ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ใกล้ได้เห็นหน้าลูกน้อยเต็มที คุณแม่คงจะตื่นเต้นไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ แต่ดันมีอาการ ปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา ขึ้นมา ให้ได้ปวดหัวสะงั้น คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นสัญญาณของความผิดปกติอะไรหรือเปล่า อันตรายต่อแม่ท้องหรือไม่ แล้วบรรเทาอาการปวดเหล่านี้อย่างไรได้บ้าง Mamastory มีคำตอบให้ในบทความนี้เลย
อาการปวดสะโพกร้าวลงขา
![คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา](https://mamastory.net/wp-content/uploads/2022/12/2-27.jpg)
การปวดสะโพกร้าวลงขา หรือ Sciatic nerve pain ของแม่ท้อง เป็นเรื่องที่ปกติอย่างมาก และสามารถเห็นได้บ่อย ในแม่ท้อง เพราะเมื่อแม่ท้องตั้งครรภ์ ลูกน้อยที่อยู่ในท้อง ก็มีพัฒนาการ มีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น อาจส่งผลต่อร่างกายของแม่ท้องได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดมาจากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน
ปวดสะโพกร้าวลงขา รู้สึกแบบไหนกัน
- รู้สึกถึงความเจ็บปวด หรือแสบร้อนบริเวณหลังส่วนล่าง
- มีความรู้สึกเจ็บปวด ตั้งแต่ส่วนของกระดูกเชิงกราน ยาวลงไปถึงขา คล้าย ๆ กับอาการตะคริว แต่อาจจะไม่รุนแรงเท่า
- ในแม่ท้องบางคน อาจรู้สึกถึงความเจ็บปวดลึก ๆ ปนกับความรู้สึกชาลงเท้า ปวดก้นกบ เจ็บแปลบ ๆ
- คุณแม่จะรู้สึกได้ถึง อาการปวดสะโพกร้าวลงขา มากขึ้น เมื่อคุณแม่ ไอ จาม หรือนั่งท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน
- อาการเจ็บปวดเหล่านี้ของคุณแม่ อาจเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ๆ มาให้รู้สึกอยู่ตลอดเวลา หรือ ปวดแบบเฉียบพลัน
สาเหตุที่คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา
![คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา](https://mamastory.net/wp-content/uploads/2022/12/3-29.jpg)
โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดสะโพก แล้วร้าวลงขา เกิดจากการที่กระดูกสันหลัง ถูกบีบอัด ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม แล้วไปกดทับเส้นประสาท ไซอาติก ที่มีจุดเชื่อมกันตามบริเวณต่าง ๆ เริ่มต้นมาจากบริเวณกระดูกสันหลังช่วงล่างของเอว พาดไปยังสะโพกด้านหลัง ต้นขาด้านหลัง ยาวไปถึงเท้า และเมื่อกดทับเป็นเวลานานขึ้น ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดร้าว ตามบริเวณเส้นประสาทเหล่านั้นได้
เช่นเดียวกับในแม่ท้อง เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อยในครรภ์มีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น และมีน้ำหนักที่มากขึ้น ตำแหน่งของลูกน้อยนั้น อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเหล่านี้ได้เป็นปกติค่ะ
หรือแม้กระทั่งเกิดจากการที่ร่างกายของแม่ท้องนั้น เปลี่ยนแปลงไป การที่แม่ท้องมีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป ทำให้แม่ท้องต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่เยอะจนเกินไป รวมถึงน้ำหนักของลูกน้อยอีก ไม่แปลกเลยที่แม่ท้องจะมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น
อีกทั้งการที่มดลูกที่โตขึ้นอาจเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดร้าวได้ และในแม่ท้องที่ชอบนั่งท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ๆ หรือแม้กระทั่งนอนเป็นเวลานาน หรือการนั่งผิดท่า ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แม่ท้องร้าวลงขาได้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดหลัง อันตรายไหม บรรเทาอาการด้วยวิธีใดได้บ้าง?
