มะเร็งเต้านม โรคร้ายใกล้ตัวผู้หญิง สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

มะเร็งเต้านม เป็นโรคร้ายที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ในระยะเริ่มต้น ทำ 

 1130 views

มะเร็งเต้านม เป็นโรคร้ายที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ในระยะเริ่มต้น ทำให้สาว ๆ หลายคน อาจชะล่าใจที่จะตรวจพบโรคนี้ อย่างไรก็ตามหากเราตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และทำการรักษาได้ทันท่วงที ก็จะสามารถหายขาดจากโรคนี้ได้ วันนี้ Mamastory จึงรวบรวมข้อมูลดี ๆ มาส่งต่อให้คุณแม่ทุกคน ได้รู้ทันภัยอันตรายนี้ค่ะ

มะเร็งเต้านม คืออะไร?

มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ในท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนม โดยเซลล์เหล่านี้จะมีการแบ่งตัวแบบผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมได้ จนทำให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็ง และแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือ และเซลล์อื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ กระดูก ตับ ปอด และสมอง เป็นต้น มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง แต่จะพบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก และมักพบบ่อยกับผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่หรือกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่ เช่นเดียวกัน

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร?

  • อายุ : เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการผิดปกติในเซลล์จนอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งนี้ได้
  • เพศ : ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 100 เท่า แต่ก็สามารถพบได้ในเพศชายด้วยเช่นกัน
  • เชื้อชาติ : มีการวิจัยพบว่าผู้ที่ตะวันตกอาจมีความเสี่ยงสูงมากกว่าผู้หญิงเอเชีย
  • กรรมพันธุ์ : หากครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากกว่าเดิม
  • มีประจำเดือนเร็วหรือหมดประจำเดือนช้า : การมีประจำเดือนในอายุน้อย โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้ที่หมดประจำเดือนช้า อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือมีโปรเจสเตอโรนนานกว่าผู้หญิงทั่วไป
  • เต้านมมีเนื้อเยื่อแน่น : การมีต่อมน้ำนมมากกว่าผู้หญิงทั่วไป อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากขึ้น
  • ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย : สาว ๆ ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยดื่มมากกว่า 2-5 แก้วต่อวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่มถึง 1.5 เท่า
  • น้ำหนักเกิน : ภาวะอ้วนอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม รวมถึงโรคหัวใจ และโรคเบาหวานด้วย
  • ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : คุณแม่ที่ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง อาจทำให้ไม่มีประจำเดือนมา จนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมได้

ระยะของ มะเร็งเต้านม

ระยะของโรคมะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อ และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • ระยะเริ่มต้น : เป็นระยะที่พบเซลล์ผิดปกติในเนื้อเยื่อเต้านม และก้อนเนื้อเล็ก ๆ แต่ยังไม่พบการลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • ระยะที่ 2 : เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ แต่อาจไม่พบก้อนเนื้อ แต่พบเซลล์มะเร็งแทน
  • ระยะที่ 3 : ในระยะนี้เนื้อเยื่อเต้านม ถูกมะเร็งทำลายเป็นบริเวณที่กว้างขึ้น และก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นมากกว่าเดิม มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองจำนวนมาก
  • ระยะสุดท้าย : ในระยะนี้เซลล์มะเร็ง จะมีการ่แพร่กระจายเข้าหลอดเลือด ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งเป็นระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

อาการของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก แต่หากเกิดความเปลี่ยนกับเต้านม หรือคลำพบก้อนเนื้อในเต้านม และรักแร้ อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งนี้ได้ ดังนั้นหากคุณแม่ตรวจพบเจออาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที

  • คลำเจอก้อนแข็ง ๆ ในเต้านม
  • เห็นรอยรูขุมขนบนผิวเต้านมชัดขึ้น 
  • มีรอยบุ๋มบริเวณเต้านม
  • หัวนมบุ๋ม
  • มีเลือดไหลออกจากหัวนม
  • เกิดความผิดปกติกับเต้านมเพียงข้างเดียว
  • มีความเปลี่ยนแปลงของผิวเต้านม เช่น มีก้อนขรุขระ หรือมีแผลที่รักษาไม่หาย

วิธีการตรวจมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบในระยะเริ่มต้น ทั้งนี้วิธีการตรวจที่จำช่วยให้เราวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมได้ มีดังนี้

1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ผู้หญิงสามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง โดยควรตรวจหลังจากประจำเดือน ก็จะช่วยลดความตึง และทำให้คลำได้ง่ายกว่าช่วงเวลาอื่นของเดือน สำหรับขั้นตอนการตรวจให้คุณแม่ยื่นหน้ากระจก และปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


