หมอนัดตรวจครรภ์ เป็นเรื่องสำคัญไหม จำเป็นต้องไปให้ครบนัดหรือเปล่า ?

เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอด เป็นไปด้วยความปลอดภัย เมื่อถึงเวลา หมอนัดตรวจครรภ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรเลี่ยงที่สุดค่ะ เพราะในการตั้งคร 

 1262 views

เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอด เป็นไปด้วยความปลอดภัย เมื่อถึงเวลา หมอนัดตรวจครรภ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรเลี่ยงที่สุดค่ะ เพราะในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ใช้เวลากว่า 280 วัน หรือราว 40 สัปดาห์ได้ ซึ่งในระหว่างนั้นร่างกายของคุณแม่ จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายด้าน การไปหาหมอตามที่นัด จะทำให้ช่วยติดตามอาการและเฝ้าระวังปัญหาอื่น ๆ ที่อาจแทรกซ้อนตามมาได้ค่ะ วันนี้ Mamastory จะพาไปดูว่า เมื่อหมอนัดตรวจครรภ์ การไม่ไปตรวจครรภ์ตามนัดจะเป็นอะไรไหม และมีสัญญาณอันตรายที่ต้องไปพบหมอโดยด่วน หากพร้อมแล้วไปอ่านบทความดี ๆ ได้เลยค่ะ !

การฝากครรภ์ คืออะไร ?

เพราะในการตั้งครรภ์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายของแม่ท้อง เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายในร่างกาย ซึ่งบางรายหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็กแล้ว การเข้ารับฝากครรภ์และไปตามนัดหมอ จะช่วยให้คุณแม่และควรในครอบครัว ช่วยดูแลได้อย่างถูกวิธี

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ต้องรู้! น้ำหนักคนท้อง แต่ละเดือนควรหนักเท่าไหร่? มาดูกัน

อีกทั้งเพราะการตั้งครรภ์ ใช้เวลานานกว่า 9 เดือน เพื่อการดูแลอย่างเป็นระบบ และเหมาะสมกับคน ๆ นั้น การฝากครรภ์และคัดกรองความพิการตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการป้องกันและดูแลการเกิดภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ได้อย่างทันท่วงทีค่ะ !

หมอนัดตรวจครรภ์



สาเหตุที่ หมอนัดตรวจครรภ์

การฝากครรภ์ ถือเป็นการนัดที่ดูแลหญิงท้อง โดยแพทย์จะทำการตรวจ ติดตาม ประเมินความเสี่ยง รวมถึงการตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งทำหมดเป็นกระบวนการที่จำเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่ได้ตรวจ หรือไม่มีการเตรียมตัวตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อถึงเวลาคลอดอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันได้

อีกทั้งหากคุณหมอตรวจพบอาการผิดปกติ หรือปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จะได้หาแนวทางป้องกัน และวิธีการรักษาต่อไป โดยการฝากครรภ์จะเริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงครบกำหนดคลอด ซึ่งอาการผิดปกติถ้าได้รับการตรวจเจอเร็วยิ่งดี เพราะจะช่วยลดอันตรายที่เกิดขึ้นทั้งระหว่างตั้งครรภ์และช่วงคลอดลูกได้ค่ะ

ฝากครรภ์ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง

  • ชั่งน้ำหนัก : การชั่งน้ำหนักจะทำให้ทราบว่า ทารกในครรภ์เจริญเติบโตเป็นอย่างไร ซึ่งโดยส่วนมาก น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นทุก ๆ ครึ่งกิโลกรัม ตั้งแต่อายุครรภ์ 5 เดือน
  • วัดส่วนสูง : การวัดส่วนสูงช่วยประเมินเบื้องต้น ว่าแม่คลอดลูกง่ายหรือไม่ จะได้เลือกใช้วิธีคลอดที่เหมาะสม หากแม่สูงน้อยกว่า 145 ซม. อาจทำให้คลอดยากเนื่องจากอุ้งเชิงกรานแคบเกินไป
  • ตรวจปัสสาวะ : การตรวจปัสสาวะ จะช่วยในเรื่องการดูค่าน้ำตาล และไข่ขาวในปัสสาวะ
  • ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและเบาหวาน : โดยตรวจจากเลือด หากเป็นโรคดังกล่าว คุณแม่จะได้ รับแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  • ตรวจคัดกรองความผิดปกติของหัวนม และลานหัวนม

