เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ น้ำคร่ำ แม่ท้องจำเป็นต้องเจาะไหม ?​ ถุงน้ำคร่ำแตกจะคลอดแล้วหรือเปล่า ? 

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ หรือวางแผนว่าจะตั้งครรภ์ หนึ่งในสิ่งที่จะต้องศึกษาเลยคือเรื่องของน้ำคร่ำ เพราะน้ำคร่ำมีบทบาทสำคัญในกา 

 1387 views

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ หรือวางแผนว่าจะตั้งครรภ์ หนึ่งในสิ่งที่จะต้องศึกษาเลยคือเรื่องของน้ำคร่ำ เพราะน้ำคร่ำมีบทบาทสำคัญในการดูแลลูกน้อยในครรภ์เป็นอย่างมาก วันนี้ Mamastory ได้รวบรวมเรื่องที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ น้ำคร่ำ น้ำคร่ำคืออะไร แม่ท้องต้องเจาะทุกคนไหม มีอะไรต้องเฝ้าระวังหรือเปล่า ? มาไว้ในบทความนี้แล้ว ตามไปอ่านกันได้เลยค่ะ


น้ำคร่ำคืออะไร

น้ำคร่ำคืออะไร 

น้ำคร่ำ หรือ  Amniotic fluid คือ ของเหลว ลักษณะใส ปนเหลือง อยู่ภายในถุงน้ำคร่ำอีกที ร่างกายของแม่ท้องสร้างน้ำคร่ำขึ้นมา เพื่อเป็นเกราะป้องกันทารกจากการกดทับของสายสะดือ ป้องกันการกระทบกระเทือน นอกจากนี้น้ำคร่ำ ยังช่วยพยุงทำให้ทารกสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระ ทำให้ทารกมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ และระบบประสาทได้ดียิ่งขึ้น โดยร่างกายของแม่ท้องจะทำการสร้างถุงน้ำคร่ำ และน้ำคร่ำหลังจากตั้งครรภ์ได้ 2 สัปดาห์โดยประมาณ 

นอกจากนี้แล้วน้ำคร่ำยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกด้วย อย่างเช่นเป็นแหล่งอาหารให้ทารกในครรภ์ได้อีกด้วย เมื่อทารกได้กลืนน้ำคร่ำเข้าไปขณะอยู่ในท้อง จะช่วยกระตุ้นระบบทางเดินอาหารได้ และน้ำคร่ำยังมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต และพัฒนาการของปอดของทารกได้อีกด้วย 

น้ำคร่ำ มีปริมาณของน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก โดยปริมาณของน้ำคร่ำในแต่ละเดือน จะเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ โดยสามารถมีปริมาณมากถึง 800 มิลลิลิตรได้เลยทีเดียว 
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจดาวน์ซินโดรม มีวิธีการอย่างไรบ้าง? ทารกเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมหรือเปล่า


เจาะน้ำคร่ำคืออะไร จำเป็นหรือไม่ ? 

คุณแม่อาจจะเคยได้ยินคำว่าเจาะน้ำคร่ำกันมาบ้าง แต่เคยสงสัยหรือไม่คะ ว่าเจาะไปเพื่ออะไร แล้วต้องเจาะทุกคนไหม ?


น้ำคร่ำคืออะไร

การเจาะน้ำคร่ำ คือ การนำน้ำคร่ำของแม่ท้อง ไปตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ดูความผิดปกติของโครโมโซม หรือโรคที่อาจเกิดทางพันธุกรรม ที่อาจส่งต่อไปยังลูกน้อยในครรภ์ได้ หรือตรวจการทำงานของปอดทารก และตรวจหาการติดเชื้ออื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ โดยคุณหมอจะใช้เข็มขนาดเล็ก แทงผ่านหน้าท้องของแม่ท้องเข้าไปยังถุงน้ำคร่ำ จากนั้นจึงดูดน้ำคร่ำออกมา โดยน้ำคร่ำ จะมีเซลล์ของทารกที่สามารถโรค หรือความปกติเหล่านั้นได้ 


คุณแม่จำเป็นที่จะต้องเจาะน้ำคร่ำทุกคนหรือเปล่า ?

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจความผิดปกติของทุกคน แต่มีคุณแม่บางกลุ่มที่คุณหมออาจสั่งเจาะน้ำคร่ำเพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติมได้ 

  • คุณแม่ที่มีอายุเยอะ มากกว่า 35 ปี ขึ้นไป ลูกน้อยอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรม
  • คุณแม่ หรือคุณพ่อที่มีประวัติโครโมโซมผิดปกติ 
  • คุณแม่ที่มีประวัติแท้ง
  • คุณแม่มีประวัติเป็นธาลัสซีเมีย หรือมีความเสี่ยงที่ลูกน้อยในท้องจะเป็นธาลัสซีเมีย 
  • คุณแม่ที่คุณหมอทำการอัลตราซาวนด์ดูลูกน้อยแล้วพบความผิดปกติบางอย่าง 
  • คุณแม่ หรือคุณพ่อที่มีประวัติมีโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว คุณหมอจะทำการเจาะเพื่อตรวจหาความโรคทางพันธุกรรมเหล่านั้น 
  • คุณแม่ที่ทารกในครรภ์ มีแนวโน้มเจริญเติบโตช้าผิดปกติ 


โดยคุณหมอจะพิจารณาเจาะน้ำคร่ำของคุณแม่ได้ตั้งแต่ 16 สัปดาห์ (น้ำคร่ำมีปริมาณ 200 มิลลิลิตร) เป็นต้นไป เนื่องจากปริมาณน้ำคร่ำมีมากเพียงพอที่จะเจาะออกไป และไม่กระทบต่อทารกในครรภ์ โดยแพทย์จะทำการเจาะน้ำคร่ำไป 20 ซีซี โดยประมาณเพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง : สายสะดือพันคอ เกิดจากอะไร? อะไรคือสาเหตุที่แม่ควรระวัง!



