ลูกน้อย “ขาโก่ง” รักษาอย่างไร จำเป็นต้องดัดขาหรือไม่?

ขาโก่ง อาจเป็นภาวะที่ฟังดูไม่แรงร้ายหรือเป็นอันตรายใด ๆ คุณแม่หลายคนจึงเข้าใจว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อลูก 

 1050 views

ขาโก่ง อาจเป็นภาวะที่ฟังดูไม่แรงร้ายหรือเป็นอันตรายใด ๆ คุณแม่หลายคนจึงเข้าใจว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อลูกโตขึ้นก็จะหายไปเอง ทราบไหมคะ อาการขาโก่งนั้นอาจเป็นอันตรายกว่าที่คิด เพราะหากปล่อยไว้นาน ก็อาจทำให้ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และร่างกายของลูกได้ วันนี้ Mama Story จะพาคุณแม่ทุกท่าน ไปทำความเข้าใจกับภาวะขาโก่งให้มากขึ้น เพื่อให้คุณแม่ได้พร้อมรับมือกับอาการนี้ค่ะ

ขาโก่งคืออะไร?

ขาโก่ง (Bowed Legs) คือ อาการที่เข่าทั้งสองข้าง โค้งแยกออกจากกันเมื่อยืนเท้าชิดติดกัน ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 18 เดือน โดยอาการนี้จะดีขึ้น และหายไป เมื่อลูกเริ่มยืดขา และหัดเดิน โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา อย่างไรก็ตาม ขาโก่งอาจเป็นอาการที่เป็นสัญญาณของโรคเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ และหากปล่อยให้ลูกมีอาการขาโก่งในระยะยาว โดยที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา ก็อาจทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบบริเวณสะโพก และหัวเข่าตามมาได้

ขาโก่งเกิดจากอะไร?

โรคขาโก่ง สามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย โดยสาเหตุหลัก ๆ นั้น มีดังนี้

  • น้ำหนักเกิน : สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกเกิดอาการขาโก่ง คือการมีน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และมีรูปร่างอ้วนท้วน อาจทำให้กระดูกเกิดการกดทับบริเวณด้านใน จนทำให้เกิดอาการขาโก่งนั่นเอง
  • กรรมพันธุ์ : กรรมพันธุ์อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกขาโก่งได้ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยกว่าสาเหตุอื่น ๆ ทั้งนี้กรรมพันธุ์สามารถส่งผลให้กระดูกของลูกผิดรูป จนทำให้เกิดอาการขาโก่งตามธรรมชาติ
  • เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ : ขาโก่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยการขดตัวนอนของทารกในครรภ์ จนส่งผลให้ลูกมีลักษณะขาโก่งหรือโค้ง แต่อาการนี้ก็สามารถหายไปเองได้
  • ท่าทางการเดิน : จากการศึกษาพบว่า การเดินเร็วมีส่วนทำให้ลูกเกิดอาการขาโก่งได้ เพราะทารกยังไม่สามารถเดินได้อย่างคล่องแคล่ว และมั่นคง
  • กระดูกผิดรูป : หากลูกน้อยเคยหกล้ม หรือได้รับอุบัติเหตุจนกระดูกหัก และกระดูกผิดรูป ก็อาจส่งผลให้กระดูกเปลี่ยนไปจากเดิม จนเกิดอาการขาโก่งนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคมือ เท้า ปาก โรคระบาดใกล้ตัวเด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ขาโก่ง

โรคที่ทำให้เกิดขาโก่ง

นอกจากสาเหตุทางด้านร่างกาย และพฤติกรรมแล้ว ขาโก่งยังสามารถเกิดขึ้นได้จากโรคต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคเบล้าท์ โรคอ้วนในเด็ก โรคกระดูกอ่อน หรือโรคพาเจท ก็สามารถสร้างความเสี่ยงให้ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทั้งนี้โรคที่ส่งผลให้เกิดขาโก่ง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ โดยประกอบไปด้วย โรคดังต่อไปนี้

  • โรคเบล้าท์

เป็นโรคที่เกิดจากเด็กมีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป ทำให้กระดูกไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ ส่งผลให้เด็กเกิดอาการขาโก่ง ซึ่งอาการขาโก่งที่เกิดขึ้นนั้น จะปรากฏแค่ข้างเดียวเท่านั้น เนื่องจากเป็นความปกติของกระดูกส่วนหน้าแข้ง ดังนั้นหากคุณแม่พบว่ามีลูกมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษา

  • โรคอ้วนในเด็ก

โรคอ้วนในเด็กสามารถพบได้บ่อย เพราะเด็กส่วนใหญ่มีโอกาสเป็นได้ง่าย หากลูกมีน้ำหนักตัวที่เยอะเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นคุณแม่ควรจำกัดการกินอาหารของลูกไม่ให้มากจนเกิน เพราะอาจเสี่ยงให้เกิดอาการขาโก่ง โรคอ้วน และโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันพอกตับ เป็นต้น

  • โรคกระดูกอ่อน

โรคกระดูกอ่อนเกิดจากความผิดปกติของร่างกายในการสร้างกระดูก เนื่องจากการขาดวิตามิน และแร่ธาตุทำให้กระดูกไม่แข็งแรง แตกหักง่าย และไม่สามารถรองรับน้ำหนักร่างกายได้ อาจส่งผลให้เกิดโรคขาโก่ง หรือขางอได้ ซึ่งโรคนี้มักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนล้า ลุกนั่ง และเดินไม่สะดวกเท่าคนทั่วไป

