ท้องนอกมดลูก เกิดจากอะไร อาการแบบไหนเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก?

ท้องนอกมดลูก หนึ่งในภาวะผิดปกติของการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วการท้องนอกมดลูกมักเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่หลายคนอ 

 1257 views

ท้องนอกมดลูก หนึ่งในภาวะผิดปกติของการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วการท้องนอกมดลูกมักเกิดขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าตัวเองตั้งท้อง ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ก็อาจเกิดอันตรายต่อคุณแม่ และเด็กได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างดี วันนี้เราจึงมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับการท้องนอกมดลูก มาฝากค่ะ

ท้องนอกมดลูก คืออะไร?

ภาวะท้องนอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ ภาวะที่ไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มแล้วกลายเป็นตัวออกฝังอยู่นอกผนังมดลูก โดยมักเกิดขึ้นบริเวณปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นทารกได้ หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดเนื้อเยื่อซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ท่อนำไข่ และเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ คุณแม่จึงควรสังเกตสัญญาณของการตั้งครรภ์นอกมดลูก โดยหากมีอาการเลือดไหลออกจากช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน ปวดไหล่ คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม หรือช็อก ควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

ท้องนอกมดลูก

สาเหตุของการท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูกมักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังจากไข่ผสมกับสเปิร์ม ซึ่งไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว จะอยู่ในท่อนำไข่ 3-4 วัน ก่อนจะเคลื่อนเข้าไปฝังตัวในผนังมดลูกแล้วเกิดเป็นตัวอ่อน เจริญเติบโตอยู่ในมดลูกเรื่อย ๆ แต่สำหรับการท้องนอกมดลูก จะเกิดจากไข่ที่ผสมกับสเปิร์มแล้วไม่เคลื่อนตัวไปยังรังไข่ แต่ฝังตัวอยู่บริเวณท่อนำไข่ หรืออวัยวะอื่น ๆ เช่น รังไข่ ปากมดลูก พื้นที่ว่างในช่องท้อง และอื่น ๆ นอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้ไข่ที่ผสมแล้ว ไม่เคลื่อนตัวไปฝังยังมดลูก ได้แก่

  • เคยทำหมัน
  • การใส่ห่วงคุมกำเนิด
  • มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ท่อนำไข่ได้รับความเสียหาย
  • เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน
  • การใช้ยา หรือการทำเด็กหลอดแก้ว
  • มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนในการตั้งครรภ์
  • ความผิดปกติของการพัฒนาไข่หลังการปฏิสนธิ
  • มดลูกอักเสบ อุ้งเชิงกรานอักเสบ ท่อนำไข่อักเสบ หรือรังไข่อักเสบ

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการท้องนอกมดลูก

แม้ว่าคุณแม่ทุกคน อาจมีโอกาสในการเกิดภาวะท้องนอกมดลูก แต่ก็ยังมีผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหลายคน ที่อาจเกิดภาวะการท้องมดลูกได้มากกว่าผู้หญิงทั่วไป ตัวอย่างเช่น

  • ผู้ที่เคยผ่าตัดบริเวณท่อนำไข่
  • ผู้ที่มีประวัติการท้องนอกมดลูก
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของท่อนำไข่
  • ผู้ที่เคยมีประวัติการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุมากหรือราว ๆ 35-44 ปี


ท้องนอกมดลูก อาการเป็นอย่างไร?

อาการท้องนอกมดลูกมักไม่ปรากฏในระยะแรกของการตั้งครรภ์ อาจมีอาการที่คล้ายสัญญาณการตั้งครรภ์ทั่วไป แต่หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้มีอาการป่วยรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยควรรีบเข้ารักษาจากแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่ท่อนำไข่ได้ โดยอาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยท้องนอกมดลูก มีดังนี้

  • เจ็บหน้าอก
  • เกิดอาการช็อก
  • ประจำเดือนไม่มา
  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
  • ปวดคอ ปวดไหล่ และปวดบริเวณทวารหนัก
  • หน้ามืด เป็นลม มีอาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
  • มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย หรือจำนวนมาก

ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก

สำหรับผู้ป่วยการท้องนอกมดลูกที่ได้รับการรักษา และตรวจวินิจฉัยได้อย่างทันท่วงที อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ หากได้รับการตรวจวินิจฉัยช้าเกินไป เพราะท่อนำไข่ และบริเวณที่ไข่ฝังตัวอาจเกิดความเสียหาย หรือการติดเชื้อ จนทำให้ผู้ป่วยเกิดการตกเลือด ภาวะช็อก ภาวะเลือดแข็งตัวแบบแพร่กระจาย ตลอดจนนำไปสู่การเสียชีวิตตามมาได้

การรักษาการท้องนอกมดลูก

ผู้ป่วยที่ตรวจพบเจอการท้องนอกมดลูก ควรได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพ และการเจริญพันธุ์ในอนาคต เพราะตัวอ่อนที่ฝังอยู่นอกมดลูกจะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นทารกได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องนำตัวอ่อนนั้นออกไป โดยการรักษาการท้องนอกมดลูกจะขึ้นอยู่กับการพัฒนาการของตัวอ่อนที่ฝังตัวแล้ว โดยแพทย์จะใช้วิธีการรักษา ดังต่อไปนี้

  • การใช้ยา : เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัว กลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญเติบโตได้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยยาจะใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์นั่นเอง โดยแพทย์อาจจะฉีดยาให้ผู้ป่วย แล้วค่อยตรวจเลือดเพื่อดูการรักษา ซึ่งการใช้ยาชนิดนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น การปวดเกร็งบริเวณหน้าท้อง หรือมีเลือด และเนื้อเยื่อไหลออกจากช่องคลอดนั่นเอง
  • การผ่าตัด : ในส่วนของการผ่าตัด แพทย์จะใช้กล้องในการผ่าตัด โดยจะสร้างรูเล็ก ๆ แล้วนำเครื่องมือสอดเข้าไปในรู ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการผ่าตัดได้ โดยการนำตัวอ่อนที่ฝังตัวนอกมดลูกออกไป ทั้งนี้หากเนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก แพทย์อาจต้องผ่าตัดท่อนำไข่ออกไป
  • การรักษาภาวะอื่น ๆ : นอกจากการรักษาการท้องนอกมดลูกแล้ว ในบางกรณีอาจต้องรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นด้วย เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือด หรือภาวะอักเสบติดเชื้อ

ท้องนอกมดลูก

หลังการรักษาสามารถตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่?

ผู้ป่วยที่เกิดการท้องนอกมดลูก สามารถตั้งครรภ์ในภายหลังได้ โดยอาจต้องปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะผู้ที่เคยท้องนอกมดลูกนั้น อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกครั้ง ทั้งนี้คุณแม่ควรใช้วิธีการคุมกำเนิด และรอให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวประมาณ 3-6 เดือน แล้วค่อยวางแผนในการมีบุตรอีกครั้งค่ะ

การป้องกันการท้องนอกมดลูก

การท้องนอกมดลูกเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายในช่องท้อง และระบบสืบพันธุ์ที่จะนำไปสู่การท้องนอกมดลูก รวมทั้งอาการป่วยที่จะเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน โดยวิธีการลดความเสี่ยงจากอาการท้องนอกมดลูก ตัวอย่างเช่น

  • งดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่อาจมีความเสี่ยงสูงในการท้องนอกมดลูก
  • ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้ออักเสบบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • สังเกตอาการที่อาจเป็นสัญญาณ และเข้ารับการตรวจ เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
  • วางแผนการดูแลครรภ์ โดยปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตั้งครรภ์

แม้ว่าการ ท้องนอกมดลูก อาจเป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่คุณแม่สามารถป้องกันความเสี่ยงได้โดยการงดสูบบุหรี่ หรือมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหาย และลดโอกาสในการท้องนอกมดลูกได้เป็นอย่างดี แต่หากคุณแม่มีอาการเสี่ยงในการเป็นภาวะนี้ ควรรีบไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคต่อไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มะเร็งเต้านม โรคร้ายใกล้ตัวผู้หญิง สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ซิฟิลิส โรคร้ายที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางทางพันธุกรรม สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ที่มา : 1, 2, 3