ฝุ่น PM2.5 แม่ท้องและทารกเสี่ยงหนัก เมื่ออยู่กลางแจ้ง ต้องระวัง!

เห็นได้ชัดว่าเมื่ออากาศเย็นผ่านไป สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือ ฝุ่น PM2.5 นั่นเองค่ะ รู้หรือไม่คะ? ว่าฝุ่นละอองจำพวกนี้ เกิดขึ้นและยังคงอยู่ แถ 

 1371 views

เห็นได้ชัดว่าเมื่ออากาศเย็นผ่านไป สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือ ฝุ่น PM2.5 นั่นเองค่ะ รู้หรือไม่คะ? ว่าฝุ่นละอองจำพวกนี้ เกิดขึ้นและยังคงอยู่ แถมยังสร้างอันตรายให้กับแม่ท้อง และทารกตัวน้อย ๆ ด้วย หากได้รับการดูแลและการปฏิบัติตนที่ไม่ดี วันนี้ Mamastory จะพาไปดูกลุ่มเสี่ยง และวิธีป้องกันตัวเอง เมื่อต้องอยู่กลางแจ้ง ส่วนจะอันตรายแค่ไหนไปดูได้เลยค่ะ



ฝุ่นละออง PM2.5 คืออะไร ?

ฝุ่น PM2.5 คือ ฝุ่นละเอียดที่เป็นส่วนหนึ่งของฝุ่นละอองที่แขวนลอยในบรรยากาศ มีขนาดเท่ากับ 1 ใน 20 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ โดย PM2.5 มาจากการเผาไหม้ และการใช้พลังงานต่าง ๆ เช่น ยานพาหนะ งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ การเผาวัชพืชและขยะ ปฏิกิริยาเคมีในอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพทำให้เกิดอาการไอ จาม แสบจมูก หายใจติดขัด แน่นหน้าอก เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงต่อฝุ่นละออง PM2.5

เมื่อค่าฝุ่นละอองมีความสูงขึ้น หรือมีค่าเกินมาตรฐาน การออกกลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรสวมหน้ากากป้องกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ
  • เด็กเล็ก
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง โรคหัวใจและหลอดเลือด



ฝุ่น PM2.5



6 ข้อป้องกันฝุ่นละออง PM2.5

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงเด็กเล็กได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ จากสภาพอากาศที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 จึงวอนให้ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยง ตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จากการสูดดมฝุ่น พร้อมแนะแนวทางการดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กที่มีโรคประจำตัว เพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศ

หากเป็นไปได้กลุ่มเสี่ยงต่อฝุ่นละออง ควรเน้นการอยู่ในบ้าน, เตรียมยาเผื่อในกรณีฉุกเฉินให้พร้อม, ใช้หน้ากากกันฝุ่น PM2.5 เมื่อต้องออกพื้นที่กลางแจ้ง และควรรีบพบแพทย์ทันที เมื่อเกิดอาการผิดปกติ

ฝุ่น PM2.5



แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า เด็กเล็กเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง ที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เด็กที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูง อาจมีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางระบบประสาท และความสามารถทางปัญญาของเด็ก เนื่องจากปอดของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีอัตราหายใจที่ถี่กว่า จึงควรดูแลเด็กทั้งกลุ่มปกติทั่วไป และเด็กที่มีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการดูแล และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th หรือแอปพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ
  2. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน ในช่วงที่ปริมาณ PM2.5 ตั้งแต่ระดับสีเขียว (26-37 ไมโครกรัม/ ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป
  3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6 – 8 แก้วต่อวัน
  4. เด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์
  5. หากค่า PM2.5 อยู่ในระดับสีแดง (91 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป ห้ามออกนอกบ้าน
  6. ปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่นละอองและมลพิษอากาศ
  7. งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะ
  8. ไม่ติดเครื่องยนต์เป็นเวลานานในบริเวณบ้าน
  9. ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดและเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน



ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็ก เมื่อสูดเข้าไปในปริมาณมากต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะเกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้โดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว และกลุ่มที่มีความอ่อนไหว เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ ซึ่งภัยร้ายจากฝุ่นละออง PM 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพมากมาย ดังนี้

  • ผลกระทบต่อทางเดินหายใจและปอด : การสูดหายใจเอาฝุ่นมลพิษขนาดเล็กเข้าไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ และอาจนำมาสู่ปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็งปอดได้
  • ผลกระทบต่อหัวใจ : การสูดหายใจเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมากเข้าไปอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการตกตะกอนภายในหลอดเลือด ส่งผลให้หัวใจวาย และหลอดเลือดสมองตีบ รวมทั้งยังมีผลโดยตรงต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ที่อาจร้ายแรงจนถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลัน
  • ผลกระทบต่อสมอง : เมื่อเกิดการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในสมอง รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว และเกิดเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต



ฝุ่น PM2.5



นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็ก ควรต้องระวังภัยร้ายที่มากับฝุ่น PM 2.5 เป็นอย่างมาก เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอกว่าคนปกติทั่วไป รวมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไป จะส่งผลเสียโดยตรงต่อทารกในครรภ์ โดยมีการศึกษาค้นพบว่า มลพิษในอากาศจะส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด เพิ่มความเสี่ยงของภาวะแท้ง และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์ได้ 

ดังนั้น นอกจากการสวมหน้ากากอนามัยชนิดที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ภายนอกอาคารแล้ว การเลือกติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น PM ได้อย่างดีเยี่ยม ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะมอบอากาศบริสุทธิ์ให้สมาชิกในครอบครัวทุกคน สามารถสูดหายใจได้อย่างเต็มปอด และปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5



บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รู้หรือไม่! แท้งลูก เกิดจากอะไร? หนึ่งในอาการที่ส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และลูกในท้อง

ลักษณะท้องของคนท้อง เป็นแบบไหน? พร้อมวิธีการสังเกตแบบง่าย ๆ

วิธีเพิ่มน้ำหนักให้ลูก แบบง่าย ๆ ทำอย่างไรให้ลูกมีสุขภาพดี?

ที่มา : 1