  • โรคพาเจท

โรคพาเจท เป็นโรคกระดูกเรื้อรัง ที่เกิดจากกระบวนการสร้างกระดูกขึ้นใหม่ ส่วนใหญ่แล้วมักพบบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และกระดูกขา ซึ่งโรคพาเจทมักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 35-40 ปีขึ้นไป ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับเด็ก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดบริเวณที่เป็นโรค หากปล่อยไว้นานก็อาจเสี่ยงต่อโรคเข่าโก่ง และข้อเข่าเสื่อมได้

ภาวะแทรกซ้อนของอาการขาโก่ง

หากผู้ป่วยมีอาการขาโก่ง และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดขาโก่งในระยะยาว และทำให้เกิดข้ออักเสบที่บริเวณหัวเข่า และข้อสะโพกได้ หากผู้ป่วยมีภาวะอ้วนร่วมด้วย ก็อาจเพิ่มความรุนแรง และความเจ็บปวดมากขึ้นอีก ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องสังเกตอาการ รวมทั้งไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และรักษาต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม สาเหตุ อาการ และการป้องกัน

ขาโก่ง

ขาโก่งรักษาอย่างไร?

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการแพทย์ ที่ช่วยรักษาขาโก่งที่เกิดขึ้นกับลูกได้เป็นอย่างดี โดยสามารถแบ่งวิธีการรักษาได้ ดังต่อไปนี้

  • การบริหารกล้ามเนื้อ

หากลูกมีอาการขาโก่งที่ไม่รุนแรงมาก การบริหารกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่สามารถรักษาได้อย่างง่าย ๆ และสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการบริหารกล้ามเนื้อนั้นจะเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และจัดกระดูกให้เข้ารูป โดยคุณสามารถให้ลูกแยกปลายเท้าออกจากกันประมาณ 45 องศา ขณะที่ส้นเท้ายังชิดกัน จากนั้นดัดตัวให้ตรงเป็นเวลา 5 นาที วันละ 3 ครั้ง ก็จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อลูกได้ค่ะ

  • ปรับท่าทางการเดิน

การปรับท่าทางการเดินช่วยแก้อาการขาโก่งให้ลูกได้เป็นอย่างดี คุณแม่สามารถให้ลูกน้อยเดินให้ปลายเท้าชี้ไปด้านหน้า หลีกเลี่ยงการยืนแบบขาโก่ง วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร เพื่อให้กระดูกสามารถปรับรูปได้เหมาะสมกับสภาพร่างกายมากที่สุด

  • การผ่าตัด

การผ่าตัด ถือเป็นการรักษาที่สามารถแก้อาการขาโก่งได้อย่างแน่นอน เพราะจะช่วยให้กระดูกบริเวณใต้เข่ากลับมาตรงได้ โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดแต่งกระดูกให้เข้ารูป จากนั้นจะปล่อยให้กระดูกกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม ทั้งนี้การผ่าอาจต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานเป็นพิเศษ ผู้ป่วยจะต้องใช้ไม้เท้า และการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์ที่สุด

เคล็ดการป้องกันขาโก่ง

ขาโก่งสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ก็จะช่วยป้องกันโรคขาโก่งเป็นอย่างดี

  • รับประทานอาหารที่มีโภชนาการ

การรับประทานอาหารที่มีโภชนาการ 5 หมู่ โดยเฉพาะวิตามินดี ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงได้ อีกทั้งยังช่วยให้พลังงาน และเสริมสร้างระบบร่างกายให้แข็งแรง ไม่เกิดอาการขาโก่ง

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

เมื่อออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ และกระดูก มีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง และป้องกันไม่ให้เกิดโรคขาโก่งตามมา

  • บำรุงด้วยแคลเซียม และวิตามิน

แคลเซียม และวิตามิน ถือเป็นสิ่งสำคัญในการบำรุงกระดูกเป็นอย่างมาก เพราะกระดูกที่เปราะบางจะไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ จึงส่งผลให้เกิดอาการขาโก่งนั่นเอง ดังนั้นการบำรุงร่างกายด้วยแคลเซียม และวิตามิน จะช่วยให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันไม่ให้ลูกขาโก่งนั่นเอง

ขาโก่ง สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากลูกมีอาการขาโก่งในช่วงแรกเกิด คุณแม่อาจไม่ต้องกังวลใจนะคะ เพราะขาของลูกจะค่อย ๆ เริ่มยืดออกได้เอง ทั้งนี้หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการขาโก่งเป็นเวลานาน ไม่มีท่าทีกลับมาขาตรง อาจต้องไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป ซึ่งนั่นจะช่วยให้ลูกได้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ พร้อมสำหรับการเรียน และการทำกิจกรรมในอนาคตได้ค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค?

โรคหัด คืออะไร อันตรายหรือไม่ หากลูกเป็นโรคหัดควรทำอย่างไร?

ทารก “ท้องอืด” เกิดจากสาเหตุใด คุณแม่รับมือกับอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง?

ที่มา : 1, 2, 3