ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 3

ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ ช่วงนี้ครรภ์ของคุณแม่ก็จะมีขนาดที่ใหญ่มากแล้ว ดังนั้น วันนี้เราจะพาไปคลายข้อสงสัยกันค่ะว่าสำหรับช่วงตั้งครรภ์ 35 สัปดาห 

 1656 views

ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ ช่วงนี้ครรภ์ของคุณแม่ก็จะมีขนาดที่ใหญ่มากแล้ว ดังนั้น วันนี้เราจะพาไปคลายข้อสงสัยกันค่ะว่าสำหรับช่วงตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์นั้นเป็นอย่างไรบ้าง จะมีขนาดตัวเท่าไหร่ แล้วคุณแม่ในช่วงอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ จะมีอาการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง มาตามไปดูพร้อมกันเลย!

ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 35 สัปดาห์

ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน ?

การตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์นั้นเท่ากับว่าคุณแม่ท้องได้ 8 เดือนแล้ว หรืออยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 นั่นเองค่ะ

  • ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักเกือบ 2.5 กิโลกรัม และมีตัวยาวประมาณ 20 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ใกล้เคียงกับตอนที่จะคลอด
  • ภายในลำไส้ของทารกจะเต็มไปด้วยของเหลวสีเขียวเข้มที่เรียกว่า ‘เมโคเนียม’ (Meconium) ซึ่งเกิดจากของเสียที่ขับออกมาจากตับและลำไส้
  • กระดูกและอวัยวะอื่น ๆ ได้พัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว  และมีการสะสมไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น ปอดยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ แต่พร้อมที่จะทำงานได้เอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้าง ?

 

ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ?

  • ช่วงที่ท้อง 35 สัปดาห์นี้ พื้นที่ว่างในมดลูกเริ่มมีน้อยลงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทารกในครรภ์เติบโตเต็มที่พร้อมออกมาแล้ว
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ นั้นจะเกิดอาการหดตัวของมดลูกเล็กน้อย ที่เรียกว่า เจ็บท้องหลอก
  • เรื่องของการนอน ซึ่งอาจจะทำให้นอนลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากท้องของคุณแม่ก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น เวลาลูกดิ้น ก็อาจจะทำให้นอนไม่ค่อยหลับ และไม่สบายตัว 
  • อาการปวดหลัง อาการปวดหลังถือเป็นอาการส่วนใหญ่ที่คุณแม่ท้องต้องพบเจอ เนื่องจากน้ำหนักของอายุครรภ์ที่มากขึ้น และจะมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะฮอร์โมนในร่างกายจะทำการคลายข้อต่อที่เชื่อมกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง เพื่อรองรับน้ำหนักและเตรียมพร้อมเชิงกรานสำหรับการคลอด
  • ปัสสาวะบ่อย ก็จะเป็นอีกหนึ่งอาการที่คุณแม่ท้อง 35 สัปดาห์ ต้องเผชิญ เพราะเมื่อท้องเริ่มใหญ่ นั่นเท่ากับว่าร่างกายของทารกก็จะโตขึ้น ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • อาการอ่อนเพลีย พออายุครรภ์เริ่มเยอะขึ้น ขนาดท้องก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น และน้ำหนักตัวก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ก็จะยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่ายกว่าปกติ
  • ช่วงเวลาหนึ่งเดือนก่อนคลอด ทารกจะกลับหัว และขยับลงไปในอุ้งเชิงกรานเรื่อย ๆ ทำให้ปอดและกระเพาะอาหารของคุณแม่มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ช่วยให้คุณแม่หายใจได้สะดวกขึ้น
ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์

 

