การตรวจสอบความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำอยู่แล้ว และวิธีที่ได้รับความนิยมก็คือ “อัลตราซาวนด์” ซึ่งสามารถทำให้หาความผิดปกติ และดูความสมบูรณ์ของครรภ์ในแต่ละไตรมาสได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยกำหนดวันคลอดได้อีกด้วย
อัลตราซาวนด์ คืออะไร ทำไมสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ?
อัลตราซาวนด์ (Ultrasound) คือ เป็นการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อสร้างภาพของทารกในครรภ์ขึ้นมาให้สังเกตได้ง่ายขึ้น โดยหลักการ คือ คลื่นจะส่งผ่านอวัยวะของคุณแม่ถึงทารกในครรภ์ จากนั้นคลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมา คล้ายกับการทำงานของคลื่นเสียงจากปลาโลมานั่นเอง โดยการตรวจวิธีนี้จะแบ่งออกได้ ดังนี้
- แบบ 2 มิติ : มีรายละเอียดที่น้อย คลื่นจะมีเพียงความกว้าง และความยาว ทำให้ได้ภาพขาวดำ ที่มีรายละเอียดไม่มากนัก และไม่สามารถมองเห็นใบหน้าของทารกได้อย่างชัดเจน
- แบบ 3 มิติ : ประกอบไปด้วยความกว้าง สูง และลึก ทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูง สามารถเห็นทารกได้ชัดเจน ละเอียดมากขึ้น รวมถึงลักษณะผิว และใบหน้า เป็นที่นิยมมากกว่าแบบ 2 มิติ
นอกจากนี้ยังมีในแบบ 4 มิติ ซึ่งเป็นแบบใหม่ที่สุด ที่สามารถแสดงความเคลื่อนไหวได้แบบ Real time ทำให้สามารถสังเกตทารกได้มากขึ้นกว่าเดิมแต่อาจยังไม่เป็นที่แพร่หลายมาก เนื่องจากหลักการคล้ายคลึงกับแบบ 3 มิติพอสมควร และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
วิดีโอจาก : theAsianparent
โดยการทำ Ultrasound จะทำให้สามารถติดตามการเจริญเติบโต หรือความสมบูรณ์ รวมถึงหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้สะดวกขึ้น ด้วยรูปภาพจากหน้าจอ ซึ่งการตรวจหาสิ่งเหล่านี้จะมีความเหมาะสมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับในแต่ละไตรมาส ว่าสามารถติดตามทารกในจุดไหนได้บ้าง ส่วนความละเอียดก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เลือกใช้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1
เริ่มตรวจอัลตราซาวนด์ตอนอายุครรภ์เท่าไหร่ ?
คุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจได้ในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ อายุครรภ์เร็วสุดที่ 11 สัปดาห์แรกขึ้นไป หรือช่วง 18-22 สัปดาห์ซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่อาจเพิ่งรู้ตัวว่าตนเองตั้งครรภ์ หากนับจากมาตรฐานการตรวจ ควรได้รับการตรวจในช่วงนี้ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย และควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละไตรมาส
สำหรับคุณแม่ที่อาจมีปัญหาสุขภาพ หรือมีความผิดปกติของร่างกาย มีโรคแทรกซ้อนรบกวน จะได้รับการตรวจมากกว่าคุณแม่ทั่วไป โดยมีความถี่ตามอาการของคุณแม่ที่แพทย์เห็นสมควร โดยในแต่ละไตรมาสจะตรวจทารก ดังนี้
- ไตรมาสที่ 1 : ตรวจเพื่อยืนยันอายุครรภ์ สามารถทำให้ทราบกำหนดคลอดได้แม่นยำมากขึ้น ตรวจหาความเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
- ช่วงไตรมาสที่ 2 : หากไม่เคยรับการตรวจมาก่อน จะได้รับการยืนยันอายุครรภ์ ตรวจอวัยวะบางส่วน และระบบไหลเวียนโลหิตสู่ทารกเพื่อหาความผิดปกติ หากคุณแม่เคยคลอดก่อนกำหนด การตรวจจะช่วยค้นหาความเสี่ยงในการเกิดซ้ำได้ด้วย
- ไตรมาสที่ 3 : ภาพรวมจะเป็นการตรวจความสมบูรณ์ของการเจริญเติบโตในทารก หรือตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ หากพบความผิดปกติในช่วงนี้ แพทย์จะสามารถวางแผนในการรักษาได้ก่อน
ตรวจความพิการของทารกได้แม่นยำ 100 % หรือไม่
กรณีการตรวจเพื่อหาความพิการของทารก การตรวจไม่สามารถสรุปความพิการของทารกได้ 100 % แต่มีความแม่นยำมากถึง 90 % โดยจะแบ่งความแม่นยำสูงสุด ในโรคสำคัญของทารก ได้แก่ โรคทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง 84 %, โรคทางหัวใจ 13 %, หัวใจพิการชนิดรุนแรง 50 %, ปากแหว่ง เพดานโหว่ 75 %, โรคทางระบบทางเดินหายใจ 50 %, โรคระบบทางเดินอาหาร 61 % และโรคกระดูกชนิดรุนแรง 60 % เป็นต้น
หมายเหตุ : การตรวจหาโรคเหล่านี้มีโอกาสสำเร็จขึ้นจะมาก หรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ผู้ปกครองเลือกใช้ และความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ใช้งานด้วย
การตรวจบ่อยเกินไปจะทำให้ทารกมีอันตรายหรือไม่ ?
การตรวจด้วยคลื่นเสียงนี้ อาจทำให้คุณแม่ท้องหลายคน มีความกังวลถึงความปลอดภัยของทารกจากการกระทบของคลื่นเสียง ในด้านการแพทย์ที่มีการตรวจสอบนั้นแสดงให้เห็นว่าไม่มีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นกับทารก ไม่ว่าจะเป็นความพิการของทารก หรือการคลอดก่อนกำหนด และยังเป็นสิ่งที่ควรทำในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อหาความผิดปกติของภาวะที่กล่าวไปข้างต้นได้อย่างดีด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1
การตรวจมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน
การตรวจถือว่ามีความแม่นยำสูง แต่ยังมีบางปัจจัยที่อาจทำให้การตรวจได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น อวัยวะที่เล็กมากเกินไป ทำให้สังเกตได้ยาก, ทารกมีท่าทางที่ทำให้บดบังอวัยวะที่ต้องการดู หรืออวัยวะของทารกไม่ได้สร้างเสร็จอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เป็นต้น
การตรวจความสมบูรณ์ของครรภ์จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ดีขึ้น หากพบความผิดปกติ หรือป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ก่อนจะเกิดขึ้นจริง คุณแม่จึงควรเข้ารับการตรวจตรงตามที่แพทย์นัดในทุกไตรมาส
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
7 สัญญาณเตือนก่อนคลอด มีอาการอะไรบ้างที่คุณแม่ห้ามพลาด
คลอดลูกในน้ำ ดีอย่างไร ช่วยให้คลอดลูกง่ายจริงไหม ?