ครรภ์เสี่ยง ภาวะที่แม่ท้องควรรู้ ที่อาจส่งผลต่อแม่และทารกในครรภ์

การตั้งครรภ์และการคลอด ต่างเป็นเหมือนของขวัญที่ครอบครัวรอคอย แต่บางครั้งก็ไม่ได้สวยงามเสมอไป หากเมื่อใดที่มีความเสี่ยง ย่อมอาจเป็นเรื่อง 

 1180 views

การตั้งครรภ์และการคลอด ต่างเป็นเหมือนของขวัญที่ครอบครัวรอคอย แต่บางครั้งก็ไม่ได้สวยงามเสมอไป หากเมื่อใดที่มีความเสี่ยง ย่อมอาจเป็นเรื่องอันตรายต่อแม่และเด็กได้ รวมไปถึงภาวะ ครรภ์เสี่ยง หนึ่งในปัญหาที่แม่หลายคนกังวล เพราะกลัวจะทำให้ลูกเป็นอะไรไปมากกว่าที่คาดคิด

วันนี้ Mamastory จะพาไปทำความรู้จักกับ ภาวะครรภ์เสี่ยง หนึ่งในปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อทั้งแม่และทารก ที่อาจเกิดปัญหาได้ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอด หรือหลังคลอดได้ค่ะ หากพร้อมแล้ว ไปอ่านบทความดี ๆ พร้อมกันได้เลย !

ครรภ์เสี่ยง คืออะไร ?

ภาวะครรภ์เสี่ยง หรือการตั้งครรภ์ที่จะถือว่ามีความเสี่ยงสูงจะกำหนดได้ก็ต่อเมื่อ การตั้งครรภ์ดังกล่าว มีปัจจัยหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ที่อาจส่งผลกระทบต่อแม่และลูก หรือต่อแม่หรือลูก ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือเสียชีวิตได้ จำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

โดยการฝากครรภ์ หรือการเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินได้ ว่าครรภ์มีความเสี่ยงหรือแทรกซ้อนหรือไม่ เพื่อไม่สร้างผลกระทบใดต่อแม่และลูก เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัยและสมบูรณ์ที่สุด คุณแม่สามารถช่วยเหลือแพทย์ได้ ด้วยการแจ้งประวัติต่าง ๆ ให้ละเอียดที่สุด และแจ้งเมื่อรู้สึกว่ามีอาการอื่นที่ผิดปกติ

ครรภ์เสี่ยง



ปัจจัยส่งเสริมการเสี่ยงของการตั้งครรภ์

  • แม่ท้องอายุน้อยกว่า 17 ปี
  • แม่ท้องอายุมากกว่า 35 ปี
  • โรคและความผิดปกติก่อน หรือระหว่างตั้งครรภ์
  • ปัญหาจากการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์แฝด รกเกาะต่ำ คลอดก่อนกำหนด



โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อยคือเรื่องของอายุ เพราะไม่ใช่แค่อายุมากเท่านั้นที่จะเสี่ยง แต่อายุน้อยเกินไปก็เสี่ยงได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการคลอดก่อนกำหนด ลูกตัวเล็ก ครรภ์เป็นพิษ ความดันสูง การแท้ง หรือความผิดปกติกลุ่มดาวน์ ก็ล้วนเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : หมอนัดตรวจครรภ์ เป็นเรื่องสำคัญไหม จำเป็นต้องไปให้ครบนัดหรือเปล่า ?

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวกับโรคประจำตัวของแม่ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคหอบหืด, โรคตับ, โรคหัวใจ และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ ก็รวมเป็นปัจจัยเช่นกัน ซึ่งรวมไปถึงประวัติการตั้งครรภ์อื่นด้วย เช่น

  • เคยมีประวัติทารกเสียในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
  • แม่ท้องเคยแท้งเองมากกว่า 3 ครั้ง ติดต่อกัน
  • ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม
  • มีประวัติครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด
  • แม่ท้องมีประวัติท้องแฝด รกเกาะต่ำ น้ำคร่ำน้อย



ครรภ์เสี่ยง



อันตรายจากภาวะเสี่ยง

  1. โลหิตจาง เพลียหรือเหนื่อยง่าย
  2. ทารกพัฒนาการช้า ไม่สมบูรณ์
  3. ทารกเสี่ยงพิการตั้งแต่กำเนิด
  4. เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  5. ความดันโลหิตสูง
  6. ครรภ์เป็นพิษ
  7. คลอดก่อนกำหนด



การป้องกันและรักษา

แม้ก่อนการตั้งครรภ์ แม่จะดูแลสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ แต่ก่อนการเตรียมตัวตั้งครรภ์ เพื่อความมั่นใจว่า จะไม่เกิดอันตราย การเตรียมพร้อมหรือปรึกษาก่อนมีบุตร พร้อมกับการตรวจสุขภาพโดยละเอียด ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่าค่ะ ทั้งยังช่วยให้เตรียมตัวได้ปลอดภัย และไม่ต้องไปรู้ทีหลังด้วยค่ะ นอกจากนี้ ยังมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ที่ควรทำก่อนการตั้งครรภ์ ดังนี้

  • ทานวิตามินกลุ่มโฟลิก ตั้งแต่ช่วงแรก ก่อนการตั้งครรภ์
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค ตามที่มีแพทย์แนะนำ
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ คุมน้ำหนักให้พอดี ออกกำลังกายอยู่เสมอ
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  • พบแพทย์ตามที่กำหนด



ครรภ์เสี่ยง



ซึ่งข้อดีของการเตรียมตัว หรือการตรวจหาความเสี่ยง ก่อนการตั้งครรภ์ หากพบว่ามีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ จะได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางทันที ทำให้ได้รับการดูแลอย่างละเอียด ปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ

เพราะหากเกิดความเสี่ยงแล้ว ย่อมเกิดอันตรายต่อคุณแม่และทารกอย่างแน่นอน ดังนั้นการทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงการไปตามนัดที่ฝากครรภ์ทุกครั้ง จะช่วยให้ปลอดภัยได้ ซึ่งรวมไปถึงการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ จะช่วยให้การตั้งครรภ์นั้นผ่านไปได้ด้วยดี โดยที่ลูกรอด และแม่ปลอดภัยค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ปากมดลูกเปิด สัญญาณที่ควรรู้ เปิดแล้วนานแค่ไหนกว่าจะคลอด !

อาการปวดของแม่ท้อง แบบไหนผิดปกติ แบบไหนคือไม่น่าห่วง เช็กเลย !

แม่ท้องปวดท้องน้อยเกิดจากอะไร อันตรายหรือเปล่า ?

ที่มา : 1, 2