  • ขั้นตอนแรก : สำรวจเต้านมหน้ากระจก เพื่อดูว่าเต้านมทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ผิวเต้านมมีรอบบุ๋มหรือมีผลผิดปกติอย่างไร หัวนมอยู่ในระนาบเดียวกันหรือไม่ และบุ๋มลงไปแบบผิดปกติหรือเปล่า
  • ขั้นตอนที่ 2 : นอนราบ และใช้มือคลำ โดยเอาแขนด้านที่จะตรวจรองคอไว้ และเอาผ้าเล็ก ๆ มารองบริเวณไหล่ก็จะช่วยให้ตรวจง่ายขึ้น สาว ๆ สามารถคลำวนเป็นก้นหอย หรือคลำเป็นตามที่ตัวเองถนัด หากสัมผัสแล้วเจอก้อนสะดุดมือผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • ขั้นตอนสุดท้าย : บีบหัวนมดูว่ามีเลือดหรือของเหลวไหลออกมาผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุต่อไป

2. การตรวจเต้านมด้วยแพทย์

สำหรับสาว ๆ ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง เพื่อตรวจหาว่ามีความปกติกับเต้านมหรือไม่ รวมทั้งในกรณีที่คุณแม่ตรวจเต้านมด้วยตัวเองแล้วเจอความผิดปกติ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอีกครั้ง

3. การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม

วิธีการนี้จะช่วยให้แพทย์ได้เห็นความผิดปกติของเต้านมชัดเจนขึ้น โดยเป็นการใช้เครื่องแมมโมแกรมที่เป็นเครื่องเอกซเรย์แบบพิเศษ ที่สามารถตรวจความผิดปกติ และบ่งชี้มะเร็งได้ โดยอาจตรวจเจอก้อนแข็ง หรือหินปูนแบบละเอียดที่อยู่ในเต้านม เป็นต้น การตรวจประเภทนี้จะตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และเป็นการอัลตราซาวนด์เต้านมเพื่อดูให้ละเอียดมากขึ้น นอกจากนี้เครื่องแมมโมแกรมยังสามารถตรวจดูความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ได้อีกเช่นกัน

อาการแทรกซ้อนจากมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมอาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เนื่องมาจากการที่ร่างกายอ่อนแอลง ผู้ป่วยอาจรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หรือมีภาวะบวมน้ำเหลือง จนอาจทำให้ท่อน้ำเหลืองเกิดการอุดตันจนเกิดเป็นรอยคลั่งบริเวณนั้น นอกจากนี้ยังอาจแพร่กระจายไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจนทำให้เกิดการลุกลามที่เป็นอันตรายได้

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม รักษาได้อย่างไร?

ผู้ป่วยสามารถรักษามะเร็งเต้านมได้ด้วยการผ่าตัด การรักษาด้วยฮอร์โมน การฉายรังสี หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัด เป็นต้น โดยแต่ละวิธีจะมีข้อดี ข้อเสีย และผลเคียงข้างแตกต่างกันไป แพทย์สามารถใช้วิธีการรักษาวิธีเดียว หรือหลายวิธีด้วยกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ และความต้องการของผู้ป่วยค่ะ สำหรับการรักษามะเร็งเต้านม สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีใหญ่ ดังนี้

  • การรักษาเฉพาะที่ : เป็นการนำก้อนมะเร็งออกจากร่างกาย เพื่อควบคุมรอยโรคที่เต้านม และรักแร้ เช่น การผ่าตัด และการฉายรังสี เป็นต้น
  • การรักษาที่ครอบคลุมรอยโรคทั้งร่างกาย : เป็นการใช้เคมีบำบัด หรือยาต้านฮอร์โมน ที่จะช่วยควบคุมเซลล์มะเร็งไม่ให้กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

วิธีป้องกันมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำทุกเดือน โดยอาจเริ่มตรวจตั้งแต่อายุยังน้อย และเข้ารับการตรวจจากแพทย์เป็นครั้งคราว ขณะเดียวกันผู้ที่อยู่ในความเสี่ยงควรเข้าตรวจจากแพทย์ปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการชัดเจนในช่วงแรก ดังนั้นการเข้าพบแพทย์ในระยะแรก และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงให้เกิดโรคร้ายนี้ จะช่วยลดโอกาสการเกิด และสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที

ในประเทศไทย มะเร็งเต้านม ถือเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยสุดในเพศหญิงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งปากมดลูก โดยมีการคาดการณ์ว่าในอนาคตอาจมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นสาว ๆ จึงไม่ควรมองข้ามการตรวจมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น ทั้งการตรวจด้วยตนเอง และการไปพบแพทย์ เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้มากขึ้นค่ะ

บทความที่น่าสนใจ :

โรคคอตีบ คืออะไร ป้องกันลูกน้อยอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค?

รู้ทัน “วัณโรค” โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

โรคโปลิโอในเด็ก กลุ่มอาการรุนแรงมากที่สุด ป้องกันอย่างไร ?

ที่มา : 1, 2, 3