น้ำคร่ำ และน้ำเดินเหมือนกันหรือไม่ ?

น้ำคร่ำเป็นชื่อเรียกของเหลวสีใส ปนเหลืองที่โอบอุ้มทารกในครรภ์เอาไว้ ส่วนน้ำเดิน  หรือที่รู้จักกันในชื่อ ถุงน้ำคร่ำแตก เป็นสัญญาณเตือนก่อนคลอด โดยน้ำคร่ำจะไหลออกมาทางช่องคลอด คล้ายกับปัสสาวะ เป็นอาการที่มดลูกบีบตัวมากขึ้นจนทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกออกมา ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้น ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 37 เป็นต้นไป และถ้าหากเกิดภาวะน้ำเดินแล้ว มีภาวะเจ็บครรภ์ร่วมด้วย อาจแปลว่าลูกน้อยพร้อมที่จะลืมตาดูโลกแล้วนั่นเอง 


แต่ในบางกรณี อาจเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตก ก่อนถึงกำหนดคลอด หรือ ก่อนสัปดาห์ที่ 37 หากมีภาวะเหล่านี้เกิดขึ้น ให้รีบไปหาคุณหมอโดยเร็ว เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ร่างกายของคุณแม่มีการติดเชื้อ มีภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือทารกเจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ 



น้ำคร่ำแตก ลูกน้อยกำลังจะคลอดหรือไม่ ?

น้ำคร่ำคืออะไร

การที่แม่ท้องมีภาวะน้ำเดิน หมายความว่าลูกน้อยกำลังจะออกมาดูโลกภายใน 12 ชั่วโมงข้างหน้านี้แล้ว แต่ก็มีแม่ท้องบางคน ที่มีอาการน้ำเดินก่อนถึงกำหนดคลอด หรือ Premature Rupture of Membranes ซึ่งแม่ท้องอาจมีภาวะน้ำเดินก่อน 37 สัปดาห์ โดยอาจเกิดมาจากสาเหตุหลายประการ อย่างเช่น 

  • แม่ท้องมีการติดเชื้อในช่องคลอด หรือภายในร่างกาย
  • แม่ท้องสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าขณะตั้งครรภ์
  • ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่เกินไป 
  • แม่ท้องรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อร่างกายเป็นประจำ หรือทำพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงขณะตั้งครรภ์

หากมีอาการน้ำคร่ำแตกก่อนถึงกำหนดคลอด ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น น้ำคร่ำมีสีที่ผิดปกติ อย่างเช่นสีชมพู ปนเลือด สีเขียว หรือสีน้ำตาล นั่นไม่ใช่เรื่องดีแน่ ให้รีบไปพบคุณหมออย่างรวดเร็วเลยค่ะ 



ภาวะน้ำคร่ำน้อยน้ำคร่ำมากคืออะไรอันตรายหรือไม่ ? 

น้ำคร่ำคืออะไร

น้ำคร่ำน้อย 

เป็นภาวะที่ร่างกายของแม่ท้องผลิตน้ำคร่ำออกมาได้น้อยเกินไป และเนื่องจากน้ำคร่ำมีหน้าที่สำคัญในการดูแลทารกที่อยู่ในท้องเป็นอย่างมาก หากน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ อาจส่งผลต่อชีวิตของทารกในครรภ์ได้ สิ่งสำคัญคือแม่ท้องควรทำการตรวจสุขภาพครรภ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อเฝ้าระวังภาวะเหล่านั้น และเมื่อใกล้ถึงกำหนดคลอด แล้วน้ำคร่ำในครรภ์ยังน้อยอยู่ แพทย์อาจพิจารณาให้ทำคลอดทารกก่อนกำหนด เพื่อไม่ให้เกิดการกดทับของสายสะดือ หรือภาวะสายสะดือพันคอได้ และสามารถรักษาได้ทัน 

น้ำคร่ำมาก 

เช่นเดียวกับภาวะน้ำคร่ำน้อย แม่ท้องที่มีน้ำคร่ำมาก ร่างกายผลิตน้ำคร่ำมากเกินไป เกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยแม่ท้องอาจมีอาการตัวบวม เหนื่อย หายใจลำบาก แต่ภาวะน้ำคร่ำมาก โดยปกติไม่ได้อันตรายเสียเท่าไหร่ สามารถเจาะระบายน้ำคร่ำออกได้  แต่ก็อาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อันตรายได้ หากรู้และเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นแม่ท้องก็อย่าลืม ตรวจสุขภาพครรภ์เป็นประจำเพื่อรักษาได้ทันท่วงทีค่ะ 



จบไปแล้วกับเรื่องราวที่น่ารู้เกี่ยวกับ น้ำคร่ำ ที่เราได้รวบรวมมาไว้ให้ในบทความนี้ หวังว่าจะสามารถตอบคำถามของคุณแม่ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ หากพบสิ่งผิดปกติใดขณะตั้งครรภ์ หรือข้อสงสัยอื่น ๆ เกี่ยวกับน้ำคร่ำ หรือสงสัยว่าลูกน้อยมีความผิดปกติอะไร ให้รีบไปพบคุณหมอเพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป 


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทำไมท้องแล้วมี มูกปนเลือด ใช่มูกเลือดก่อนคลอดหรือเปล่า ? อันตรายไหม ?

5 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องรู้ไว้ จะได้รับมือทัน!

กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ฉี่เล็ด ปัญหาของแม่หลังคลอด ที่รักษาได้!

ที่มา : 1, 2, 3