เมื่อการตั้งครรภ์ก้าวเข้าสู่เดือนที่ 7 พัฒนาการลูกน้อยภายในท้องของคุณแม่ช่วงนี้ก็กำลังเริ่มเตรียมความพร้อมร่างกายสำหรับการออกมาเผชิญกับโลกภายนอกแล้ว เนื่องจากช่วงเดือนที่ 7 ถือว่าเป็นช่วงที่คุณแม่ใกล้ที่จะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดลูก ซึ่งคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่รู้ว่าอาการคน ท้อง 7 เดือน นั้นมีอาการอะไรบ้าง แล้วพัฒนาการของทารกในนั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนล่วงหน้า เราจะมาคลายข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันค่ะ มาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
ท้อง 7 เดือน นับจากอะไร ?
ท้อง 7 เดือน เท่ากับว่า คุณแม่จะมีอายุครรภ์ได้ 7 เดือนแล้ว และมีอายุครรภ์ระหว่าง 27-30 สัปดาห์ นับว่าเป็นเดือนแรกของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งอายุครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด จากนั้นก็จะนับเพิ่มสัปดาห์ถัดไปเรื่อย ๆ เป็น 2 เดือน 3 เดือน ไปเรื่อย ๆ จนครบ 9 เดือน ก็จะเป็นช่วงที่ใกล้จะคลอดแล้ว
อาการคน ท้อง 7 เดือน เป็นยังไงบ้าง ?
สำหรับคุณแม่ที่ ท้อง 7 เดือน อาจจะต้องพบเจอการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- เรื่องของการนอน ซึ่งอาจจะทำให้นอนลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากท้องของคุณแม่ก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น เวลาลูกดิ้น ก็อาจจะทำให้นอนไม่ค่อยหลับ และไม่สบายตัว
- อาการปวดหลัง อาการปวดหลังถือเป็นอาการส่วนใหญ่ที่คุณแม่ท้องต้องพบเจอ เนื่องจากน้ำหนักของอายุครรภ์ที่มากขึ้น และจะมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะฮอร์โมนในร่างกายจะทำการคลายข้อต่อที่เชื่อมกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง เพื่อรองรับน้ำหนักและเตรียมพร้อมเชิงกรานสำหรับการคลอด
- ปัสสาวะบ่อย ก็จะเป็นอีกหนึ่งอาการที่คุณแม่ท้อง 7 เดือน ต้องเผชิญ เพราะเมื่อท้องเริ่มใหญ่ นั่นเท่ากับว่าร่างกายของทารกก็จะโตขึ้น ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขึ้น
- อาการอ่อนเพลีย พออายุครรภ์เริ่มเยอะขึ้น ขนาดท้องก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น และน้ำหนักตัวก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ก็จะยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่ายกว่าปกติ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดหลัง อันตรายไหม บรรเทาอาการด้วยวิธีใดได้บ้าง?
พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 7 เดือน
- อวัยวะเพศ ทารกในครรภ์มีการแบ่งเพศชายหญิงขึ้นอย่างชัดเจน ในทารกเพศหญิงจะมีการพัฒนาช่องคลอดขึ้นมาจนเป็นร่องลึก ในทารกเพศชายจะมีการพัฒนาลูกอัณฑะขึ้นมา
- ทารกสามารถขยับนิ้ว กำมือ และมีการพัฒนาลายนิ้วมือที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองขึ้นมา
- ทารกเริ่มลืมตา และระบบนัยน์ตาพัฒนาขึ้นเกือบสมบูรณ์ แต่สีของนัยน์ตายังไม่ใช่สีที่ถาวร ซึ่งต้องหลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว 2-3 เดือน ถึงจะมีการปรากฏขึ้นมาว่าสีนัยน์ตาที่แท้จริงเป็นสีไหน เช่น ดำ น้ำตาล ฟ้า เขียว เป็นต้น
- เซลล์สมองและระบบประสาท ช่วงนี้สมองของทารกพัฒนาขึ้นจนโตเต็มกะโหลกศีรษะ และมีร่องหยักบนเนื้อสมอง ส่วน เซลล์ประสาทเชื่อมโยงเครือข่ายกันอย่างสมบูรณ์ เริ่มมีไขมันห่อหุ้มเส้นประสาทเหมือนกับที่ไขสันหลัง
- ทารกเริ่มมีผิวที่หนาขึ้น เพราะมีไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้นมาก
- ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเริ่มทำงาน
- ขนอ่อนตามร่างกายเริ่มหลุดร่วง มีเหลือไว้เฉพาะที่บริเวณไหล่ และหลัง
- ทารกจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำประมาณวันละครึ่งลิตร
- ทารกในครรภ์ที่มีอายุ 7 เดือนมักจะขยับตัวประมาณ 10 ครั้ง ภายใน 2 ชั่วโมง
- ทารกจะมีขนาดประมาณ 36 เซนติเมตร และน้ำหนักลูกในครรภ์ 7 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 900 – 1800 กรัม
บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีแก้คลื่นไส้อาเจียน ปัญหาน่าปวดหัวของคุณแม่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับการดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ ท้อง 7 เดือน
- คุณแม่ท้องควรนอนพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่วโมง และควรนอนพักผ่อนตอนกลางวันเพิ่มเติม ถ้าหากคุณแม่นอนหลับพักผ่อนน้อย ก็อาจส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้
- ช่วงที่อายุครรภ์เพิ่มมากขึ้น นอกจากคุณแม่จะต้องนอนพักผ่อนมาก ๆ แล้ว เวลานอนควรนอนตะแคง ด้านใดด้านหนึ่งก็ได้ตามคุณแม่สะดวก แต่ระวังอย่านอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานาน ควรพลิกตัวสลับข้างกันบ้าง เพื่อไม่ให้เส้นเลือดถูกกดทับเป็นเวลานาน และอาจเกิดอาการทำให้นอนไม่สบายตัว
- พยายามทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้อย่างดี โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงอย่างผักใบเขียว หรือวิตามิน และแคลเซียม เป็นต้น
- ควรหมั่นสังเกตอาการดิ้นของลูกในท้องว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง หากพบว่ามีอาการผิดปกติให้พบแพทย์ทันที
- แนะนำให้ออกกำลังกายเฉพาะส่วน เพื่อลดอาการปวดหลัง หรือการฝึกการหายใจเพื่อเตรียมคลอด สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ
- เมื่อคุณแม่มีหน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมอย่างชุดคลุมท้อง เพื่อที่จะได้ช่วยให้คุณแม่ไม่รู้สึกอึดอัดเวลาใส่เสื้อผ้า
สำหรับคุณแม่ที่ท้อง 7 เดือน เมื่อมีอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะต้องยิ่งหมั่นดูแลสุขภาพในเรื่องของการทานอาหารที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น และจะต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ และต้องคอยหมั่นสังเกตร่างกายตัวเองและทารกในครรภ์อยู่เรื่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา แต่ถ้าหากสังเกตว่าเห็นถึงความปกติของตัวเองหรือทารกในครรภ์ แนะนำให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คลอดธรรมชาติดีอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะคลอดแบบธรรมชาติได้ ?
ท่านอนคนท้องที่ปลอดภัย ท้องอ่อน ท้องแก่ ต้องนอนแบบไหน ?