แผลร้อนใน เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยบางครั้งอาจสร้างความเจ็บปวดบริเวณช่องปาก ทำให้เรารับประทานอาหาร หรือพูดคุยลำบาก ร้อนในมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน วัยรุ่น และผู้ที่พักผ่อนพักน้อย ซึ่งจะมีอาการอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นจะค่อย ๆ หายไป วันนี้ Mama Story มีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่ทุกท่านได้รู้จักวิธีการแก้อาการร้อนในค่ะ ว่าแต่จะมีวิธีไหนบ้าง ไปดูกัน
แผลร้อนในคืออะไร?
แผลร้อนใน หรือ ร้อนใน (Aphthous Ulcers) คือ แผลขนาดเล็กที่มีสีเหลือง หรือสีขาว มักเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนในช่อง หรือเหงือก แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นบริเวณด้านในริมฝีปาก แก้ม และลิ้น ร้อนในทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวด รับประทานอาหาร และพูดคุยได้ลำบาก อย่างไรก็ตาม แผลร้อนในสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยที่ไม่ต้องรักษา แต่เราก็สามารถบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง แต่หากพบว่าแผลร้อนในมีขนาดใหญ่กว่าปกติ และรู้สึกเจ็บปวดมาก ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
ชนิดของแผลร้อนใน
- แผลร้อนในขนาดเล็ก : เป็นแผลร้อนในเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร ไม่เกิน 1 เซนติเมตร โดยมีลักษณะเป็นจุดสีขาวด้านใน มักพบได้บ่อย และหายได้เองภายใน 7-10 วัน
- แผลร้อนในขนาดใหญ่ : แผลร้อนในที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบแรก โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ประมาณ 10-15 มิลลิเมตร มีลักษณะลึกกว่าแบบแรก ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดมากกว่า ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดแผลเป็นหลังจากเป็นร้อนในชนิดนี้ โดยต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์กว่าจะหาย
- แผลร้อนในชนิดคล้ายเริม : มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นพร้อมกันประมาณ 10 ตุ่มขึ้นไป โดยมักจะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และมักจะหายไปเองโดยใช้เวลา 2-3 สัปดาห์
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคมือ เท้า ปาก โรคระบาดใกล้ตัวเด็ก สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
แผลร้อนในเกิดจากอะไร?
แผลร้อนในในปาก อาจไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่หากครอบครัวของผู้ป่วย มีอาการร้อนในบ่อย ๆ ก็สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ นอกจากนี้ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ยังเป็นสาเหตุของแผลร้อนในเช่นกัน รวมไปถึงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการร้อนใน ดังต่อไปนี้
- เชื้อไวรัส
- ความเครียด
- มีประจำเดือน
- แบคทีเรียในปาก
- กินของร้อนเกินไป
- สูบบุหรี่ หรือดื่มกาแฟ
- มีอาการบาดเจ็บที่ปาก
- การรับประทานอาหารรสเผ็ด
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
- แพ้อาหาร ขาดวิตามิน และแร่ธาตุ
อาการของแผลร้อนใน
อาการร้อนในจะเป็นแผลบวมแดง หรือแผลปริตาในช่องปาก ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดบวมแดง ทำให้เกิดอาการเจ็บขึ้น ร้อนในสามารถเกิดขึ้นเกือบทุกจุดในช่อง แต่ที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณแก้ว ลิ้น ด้านในริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม และต่อมทอนซิล เป็นต้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกแสบ และเจ็บปวดบริเวณที่เป็นแผล อีกทั้งผู้ป่วยบางคนยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม และไม่สบาย
ภาวะแทรกซ้อนของแผลร้อนใน
ผู้ป่วยที่มีแผลร้อนในซึ่งปล่อยนานไว้ อาจมีโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น เกิดความเจ็บในขณะพูด รับประทานอาหาร และแปรงฟัน มีไข้ อ่อนเพลีย และเกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณข้างเคียงอีกด้วย ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่ามร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงได้
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
อาการร้อนในจะหายไปเองหลังจาก 2 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่พบแพทย์มีอาการร้อนในยาวนาน รักษาแล้วยังไม่หาย ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยต่อไป
- มีไข้สูง และท้องเสีย
- มีแผลร้อนในใหญ่ผิดปกติ
- ดื่มน้ำ และรับประทานอาหารลำบาก
- มีแผลร้อนในหลายจุด และลามขึ้นเรื่อย ๆ
- มีอาการร้อนในยาวนาน มากกว่า 3 สัปดาห์ แม้ว่าจะพยายามรักษาแล้ว
- เกิดอาการเจ็บ และแสบจากแผลร้อนใน รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่หาย
บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ทัน “วัณโรค” โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
การรักษาอาการร้อนใน
แผลร้อนในในปากสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยสามารถรักษาด้วยตนเอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการรักษาสุขอนามัยช่องตามวิธี ดังต่อไปนี้
- ดื่มน้ำมาก ๆ ระหว่างวัน
- ทายาบริเวณที่เป็นร้อนใน
- ใช้น้ำผสมเกลือกลั้วปากตอนเช้า และตอนเย็น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานเผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัด
- ใช้แผ่นแปะแก้ร้อนใน เพื่อช่วยลดการสัมผัสแผลน้อยลง
- พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และหากิจกรรมคลายเครียด
การป้องกันอาการร้อนใน
ร้อนในสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีรักษาสุขภาพช่องปาก และการหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารบางชนิด โดยคุณแม่สามารถป้องกันแผลร้อนใน ด้วยวิธีการดังนี้
- รักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดเสมอ
- ใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นประจำ เพื่อช่วยลดแบคทีเรีย
- ไม่ใช่แปรงสีฟันที่มีขนแข็งเกินไป และควรแปรงฟันอย่างระมัดระวัง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และคลายความเครียด
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเผ็ดมาก เปรี้ยวมาก และอาหารทอดต่าง ๆ
- ไม่ใช้ฟันปลอมที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะอาจทำให้เกิดการเสียดสีในช่องปาก
อย่างที่รู้กันว่าแผลร้อนใน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาการนี้ก็เป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง สามารถรักษาด้วยตนเองได้ที่บ้าน หากคุณแม่พบว่าลูกเป็นร้อนใน ก็ควรให้พวกเขาดื่มน้ำบ่อย ๆ ไม่ทานอาหารรสจัด ทายาให้ลูก และให้เขาพักผ่อนมาก ๆ ก็จะช่วยลดอาการร้อนในได้ อย่างไรก็ตามหากคุณแม่พบว่าลูกเป็นร้อนในบ่อย ๆ มีแผลร้อนในที่ใหญ่กว่าปกติ และรักษาแล้วไม่หาย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เครียดลงกระเพาะ อาการเป็นอย่างไร รับมือด้วยวิธีไหนได้บ้าง?
โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลจากโรค?
โรคอีสุกอีใส เกิดจากอะไร อาการแบบไหนที่แสดงว่าลูกเป็นอีสุกอีใส?