7 วิธีแก้เมื่อ ลูกหวงของ ให้มีน้ำใจ เป็นเด็กชอบแบ่งปัน

มีคนมายืมของเล่นลูก ลูกโวยวาย อาละวาด ไม่มีน้ำใจ สาเหตุที่ทำให้ลูกหวงของเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสอนให้ลูกเข้าใจในส 

 1423 views

มีคนมายืมของเล่นลูก ลูกโวยวาย อาละวาด ไม่มีน้ำใจ สาเหตุที่ทำให้ลูกหวงของเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสอนให้ลูกเข้าใจในสิทธิของตนเอง และความเป็นเจ้าของ รวมถึงการแบ่งปัน เพื่อให้ลูกสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นปกติ

สาเหตุที่ทำให้ลูกหวงของ เกิดจากอะไร ?

เด็กที่มีอายุเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมหวงสิ่งของสามารถพบเจอได้เป็นปกติ เพราะต้องพึ่งการรับรู้ และขัดเกลาจากผู้ปกครอง โดยเด็กอายุ 3 – 5 ปี จะเป็นวัยที่มีโอกาสห่วงสิ่งของมากที่สุด เพราะเริ่มเจอกับสังคมใหม่ ๆ ที่โรงเรียนอนุบาล โดยสาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กไม่สามารถปรับตัวในการแบ่งปันสิ่งของกับผู้อื่นได้ มีหลายสาเหตุ เช่น

  • สิ่งของชิ้นนั้นอยู่กับลูกตลอด ไม่ได้ห่างกายลูกเลย ทำให้เมื่อต้องห่างจากสิ่งของนั้น เช่น มีคนมาขอยืม จะทำให้ลูกแสดงอาการต่อต้าน หรือทะเลาะกับผู้อื่น
  • ความเข้าใจที่เกิดจากบุคคลรอบข้าง คือ เห็นว่าคนอื่น ๆ ในบ้านมีสิ่งของที่เอาไว้ใช้ ของชิ้นนั้นของพ่อ ของชิ้นนี้ของแม่ จึงเข้าใจว่าของที่ติดตัวเป็นของตนเอง ไม่อยากให้คนอื่นเอาไปใช้
  • เลียนแบบมาจากคนภายในครอบครัว หากคนในครอบครัวมีพฤติกรรม ไม่ชอบแบ่งปัน แสดงความไม่มีน้ำใจออกมา ลูกจะจดจำและนำไปทำตามได้
  • ไม่ได้ฝึกเตรียมตัว หรือเรียนรู้ในเรื่องนี้มาก่อน ทำให้เด็กไม่รู้ว่าควรทำตัวแบบไหน เมื่อมีคนมายืมของ หรือต้องไปขอยืมของคนอื่น


บทความที่เกี่ยวข้อง : เมื่อลูกน้อยงอแง ไม่อยากไปโรงเรียน ทำอย่างไรดี ?

วิดีโอจาก : Kids Family เลี้ยงลูกให้ฉลาด

7 วิธีสอนเมื่อ ลูกหวงของ แก้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้เรื่องของสิ่งของ และความเป็นเจ้าของ เป็นหนึ่งในเรื่องพื้นฐานที่ลูกควรเรียนรู้เอาไว้ เพื่อปรับตัวในการเข้าสังคมแรก นอกจากครอบครัว นั่นคือ สังคมในเด็กอนุบาล ที่ต้องเจอเด็กคนอื่น และอาจมีการยืมของเล่น หรือยอมสิ่งของเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา สามารถสอนลูกได้ ดังนี้

1. ให้ลูกได้เรียนรู้ความเป็นเจ้าของ

ผู้ปกครองต้องสอนลูกให้รู้ว่าของชิ้นไหนเป็นของลูกน้อย บอกว่าทำไมจึงเป็นของลูก เช่น พ่อแม่ตั้งใจซื้อมาให้หนู หรือในอนาคตหนูเป็นคนเก็บเงินซื้อมาเอง เป็นต้น และของอันไหนที่ไม่ใช่ของลูก ทำไมจึงเรียกว่าของคนอื่น เป็นต้น เมื่อลูกเข้าใจว่าสิ่งของชิ้นไหนเป็นของตนเอง ผู้ปกครองจึงจะสอนต่อว่าหากเป็นของเรา สามารถตัดสินใจได้ว่า เวลามีคนมาขอ มีเด็กคนอื่นมายืม จะให้หรือไม่ก็ได้ เพราะเป็นสิทธิของเราเอง หากเป็นสิ่งของผู้อื่น และเราต้องการใช้ จะต้องขออนุญาตเจ้าของอยู่เสมอ

2. บอกลูกทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องเอาของไป

ในหลายครั้งผู้ปกครองจำเป็นต้องเอาสิ่งของลูกไป เพื่อนำไปทำความสะอาด หรือของที่ชำรุดมากแล้วจำเป็นต้องทิ้ง เพราะอาจมีอันตรายต่อเด็กได้ แต่ก่อนจะหยิบไปต้องบอกลูกก่อน หรือขออนุญาตก่อนเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเด็ก หากนำไปซักให้บอกว่าจำเป็นต้องเอาไปซักให้สะอาด เสร็จแล้วจะนำมาคืนให้ หรือของที่ชุด อาจบอกกับลูกว่า เดี๋ยวซื้อให้ใหม่ หรือเดี๋ยวพาไปเลือกใหม่ เป็นต้น ทำให้ลูกมั่นใจว่าเขาจะได้ของที่เขารักเขาหวงคืนแน่นอน การทำแบบนี้จะทำให้ลูกรู้ว่าของที่หวง ไม่จำเป็นต้องอยู่กับลูกตลอด เมื่อถูกนำเมื่อยามจำเป็นก็จะได้กลับมา

3. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อยเสมอ

เด็กในช่วงวัย 3 – 5 ปี เป็นช่วงที่มีความเกี่ยวเนื่องอาจมีพฤติกรรมเลียนแบบจากบุคคลรอบตัว โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีความใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด และลูกไว้ใจมากที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่แสดงความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจให้ลูกได้เห็น ลูกจะจดจำ และคิดเองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรทำ หากลูกเลียนแบบ หรือแสดงความมีน้ำใจออกมา ผู้ปกครองควรให้การชื่นชม และบอกกับลูกว่าสิ่งที่ลูกทำเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง พ่อแม่เห็นด้วย เป็นต้น แต่ก็ยังต้องสอนให้ลูกรู้ด้วยว่าหากมีคนมาขอยืมของเราไป คนที่ยืมต้องเอามาคืนด้วย

4. ใจเขาใจเราเข้าใจมากขึ้น

ความรู้สึกบางอย่างสามารถเรียนรู้ได้จากตัวของเราเอง ผู้ปกครองสามารถสอนลูกน้อยได้เพื่อให้เข้าใจความเป็นเจ้าของ เช่น ถามกับลูกว่าลูกจะรู้สึกอย่างไร หากมีคนมาขอยืมของ แล้วเขาไม่คืน เมื่อลูกตอบ ก็ให้บอกลูกว่าคนอื่นจะรู้สึกแบบเดียวกัน หรือถามว่าลูกจะรู้สึกอย่างไร หากไปขอยืมสิ่งของคนอื่น แต่เจ้าของไม่อนุญาต แน่นอนว่าจะต้องมีความผิดหวัง แต่ลูกต้องเข้าใจด้วยว่า สิทธิที่จะให้หรือไม่ให้นั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของ เป็นต้น

ลูกหวงของ


5. อย่าดุ อย่าลงโทษรุนแรง

เด็กในวัยนี้เป็นวัยกำลังเรียนรู้ เขาอาจมีความไม่เข้าใจในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ผู้ปกครองจึงควรใจเย็น ๆ เมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ลูกหวงของมาก จนเกิดอาการก้าวร้าวขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่ต้องอธิบายให้ลูกฟังว่าทำไมจึงไม่ควรก้าวร้าว พยายามใช้เหตุผล หรือใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยในการอธิบาย หากลงโทษอย่างรุนแรง หรือดุด่า จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง ส่งผลให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวตามมาได้

6. จำลองสถานการณ์

การฝึกที่อาจได้ผลอีกวิธีหนึ่ง คือ การจำลองสถานการณ์ขึ้นมา เช่น ผู้ปกครองลองเป็นฝ่ายที่เข้าไปยืมของลูก ดูว่าลูกมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง หรือให้ลูกฝึกเข้ามาขอยืมสิ่งของว่าลูกจะพูดว่าอะไร หากไม่ให้ลูกจะทำอย่างไร หากลูกน้อยแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือไม่มีความเข้าใจในการแสดงออก หรือจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ผู้ปกครองสามารถใช้โอกาสนี้ในการสอนลูกได้เช่นกัน

7. ฝึกการใช้สิ่งของร่วมกัน

สิ่งของภายในบ้านเป็นสิ่งของส่วนรวม ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของ เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หรือตู้เย็น เป็นต้น การฝึกที่ดีที่สุด อาจฝึกจากการใช้งานโทรทัศน์ที่มี 1 เครื่อง เนื่องจากภายในบ้านมีบุคคลมากกว่าจำนวนโทรทัศน์ แต่ละคนอาจอยากดูรายการที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นที่จะต้องแบ่งปันกัน เช่น แบ่งเวลาในการดู หรือแสดงความต้องการว่าเวลานี้อยากดูอะไร เวลาไหนคนในบ้านจะดูอะไร จะทำให้ลูกน้อยเข้าใจความหมายของการอดทน และการแบ่งปันเบื้องต้นได้ดี

การสอนลูกให้มีนิสัยที่ชอบแบ่งปัน สามารถพิจารณา และจัดการกับปัญหาได้ เมื่อมีคนอื่นมายืมของ จะทำให้ลูกน้อยอยู่ร่วมกับทุกคนได้ แม้ไม่ใช่บุคคลภายในบ้านก็ตาม

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 วิธีฝึกลูกรับมือเมื่อต้องเผชิญภัยร้ายจาก “คนแปลกหน้า”

ทำไมลูกตัวน้อยจึงชอบ “โกหก” พาคุณพ่อคุณแม่มาหาคำตอบกัน

บูลลี่ ปัญหาที่พบเจอได้ไม่ยาก ทำอย่างไรให้ลูกหลุดพ้นจากการบูลลี่

ที่มา : 1, 2