เคล็ดลับดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์

พบแพทย์ตรวจสุขภาพเช็กความเสี่ยง

  • เนื่องจากช่วงตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ คุณหมอจะทำการตรวจปากมดลูก และทวารหนัก เพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย Group B streptococcus (GBS) เชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุของการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ปอดบวม การติดเชื้อในกระแสเลือด และทำให้เกิดความพิการ หรือเสียชีวิตในทารกแรกเกิด นอกจากนี้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงในเรื่องของสุขภาพอื่น ๆ อีกหลากหลายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ ควรไปตรวจเช็กกับคุณหมอจะดีที่สุด ถ้าหากมีอาการดังกล่าวจะได้ทำการรักษาตามอาการต่อไป

อาหาร

คุณแม่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ที่หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ และต้องทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่น้อยหรือมากจนเกินไป สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ ควรทานอะไรบ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

  • คาร์โบไฮเดรต ถือเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานหลักที่ร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการมากที่สุด ซึ่งคาร์โบไฮเดรตนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือคาร์โบไฮเดรตกลุ่มที่เป็นน้ำตาลหรือที่เรียกว่า คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวกล้อง, ธัญพืช, ขนมปังโฮลวีต, ถั่ว และผลไม้ต่าง ๆ ที่มีกากใย เป็นต้น ซึ่งเวลาทานจะช่วยให้อยู่ท้องนานกว่า และให้พลังงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคุณแม่ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเนื่องจากเป็นประเภทที่ดีต่อสุขภาพนั่นเองค่ะ
  • โปรตีน ถือเป็นสารอาหารสำคัญส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการบำรุงทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง ช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและสมอง อาหารที่มีโปรตีนสูงที่เหมาะสำหรับคนท้อง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ หรือถั่วต่าง ๆ เป็นต้นค่ะ
  • ธาตุเหล็ก ถือเป็นสารอาหารอีกหนึ่งชนิดที่จำเป็นสำหรับคนท้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ อาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น
  • แคลเซียม ถือว่าเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับแม่ท้องมาก ๆ เพราะแคลเซียมนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก และฟัน และการทำงานต่าง ๆ ของเซลล์ในร่างกาย และแคลเซียมยังถูกดึงไปใช้เสริมสร้างกระดูกทารกในครรภ์ ดังนั้นคุณแม่ควรทานอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย อาหารจำพวกแคลเซียมก็จะมี นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต แต่ควรกินในปริมาณ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์

  • สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในเรื่องของอาหารนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องระมัดระวัง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้ ดังนั้นอาหารส่วนใหญ่ที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงก็จะเป็นอาหารจำพวก ที่ไม่สุกหรือกึ่งดิบ หรือของหมักดอง ส่วนใหญ่ที่ผ่านกรรมวิธีการทำที่ไม่สะอาด อาหารที่มีน้ำตาลมาก หรือแอลกอฮอล์เพราะอาหารเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้

ออกกำลังกาย

  • การออกกำลังกายจะช่วยให้การทำงานของปอด หัวใจ กระดูก และกล้ามเนื้อ ของคุณแม่แข็งแรง และคุณแม่ควรออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและพอดีด้วยนะคะ ไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหมเกินไป สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ หรือไตรมาสที่ 3 แนะนำให้ออกกำลังกายเฉพาะ ได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ หรือโยคะ เป็นต้น ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และภาวะตั้งครรภ์เสี่ยงก่อนการออกกำลังกายด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวคุณแม่และลูกในท้องค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ แม่ท้องห้ามทำอะไรบ้าง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ สัปดาห์ที่ 35 ถือว่าเป็นสัปดาห์ที่ใกล้สู่ช่วงเตรียมตัวใกล้คลอดสำหรับคุณแม่แล้ว ดังนั้นคุณแม่ก็จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งสภาพร่างกายและจิตใจให้เป็นอย่างดี หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 35 สัปดาห์หรือไตรมาสที่ 3 กันนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

ตั้งครรภ์ 42 สัปดาห์ ครรภ์เกินกำหนด ทำอย่างไรดี ?

ครรภ์ 37 สัปดาห์ ช่วงแรกของกำหนดคลอด มีอะไรที่สำคัญบ้าง ?

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4 , 5