โรคลมบ้าหมู หรือ โรคลมชักในเด็ก พ่อแม่รู้เท่าทัน ลูกรักก็ปลอดภัย !

เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกครอบครัว เมื่อมีเจ้าตัวน้อยมาอยู่ในครอบครัว และเมื่อเวลาผ่านไป พ่อแม่ทุกคนย่อมไม่อยากให้ลูกน้อย ต้องเผชิญห 

 815 views

เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกครอบครัว เมื่อมีเจ้าตัวน้อยมาอยู่ในครอบครัว และเมื่อเวลาผ่านไป พ่อแม่ทุกคนย่อมไม่อยากให้ลูกน้อย ต้องเผชิญหน้ากับอาการอันตราย หรือโรคร้ายต่าง ๆ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะโรคนั้นเกี่ยวข้องกับสมองของเด็ก เช่น โรคลมบ้าหมู หรือ โรคลมชักในเด็ก ที่เป็นโรคที่ส่งผลทำให้พัฒนาการล่าช้า ส่งผลกระทบในทุก ๆ ด้าน

วันนี้ Mamastory มีเรื่องที่ควรเรียนรู้ เกี่ยวกับโรคลมชักในเด็ก ที่ควรต้องทำความเข้าใจมาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ เพราะโรคนี้เป็นหนึ่งในอันตรายต่อสมองเด็ก เพื่อรับมือได้ทันท่วงที ยิ่งเข้าใจ ยิ่งทำให้ช่วยเหลือได้ไวขึ้น !



โรคลมบ้าหมู



โรคลมบ้าหมู หรือ โรคลมชักในเด็ก คืออะไร ?

โรคลมชัก หรือที่เรียกติดปากกันว่า “ลมบ้าหมู” เป็นโรคสมองในเด็กที่พบได้บ่อย เป็นหนึ่งในโรคที่ มักสร้างความกังวลใจให้กับครอบครัว เป็นอาการชักที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง ดังนั้น แม้ไม่พบความผิดปกติทางกายภาพของสมองก็สามารถทำให้เกิดโรคลมชักได้

หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ เหมือนเรามองเห็นหน้าคนคนหนึ่ง และพบว่าคนคนนั้นมีลูกตา 2 ข้างปกติ แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่า การทำงานของสายตาของคนคนนี้เป็นอย่างไร สายตาสั้น ยาว หรือเอียงหรือไม่ เช่นเดียวกันกับสมอง ดังนั้นการไม่พบความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสี ไม่ได้เป็นตัวบ่งถึงการทำงานผิดปกติของสมองได้ทั้งหมด

สาเหตุการเกิดโรคนี้มีได้หลายอย่าง อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของระบบประสาท เคยเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นต้น โดยรูปแบบการชัก อาจมีอาการได้ดังต่อไปนี้

โรคลมบ้าหมู



  • ชักแบบเหม่อนิ่ง เด็กมักไม่ตอบสนองต่อการเรียก พบมากในเด็ก 5-10 ปี
  • ชักแบบกระตุกแขนขาเป็นชุด ๆ พบมากในเด็ก 3 เดือน -1 ปี
  • ชักแบบไม่รู้ตัว มีอาการเตือน ระหว่างชักจำอะไรไม่ได้
  • ชักต่อเนื่อง อันตรายหากชักเกิน 30 นาที



สาเหตุของโรคลมชักในเด็ก

จากที่กล่าวข้างต้นว่าโรคลมชัก คือ การทำงานผิดปกติของสมอง โดยอาจพบหรือไม่พบความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีก็ได้ ซึ่งสามารถแจกแจงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมชักได้ ดังนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการชักในเด็ก จากอาการไข้ รับมืออย่างไรให้ลูกปลอดภัย

  1. ความผิดปกติของขั้นตอนการสร้างสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (congenital anomaly)
  2. ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการทำงานหรือโครงสร้างสมอง (genetic disease)
  3. ความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อน ก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด เช่น การติดเชื้อในครรภ์ การขาดออกซิเจนระหว่างคลอด เป็นต้น
  4. เกิดจากภูมิต้านทานของตัวเอง (autoimmune disease)
  5. การมีก้อนเนื้องอกในสมอง หรือเซลล์ที่เจริญเติบโตเร็วในสมองในบางกลุ่มอาการของโรคบางโรค
  6. การติดเชื้อในสมอง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาจากการติดเชื้อ
  7. ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน



​อาการของโรคลมชักในเด็ก

  • อาการชักแบบเฉพาะที่ : ลักษณะอาการชักจะขึ้นอยู่กับจุดกำเนิดชักว่าอยู่ส่วนใดของสมอง เช่น ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ อาการชักมักจะมาด้วยอาการเกร็ง หรือกระตุก หรืออ่อนแรง หากจุดกำเนิดอยู่ที่ตำแหน่งการควบคุมความรู้สึก อาจมาด้วยอาการชา หรืออาการรับรู้มากกว่าปกติ เช่น ปวดเจ็บ หรือรู้สึกมีอะไรมาไต่ หากจุดกำเนิดอยู่ที่ตำแหน่งควบคุมการมองเห็น ก็อาจมาด้วยอาการมองเห็นที่ผิดปกติ มองเห็นแสง หรือมองไม่เห็น เป็นต้น
  • อาการชักแบบทั้งตัว : เช่น เกร็ง กระตุกทั้งตัว หรือที่เราคุ้นเคยเรียกว่าลมบ้าหมู หรืออาการชักแบบเหม่อ เรียกไม่รู้ตัว เป็นต้น



ลูกชัก ต้องทำอย่างไร ?

  • มีสติ ไม่ตื่นเต้น ให้ลูกนอนลงในที่โล่ง และสังเกตการชักให้ละเอียด (บันทึกภาพได้ยิ่งดี)
  • จับลูกนอนตะแคง หาวัสดุหนุนศีรษะลูก คลายเสื้อผ้า และหากมีอาหารในปากให้เอาออก
  • ห้ามงัดปากลูกเด็ดขาด อย่าให้คนมามุง และระวังอย่าเอาสิ่งของเข้าปากลูก
  • เช็ดเศษอาหาร น้ำลาย โดยไม่ต้องพยายามงัด หรือเปิดปาก
  • รอจนลูกหยุดชัก โดยส่วนมาก อาการชักจะหยุดใน 2-3 นาที เช็กว่ามีบาดแผลหรือไม่ จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาล



โรคลมบ้าหมู



วิธีการรักษาโรคลมชัก

  1. การรักษาโดยการใช้ยากันชัก : แพทย์จะเลือกการให้ยากันชักเป็นแนวทางแรกของการรักษา ปัจจุบันมียากันชักหลากหลายชนิด ซึ่งการเลือกใช้ยากันชักก็จะเลือกตามความเหมาะสมของชนิดการชัก และผลข้างเคียงของยา เป็นต้น
  2. การรักษาโดยวิธีอื่นที่นอกเหนือจากการใช้ยากันชัก : เช่น การผ่าตัดสมอง การใส่เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทคู่ที่ 10 หรือการให้อาหารแบบคีโตน เป็นต้น



หากเด็กมีอาการที่ไม่แน่ใจว่าชัก หรือผู้ปกครองคิดว่าชัก ควรรีบพามาปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้ปกครองสามารถถ่าย VDO อาการที่ไม่แน่ใจว่าชัก หรืออาการชักมาให้แพทย์ดู เพื่อประกอบการรักษา การวินิจฉัยและการรักษาได้

นอกจากนี้ควรดูแลให้เด็กหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ หากมีอาการชักในระหว่างที่ทำกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ ว่ายน้ำ ปีนขึ้นที่สูง ปั่นจักรยาน เป็นต้น หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น “โรคลมชัก” ควรให้เด็กทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง และทำตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มาดู น้ำตาลในเลือดผิดปกติ ภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กทารกแรกเกิด

โรคทอนซิลโตในเด็ก ปัญหาที่ห้ามละเลย หากไม่อยากให้ลูกเจ็บหนักกว่าเคย !

ตาแดง เกิดจากอะไร คุณแม่รับมืออย่างไรเมื่อลูกมีอาการตาแดง?

ที่มา : 1, 2