ยงกับการติดเชื้อค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รู้ทัน อาการครรภ์เป็นพิษ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

มาดู น้ำตาลในเลือดผิดปกติ ภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กทารกแรกเกิด

ติดเชื้อหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนต่อแม่เด็ก สาเหตุสำคัญที่แม่ท้องเสียชีวิต!

ที่มา : 1