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจเลือดตอนตั้งครรภ์ ตรวจอะไรบ้าง? คุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร



หมอนัดตรวจครรภ์



การตรวจหาความผิดปกติอื่น

  • ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
  • หมู่เลือด
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เป็นอันตรายต่อทารก
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  • ซักประวัติ เพื่อทราบโรคอื่นก่อนตั้งครรภ์



การไปตามนัดหมอ และแจ้งประวัติต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับคุณแม่ จะช่วยให้คุณหมอวางแผนการดูแล รวมไปถึงการติดตามอาการที่ถูกวิธี รวมถึงประวัติยาและการผ่าตัดทางหน้าท้องอื่น ประวัติความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ การแท้งบุตร ฯลฯ นอกจากนี้หลังจากการตรวจแล้ว คุณแม่จะได้รับยาบำรุงครรภ์ ที่ควรทานตามที่แพทย์ระบุ และบันทึกสมุดสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อเป็นการบันทึกอาการติดตามอื่น ๆ ค่ะ

ความถี่ที่หมอนัดตรวจครรภ์

โดยปกติแล้ว เมื่อรู้ตัวว่ากำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ควรรีบนักฝากครรภ์โดยทันที โดยปกติแล้ว การฝากครรภ์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

  • ครั้งที่ 1 : ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
  • ครั้งที่ 2 : เมื่ออายุครรภ์ 18 สัปดาห์ (บวก/ลบได้ 2 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 3 : เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์ (บวก/ลบได้ 2 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 4 : เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ (บวก/ลบได้ 2 สัปดาห์)
  • ครั้งที่ 5 : เมื่ออายุครรภ์ 38 สัปดาห์ (บวก/ลบได้ 2 สัปดาห์)



นอกจากนี้ การนัดตรวจครรภ์อาจมีความถี่ ในการนัดตรวจครรภ์เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะตามคลินิก โรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่าง ๆ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • แม่ที่อายุไม่เกิน 28 สัปดาห์ ให้นัดทุก 4 สัปดาห์
  • แม่ที่ตั้งครรภ์ช่วง 28-36 สัปดาห์ ให้นัดทุก 2 สัปดาห์
  • อายุตั้งครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ให้นัดทุกสัปดาห์



หมอนัดตรวจครรภ์



อาการที่ต้องรีบมาพบแพทย์

  1. มีเลือดออกทางช่องคลอด
  2. มีอาการบวมที่ใบหน้าและนิ้วมือ
  3. มีอาการปวดศีรษะรุนแรง
  4. มีอาการตาพร่ามัว
  5. มีอาการปวดท้องจุกแน่นยอดอก
  6. มีอาการอาเจียนรุนแรง
  7. มีอาการเป็นไข้ หนาวสั่น
  8. มีอาการปัสสาวะแสบขัด
  9. มีอาการน้ำออกจากช่องคลอด
  10. ทารกดิ้นลดลง ทั้งความถี่และความแรง
  11. มีเลือดออกทางช่องคลอด
  12. ตกขาวผิดปกติ
  13. มีอาการเจ็บครรภ์ทั้งที่ยังไม่ครบกำหนด หรือมีอาการท้องแข็งบ่อย



ซึ่งข้อมูลของการฝากครรภ์ข้างต้นนี้ เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานที่แม่ท้องควรได้รับ บางโรงพยาบาลอาจมีโปรแกรมเสริมเพิ่มเข้ามา เช่น กิจกรรมเตรียมตัวเป็นพ่อและแม่ หรือสอนวิธีการดูแลลูกน้อยต่าง ๆ ที่สำคัญการฝากครรภ์เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจสุขภาพของตัวเอง และสามารถดูแลได้อย่างถูกวิธี เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดลูก เป็นไปอย่างปลอดภัยไร้อันตรายค่ะ !


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ธาลัสซีเมียขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้อย่างไร? คุณแม่ควรมีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง?

รู้หรือไม่! แท้งลูก เกิดจากอะไร? หนึ่งในอาการที่ส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และลูกในท้อง

ตรวจดาวน์ซินโดรม มีวิธีการอย่างไรบ้าง? ทารกเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมหรือเปล่า

ที่มา : 1