วิธีบรรเทาเมื่อมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
แม่ท้องสามารถทำการยืดกล้ามเนื้อ (Streching) เพื่อบรรเทาอาการได้ เป็นวิธีที่สามารถทำได้เองง่าย ๆ เพื่อบรรเทาอาการด้วยตัวเองเบื้องต้น วันนี้ เรามีท่ายืดกล้ามเนื้อสำหรับแม่ท้อง ที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขามาฝากกัน
![คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา](https://mamastory.net/wp-content/uploads/2022/12/1-29.jpg)
Child’s Pose หรือท่าเด็ก
ช่วยให้ร่างกายอยู่ในโหมดที่ผ่อนคลาย และช่วยยืดกล้ามเนื้อส่วนหลัง และต้นขาได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดร้าวลงขาได้ขณะทำแนะนำให้ค่อย ๆ หายใจเข้า – ออกอย่างช้า ๆ ถือเป็นท่าที่ให้แม่ท้องได้พักจากกิจกรรมที่ทำอยู่ไปพักหนึ่ง เริ่มจากการคุกเข่าบนพรมโยคะ หรือพื้นผิวที่ไม่แข็งจนเกินไป ลงบนนั่งบนเท้าของแม่ท้อง แยกเข่าให้ห่างออกจากกันเล็กน้อย จากนั้นหายใจเข้าลึก ๆ แล้วหายใจออก ขณะหายใจออกค่อย ๆ โน้มตัวลงไปด้านหน้า (หากทำไม่ได้ให้กระดกก้นเล็กน้อย) ยืดแขนให้สุดเท่าที่ทำได้แล้วกดฝ่ามือลงบนพื้น แล้วค้างไว้สัก 15 – 30 วินาที
Seated Piriformis Stretch หรือ ท่ายืดเส้นประสาท
ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกลงไปในบริเวณก้น ช่วยลดการกดทับของก้นกบ และยังช่วยผ่อนคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ที่นำไปสู่อาการปวดได้ค่ะ มีแค่เก้าอี้ 1 ตัวก็สามารถทำได้ ท่านี้ทำได้ง่าย ๆ โดย นั่งบนเก้าอี้ หลังตรง โดยวางเท้าราบกับพื้น ยกขาซ้ายขึ้น จากนั้น วางข้อเท้าซ้ายไว้บนเข่าขวา โน้มตัวไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ ให้หลังตรง แม่ท้องจะเริ่มรู้สึกได้ถึงการยืดหลังส่วนล่างและบั้นท้าย ยืดเหยียดค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำอีกครั้งกับขาอีกด้าน
Standing Hamstring Stretch หรือ ท่ายืดเอ็นร้อยหวาย
เป็นท่ายืดที่เบสิกสุด ๆ ลดความตึงของร่างกายทำให้ร่างกายมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นของกล้ามเนื้อรอบ ๆ เส้นประสาทที่ถูกกดทับอยู่ทำให้แม่ท้องสบายตัวมากยิ่งขึ้นค่ะ ท่านี้ทำได้โดย ยืนตัวตรง เท้าทั้งสองข้างอยู่บนพื้น ยกขาซ้ายขึ้นและวางบนวัตถุที่มั่นคง เช่น โซฟา หรือเก้าอี้ ปลายเท้าชี้ขึ้น จากนั้นค่อย ๆ โน้มตัวไปข้างหน้าจนกว่าคุณจะรู้สึกตึงที่เอ็นร้อยหวาย ค้างไว้ 30 วินาที แล้วจึงสลับข้าง
ท่าที่เรานำมาฝากเหล่านี้ หลีกเลี่ยงการนอนหงาย อันเป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้แม่ท้องรู้สึกหน้ามืด หรืออ่อนเพลียหลังจากการยืด เนื่องจากการที่มดลูกกดทับเส้นเลือดใหญ่ (เส้นที่นำไปสู่หัวใจ) ด้วยนะ
วิธีอื่น ๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการปวด
สำหรับแม่ท้องที่เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา เพราะอยู่ท่าเดิม ๆ นานจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็น นั่งนานจนเกินไป ให้ลองขยับร่างกายเบา ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น และเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ในการยืดกล้ามเนื้อ คลายความตึงเครียดของร่างกายของแม่ท้องได้เป็นอย่างดี ขยับเพียงเล็กน้อย เดินสั้น ๆ รอบบ้าน เพียงเท่านี้ก็ช่วยบรรเทาได้แล้วค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : มดลูกบีบตัว เกิดจากอะไร? เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ควรระวัง!
นอกจากนี้แม่ท้องยังสามารถนวดเบา ๆ บริเวณหลังล่าง เพื่อคลายความตึงปวดร้าวเหล่านั้นได้ ทำให้เลือดในร่างกายไหลเวียนได้ดีขึ้น แต่ต้องทำอย่างเบามือโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือสามารถใช้เครื่องนวดหลังคลึงเบา ๆ ประคบร้อนบริเวณช่วงหลังล่างหรืออาบน้ำอุ่น เพื่อคลายเส้นและความตึงต่าง ๆ แม่ท้องจะได้รู้สึกสบายตัวมากยิ่งขึ้นแต่หากอาการปวดสะโพกร้าวลงขานั้นรุนแรงจนทนไม่ไหวแนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาและรับประทานยาที่ถูกต้องค่ะ
หวังว่าเกร็ดความรู้เหล่านี้ จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดร้าวลงขาของแม่ท้องได้ แต่อย่าลืมนะคะว่า หากแม่ท้องต้องการนวดต้องทำอย่างเบามือ โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการนวดทนท้องเท่านั้น จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อตัวแม่ท้อง และลูกน้อยทีหลังนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาการท้องแข็ง เกิดจากอะไร? หนึ่งในอาการที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง!
คนท้องเป็นไข้ มีวิธีรับมือยังไงดี? อาการที่คุณแม่ต้องระวัง!
คนท้องเท้าบวม ทำยังไงดี? อีกหนึ่งอาการที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง!