ภาวะขาดน้ำในทารก อาการ และความเสี่ยงที่ต้องระวัง

ภาวะขาดน้ำในทารก หรือเด็กเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เนื่องจากพบได้ง่ายกว่าวัยผู้ใหญ่ และอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ด้วย เนื่อง 

 979 views

ภาวะขาดน้ำในทารก หรือเด็กเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เนื่องจากพบได้ง่ายกว่าวัยผู้ใหญ่ และอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ด้วย เนื่องจากเด็กทารกอาจไม่สามารถสื่อสารได้โดยตรง ผู้ปกครองจึงควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความเสี่ยง และสามารถพาลูกน้อยไปรักษาได้ทัน

ภาวะขาดน้ำในทารกคืออะไร ?

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย เนื่องจากร่างกายต้องการใช้น้ำเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน หรือการดำรงชีวิตอยู่ เช่น การหายใจ การออกกำลังกาย หรือการขับถ่าย เป็นต้น หากร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จะส่งผลต่อการทำงานของสมอง ,เสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ และรุนแรงที่สุดถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าจะพบได้ในทุกวัย แต่ภาวะนี้สามารถพบได้มากในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อาจไม่สามารถสื่อสารได้โดยตรง การคอยสังเกตอาการของลูกน้อย หรือทารกจึงสำคัญมากต่อการรับมือ

ทารกควรกินน้ำแค่ไหนใน 1 วัน ?

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มักพบเจอกับอากาศร้อน ยิ่งในเฉพาะฤดูร้อน ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับปริมาณน้ำที่ลูกจะต้องได้รับใน 1 วัน ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างทารก และลูกน้อยอายุ 1 ปีขึ้น ดังนี้

  • วัย 0 – 1 ปี : ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้ระหว่าง 120 – 150 CC เทียบเป็นน้ำประมาณค่อนแก้ว / น้ำหนักตัวของทารก 1 กิโลกรัม
  • วัย 1 ปีขึ้นไป : มีความต้องการน้ำ เทียบกับน้ำหนักตัว จะมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าช่วงทารก เช่น เด็กอายุ 6 ปี มีน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ต้องการน้ำประมาณ 1500 CC ซึ่งคิดเป็น 75 CC / น้ำหนักตัวของเด็ก 1 กิโลกรัม


บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายกว่าที่เราคิด

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

อาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อย หรือทารกกำลังขาดน้ำ

การขาดน้ำสำหรับเด็กมีสาเหตุมาจากขับถ่าย, ร้องไห้ หรือเหงื่อออก และการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ประกอบกับประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อน จึงยิ่งทำให้เด็กเล็ก หรือทารกมีความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นได้ ให้สังเกตอาการ ดังต่อไปนี้

  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะได้น้อยลง (เปลี่ยนผ้าอ้อมไม่เกิน 6 ครั้ง)
  • เมื่อทารกร้องไห้ จะไม่มีน้ำตาไหลออกมา
  • ผิวหนังแห้ง และเย็น
  • มีอาการซึม ไม่ยอมเล่น ง่วงนอนตลอดเวลา
  • มีกระหม่อมบุ๋มในทารกหัดเดิน


หากลูกน้อยขาดน้ำ จากอาการท้องเสีย จะสามารถสังเกตได้จากอุจจาระที่เหลว หากร่างกายขาดน้ำจากการดื่มน้ำน้อย หรือการอาเจียน จะทำให้ลูกน้อยขับถ่ายได้น้อยลงด้วย

อาการขาดน้ำที่ต้องพาไปพบแพทย์โดยด่วน

นอกจากอาการทั่วไปที่ต้องคอยสังเกตแล้ว ยังมีอาการ ที่เป็นสัญญาณของภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ต้องรีบพาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ และรักษาโดยด่วนก่อนเกิดอันตราย ได้แก่

  • ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยลง และมีสีเข้ม
  • หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว และหอบ
  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ผิวหนังแห้ง และเหี่ยวย่น
  • มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง
  • สูญเสียการรับรู้ ไม่สามารถสื่อสารได้ในเด็กเล็ก
  • ตาลึก หรือตาโหล


ภาวะขาดน้ำในทารก


ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดน้ำ

การที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป สามารถเกิดผลกระทบต่อระบบขับถ่าย เช่น การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ, เกิดภาวะความผิดปกติในไต เช่น นิ่วในไต หรือไตวาย, มีอาการชัก เพราะแร่ธาตุในร่างกายขาดสมดุล, กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวจนอาจหมดสติได้ และภาวะช็อกจากปริมาตรเลือดต่ำ ที่อาจทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้

ไม่อยากให้ลูกเสี่ยงภาวะขาดน้ำควรทำอย่างไร ?

  • ให้เด็กดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ หากร่างกายสูญเสียน้ำจากท้องเสีย หรืออาเจียนได้
  • ในเด็กทารกที่ต้องกินนม อาจให้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ระหว่างการให้นม
  • สำหรับเด็กเล็กยังสามารถป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำ 8 – 12 แก้ว / วัน สามารถดื่มมากขึ้นได้หากต้องทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออก
  • ดูแลให้ลูกน้อยรับวัคซีนอย่างครบถ้วน เพื่อลดโอกาสเกิดโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้ท้องเสีย หรือถ่ายบ่อย
  •  ดูแลความสะอาด สุขอนามัยในการทานอาหาร เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน


หากพบอาการผิดปกติในทารก ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการรุนแรง ควรรีบพาทารกเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันภาะแทรกซ้อนอันตราย และอาการช็อก หรือหมดสติ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคไข้เลือดออก ภัยร้ายของลูกตัวน้อยโอกาสเป็นซ้ำได้ถึง 4 ครั้ง

ไวรัส RSV การติดเชื้อรุนแรงในเด็กที่ห้ามมองข้าม

โรคมือ เท้า ปาก โรคระบาดใกล้ตัวเด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ที่มา : 1, 2