เมื่อพูดถึงโรคแทรกซ้อนที่แม่ต้องระวัง อีกหนึ่งเรื่องที่ควรรู้จัก นั่นก็คือ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด อาการแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ที่สามารถพบได้บ่อยในช่วง ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ และหากเกิดอาการนี้ขึ้น จะทำให้เกิดอันตรายทั้งแม่และเด็กได้ วันนี้ Mamastory จะพาไปทำความรู้จักกับอาการนี้ให้เพิ่มขึ้นค่ะ
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด คืออะไร ?
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด หรือ Abruptio Placentae เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับแม่ท้อง เมื่อรกบางส่วนหรือทั้งหมด อาจลอกตัวออกจากมดลูก ก่อนถึงกำหนดคลอด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ความดันโลหิต ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์กระทบกระเทือน หรือสาเหตุอื่น จนเกิดเป็นการลอกตัวก่อนกำหนด
สำหรับการที่รกคลอดตัวก่อนกำหนด อาจสร้างอันตรายถึงชีวิต ทั้งแม่และทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการหลุดลอกเล็กน้อย หรือออกมาทั้งหมด ล้วนส่งผลให้ทารกเกิดการขาดสารอาหาร หรือขาดออกซิเจน จนทำให้แม่ท้องเสียเลือดมากได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ทัน อาการครรภ์เป็นพิษ อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด แบ่งออกกี่ชนิด ?
1. ภาวะรกลอกตัวแบบไม่เปิดเผย
โดยเลือดจะคลั่งอยู่ที่หลังรก ไม่ไหลออกมาทางช่องคลอด ให้เห็นอย่างชัดเจน พบได้ประมาณ 20-35% ของแม่ท้อง
2. ภาวะรกลอกตัวแบบเปิดเผย
เป็นภาวะที่เลือดไหล ระหว่างเยื่อถุงน้ำคร่ำกับผนังมดลูก ไหลออกมาตามช่องคลอด โดยสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน แพทย์ติดตามอาการได้ง่าย และพบได้บ่อยกว่า 65-80% ในแม่ท้อง
3. ภาวะรกลอกตัวแบบผสม
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยขั้นแรกอาจจะไม่รู้ตัว เพราะอาการไม่แสดงออก แต่เมื่อเลือดมีปริมาณมากขึ้น จึงทำให้เลือดไหลออกมาในภายหลัง
อาการรกลอกตัวก่อนกำหนด
โดยปกติแล้ว อาการของรกลอกตัวก่อนกำหนด มักเกิดขึ้นช่วงไตรมาสสุดท้าย หรือเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีอาการต่าง ๆ ที่เป็นสัญญาณ ดังนี้
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- เจ็บครรภ์
- ปวดหลัง
- ท้องแข็ง หรือมดลูกบีบตัวเป็นจังหวะ
- รู้สึกอ่อนเพลีย มีเหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว เป็นลม
- เกิดภาวะน้ำเดิน ซึ่งมีเลือดปน
- ทารกในครรภ์ไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยกว่าปกติ
โดยส่วนใหญ่แล้ว แม่ท้องที่มีภาวะแทรกซ้อนนี้ มักมีอาการเกิดขึ้นที แต่เลือดที่ไหลออกมาจากช่องคลอด อาจมีปริมาณมากน้อยต่างกัน บางรายอาจมีเลือดขังในมดลูก นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น แม่ท้องมีเลือดออกกะปริบกะปรอย มีน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ หรือทารกเจริญเติบโตช้า
สาเหตุและความเสี่ยงรกลอกตัวก่อนกำหนด
สาเหตุที่แม่ท้อง จะมีภาวะรกลอกตัวก่อนคลอด โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก การกระแทกรุนแรงที่หน้าท้อง เช่น เกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ ตกจากที่สูง หรือน้ำเดินอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นอีก ดังนี้
- เคยมีภาวะรกลอกตัวในครรภ์ก่อนหน้า
- ความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์
- หน้าท้องได้รับการกระแทกรุนแรง
- การใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะเลือดออกง่ายผิดปกติ
- แม่ท้องตั้งครรภ์แฝด
- แม่ท้องอายุมากกว่า 40 ปี
- การติดเชื้อภายในมดลูก
ซึ่งภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อแม่ท้องได้ โดยแม่อาจจะช็อกจากการเสียเลือดมาก ภาวะเลือดแข็งตัวผิดปกติจากการเสียเลือด ไตวาย และอวัยวะล้มเหลว ที่สำคัญภาวะดังกล่าว ยังทำให้ทารกขาดอากาศหายใจ คลอดก่อนกำหนด หรือเสียชีวิตในครรภ์ได้
วิธีป้องกัน
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มแอลกอฮอล์
- ระวังการเกิดอุบัติเหตุ ช่วงระหว่างตั้งครรภ์
- ติดตามความดัน ไม่ให้สูงเกินเกณฑ์
จริงอยู่ที่ภาวะรกลอกตัว เป็นหนึ่งในภาวะที่อันตราย แต่ถ้าหากรู้ตัวว่า มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น และรีบไปพบแพทย์ทันที อาจจะได้รับการช่วยเหลือ เพื่อทำการคลอดฉุกเฉินทันที เพื่อเป็นการช่วยชีวิตทารก และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่อแม่ ที่อาจมีขึ้นในระหว่างการผ่าตัดได้ ซึ่งบางรายที่ยังไม่ร้ายแรง สามารถรับการดูแลจากสูตินรีแพทย์ได้ ตลอดการตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น ควรรีบยุติการตั้งครรภ์ ก่อนที่จะเกิดอันตรายกว่าเดิมค่ะ !
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) ภาวะที่คุณแม่ควรรู้ หลังการคลอด
ภาวะแท้งคุกคาม ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายที่เกิดได้ในไตรมาสแรก
5 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องรู้ไว้ จะได้รับมือทัน!
ที่มา : 1