สังกะสี ดีต่อแม่ท้องอย่างไร กินปริมาณเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย ?

สังกะสี Zinc (ซิงค์) ถือเป็นแร่ธาตุอีกหนึ่งชนิดที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ ซึ่งสังกะสี Zinc (ซิงค์) นั้นอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย ที่จะทำ 

 1472 views

สังกะสี Zinc (ซิงค์) ถือเป็นแร่ธาตุอีกหนึ่งชนิดที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้ ซึ่งสังกะสี Zinc (ซิงค์) นั้นอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย ที่จะทำให้ระบบการทำงานของต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณแม่ไปคลายข้อสงสัยกันค่ะว่าคนท้องสามารถกิน สังกะสี Zinc (ซิงค์) ได้ไหม หากกินไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ มาตามไปดูพร้อมกันเลย

ทำความรู้จักสังกะสี Zinc (ซิงค์)

สังกะสี หรือ Zinc (ซิงค์) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เนื่องจากจัดเป็นแร่ที่ร่างกายต้องการชนิดหนึ่ง ซึ่งแร่ธาตุชนิดนี้จะช่วยบำรุงปัญหาเรื่อง ผม ผิว สิว หรือเล็บ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แร่ธาตุชนิดนี้ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจำพวก Zinc เข้าไป ซึ่งอาหารที่มี Zinc (ซิงค์) สูง ก็จะมี หอยนางรม, เมล็ดทานตะวัน, เห็ด, เนื้อสัตว์, จมูกข้าว, เมล็ดงา, ข้าวกล้อง, ถั่วลิสง, ปลา, เห็ด, เมล็ดฟักทอง, ธัญพืช และผักโขม เป็นต้น

สังกะสี

สังกะสี Zinc (ซิงค์) ดีต่อแม่ท้องอย่างไร ?

สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ สังกะสี ถือเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ของทารกในครรภ์มาก ๆ ถ้าหากขาดสังกะสี ก็อาจทำให้เกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้า ดังนั้นเพื่อสุขภาพครรภ์ที่สมบูรณ์ คุณแม่ท้องควรกินสังกะสี วันละ 15 มิลลิกรัม จะเป็นปริมาณที่เหมาะสมและดีต่อร่างกายที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : แคลเซียมแม่ท้อง สารอาหารที่ร่างกายคุณแม่ผลิตเองไม่ได้

ประโยชน์ของแร่ธาตุสังกะสี Zinc (ซิงค์)

  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สังกะสีจะช่วยต้านการเพิ่มขึ้นของปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย และหยุดการเจริญของ และยังช่วยลดการอักเสบอีกด้วย
  • ช่วยป้องกันหวัด เมื่อเป็นหวัดสังกะสีจะช่วยลดความรุนแรงของอาการเป็นหวัด ยิ่งทานซิงค์ร่วมกับวิตามินซีเป็นประจำ ก็จะยิ่งช่วยป้องกันหวัดได้
  • ช่วยรักษาสิว ซิงค์จะช่วยรักษาสมดุลของปริมาณไขมันตามรูขุมขน อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว
  • ช่วยลดผมร่วง บำรุงผม และเล็บ สังกะสีถือเป็นแร่ธาตุที่จะช่วยซ่อมแซมผมและเล็บที่อ่อนแอให้เจริญเติบโตและแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสการหลุดร่วงของเส้นผมได้
  • ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชาย สังกะสีจะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงเพิ่มจำนวนและการเคลื่อนไหวของอสุจิได้อย่างชัดเจน
  • ช่วยให้ต่อมลูกหมากทำงานได้เป็นปกติ
  • ช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ลดระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากและมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ช่วยสร้างโปรตีนและคอลลาเจน
  • ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก
สังกะสี

สิ่งที่ต้องระมัดระวังเมื่อรับประทานสังกะสี Zinc (ซิงค์)

การที่จะทานอาหารเสริมสังกะสีควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพราะสำหรับบางคนอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น มีอาการคลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, ปวดท้อง เป็นต้น ดังนั้นหากจะทานสังกะสี ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรกินในปริมาณที่สูงเกินไป และหากไม่มั่นใจว่าตัวเองควรทานในปริมาณเท่าไหร่ ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องกิน วิตามินซี ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ ?

 

ภาวะการขาด Zinc (ซิงค์) เกิดจากอะไร ?

เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเกิดจาก การทานอาหารที่มี Zinc น้อย หรืออาจจะพบได้จากทารกที่ดื่มนมจากแม่ที่ได้รับ Zinc (ซิงค์) ไม่เพียงพอ หรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันบางประเภท ซึ่งลักษณะอาการของคนที่ขาด Zinc (ซิงค์) ก็จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • การเจริญเติบโตและการพัฒนาของร่างกายผิดปกติ เช่น พัฒนาการเจริญเติบโตจะมีความล่าช้า 
  • สูญเสียการรับรส และกลิ่น ทำให้เกิดการเบื่ออาหาร
  • สมรรถภาพทางเพศลดลงโดยเฉพาะในเพศชาย
  • จะมีอาการผมร่วงมากกว่าปกติ
  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • เล็บแตกหักง่าย
  • ผิวพรรณแห้งกร้าน
  • ท้องเสียเรื้อรัง

สังกะสี Zinc (ซิงค์) ถือเป็นแร่ธาตุที่มีสารพัดประโยชน์ที่หลากหลาย ที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ไม่ชอบทานสังกะสี Zinc (ซิงค์) ในรูปแบบอาหารเสริม ก็สามารถเลือกทานอาหารอุดมด้วยแร่ธาตุสังกะสีก็ได้เช่นเดียวกันนะคะ เพื่อที่ทารกในครรภ์จะได้มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง และมีพัฒนาการที่ดี สำหรับการทาน สังกะสี Zinc (ซิงค์) ให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะต้องทานในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะถ้าหากทานมากไปก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ หากไม่มั่นใจเรื่องของปริมาณการทาน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยค่ะ  

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

วิตามินเออันตรายต่อคนท้องจริงไหม ทารกจะเสี่ยงพิการจริงหรือ ?

แม่ต้องรู้! ธาตุเหล็กสำหรับคนท้อง ส่งผลดีต่อลูกอย่างไร?

ไอโอดีนคนท้องต้องระวัง ขาดเมื่อไหร่อันตรายกว่าที่คิด !

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4