คนท้องกินไข่ยางมะตูมได้ไหม กินไข่แบบไหนให้ปลอดภัยและมีประโยชน์?

ทุกครั้งที่เราจะทานอาหารหรือกินอะไรก็ตาม เชื่อเลยว่าโดยส่วนแล้วมักจะชอบนำไข่มาเป็นเครื่องเคียงเพื่อกินควบคู่ไปกับเมนูอื่น ๆ ได้ และสำหรั 

 756 views

ทุกครั้งที่เราจะทานอาหารหรือกินอะไรก็ตาม เชื่อเลยว่าโดยส่วนแล้วมักจะชอบนำไข่มาเป็นเครื่องเคียงเพื่อกินควบคู่ไปกับเมนูอื่น ๆ ได้ และสำหรับใครที่อยากจะลองกินเมนูไข่ยางมะตูมดูสักครั้ง แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเราสามารถกินได้เหมือนแม่คนอื่น ๆ หรือเปล่า หรือ คนท้องกินไข่ยางมะตูมได้ไหม เรามาไขข้อสงสัยกันเลยค่ะ



คนท้องกินไข่ยางมะตูมดีจริงหรือ?

เมื่อไหร่ที่เราพูดถึงไข่ยางมะตูม เชื่อว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นอะไรที่คุณแม่หลายคนค่อนข้างชื่นชอบอยู่เหมือนกัน แต่เมื่อไหร่ที่เรากำลังอยู่ในช่วงของการมีเจ้าตัวเล็ก เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเราและลูกในท้อง เราก็อาจจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการกินไข่ที่ไม่ค่อยสุก และทางที่ดีก็อาจจะต้องเลือกกินในปริมาณที่เหมาะสมจะดีกว่า เพื่อที่สิ่งนี้จะได้ส่งผลดีต่อร่างกายของเราตามไปด้วย เพราะการกินไข่ไม่สุก หรือไข่ยางมะตูมหากเราระมัดระวังในการกินก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างเสี่ยงอยู่เหมือนกัน หรือคุณแม่บางคนก็อาจจะต้องเลือกกินไข่ต้มแทนจะดีกว่าค่ะ



ทำไมถึงควรกินไข่ตอนเช้า มาดูกัน

ในช่วงอาหารมื้อเช้า หรืออาหารมื้อแรกของวันหากคุณแม่ไม่รู้ว่าเราควรกินอะไรดี เราก็อาจจะเลือกกินเป็นเมนูไข่ในช่วงเช้าได้เลย เพราะสิ่งนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างดีต่อร่างกายมาก ๆ หลายคนคงอยากรู้เหตุผลแล้วใช่ไหมคะว่า กินไข่ต้มในตอนเช้าแล้วดียังไง เรามาดูคำตอบกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินข้าวหน้าเป็ดได้ไหม กินแล้วจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือเปล่า?



คนท้องกินไข่ยางมะตูมได้ไหม


1. ช่วยลดความอ้วน

การที่เราเลือกกินเมนูไข่ในช่วงเช้า เชื่อหรือไม่คะว่าสิ่งนี้จะเข้ามาช่วยควบคุมในเรื่องน้ำหนักให้กับเราได้ดีมาก ๆ นอกจากจะทำให้เรารู้สึกอิ่มนานมากขึ้นแล้วนั้น สิ่งนี้ยังช่วยทำให้เราได้รับโปรตีนเข้าไปในร่างกายค่อนข้างสูงเลยทีเดียว บอกเลยนะคะว่าเป็นอะไรที่ส่งผลดีต่อร่างกายมาก ๆ เลยทีเดียว



2. ช่วยส่งเสริมในเรื่องของความจำ

สิ่งที่น่าสนใจของการกินไข่ในช่วงเช้า ๆ ต้องบอกว่าสิ่งนี้จะเข้ามาช่วยส่งเสริมในเรื่องของความจำให้กับเราได้ หากใครที่เริ่มรู้สึกว่าเราเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของความจำ รวมถึงอยากมีความจำที่ดีขึ้นเราก็อาจจะเลือกกินไข่ในตอนเช้าได้เช่นเดียวกัน



3. ช่วยบำรุงสายตา

นอกจากนี้การที่เราเลือกกินเมนูไข่กันมากขึ้น สิ่งนี้ก็ยังสามารถช่วยบำรุงสายตาให้กับเราได้ดีมาก ๆ ด้วย เอาเป็นว่าหากใครที่กำลังมีปัญหาในเรื่องของสายตา หรือรู้สึกว่าสายตาของเราเริ่มเปลี่ยนแปลงไป หนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยให้อาการดีขึ้นเราก็อาจจะลองหันมากินไข่ได้เลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : โมลิบดีนัม วิตามินคนท้องที่สำคัญ หากขาดไป ร่างกายอาจทำงานไม่ปกติ !



เคล็ดลับ! กินไข่ยังไงให้ได้ประโยชน์

อย่างที่คุณแม่หลายคนเข้าใจกันดีค่ะว่า ไข่อาจเป็นวัตถุดิบที่ดีมีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันเราควรที่จะรู้จักวิธีการกินไข่ให้มากขึ้น รู้ว่าเราควรกินไข่แบบไหนดี เพื่อที่เราจะได้ปลอดภัย และสิ่งที่เรากินเข้าไปนั้นจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลัง เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ


คนท้องกินไข่ยางมะตูมได้ไหม


1. เก็บไข่ไว้ในตู้เย็น

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราซื้อไข่มาจากตลาด หรือร้านค้าสะดวกซื้อต่าง ๆ เราควรที่จะเก็บไข่ที่ซื้อมานั้น นำมาแช่ในตู้เย็นทิ้งไว้ เพื่อที่เราจะได้เก็บไข่ที่ซื้อมาไว้กินได้นานมากที่สุด แต่หากเมื่อไหร่ที่เราเก็บไข่ไว้ในอุณหภูมิปกติ หรือเก็บไข่ไว้ในอุณหภูมิที่สูงจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ไข่เกิดการเน่าเสียขึ้นมาได้ง่าย



2. กินในปริมาณที่เหมาะสม

สิ่งที่เราอาจจะต้องระวังต่อมาเลยคือ เราควรที่จะกินไข่ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่กินไข่ในปริมาณมากจนเกินไป หากเมื่อไหร่ก็ตามที่เรากินไข่ในปริมาณเยอะ ๆ หรือกินแทนเมนูอื่น ๆ จากที่จะส่งผลดีให้กับร่างกายของเรา สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้คุณแม่ขาดสารอาหารที่สำคัญจนป่วยเป็นโรคขึ้นมาได้เลย



3. หลีกเลี่ยงการซื้อไข่ที่มีรอยแตก

จากนั้นก่อนที่เราจะทำการเลือกซื้อไข่ ทางที่ดีเราควรที่จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงซื้อไข่ที่มีรอยร้าว หรือรอยแตก แต่ควรซื้อไข่ที่มีคุณภาพดี และไม่มีรอยแตกอะไรเลย ต้องบอกว่าหากเราเผลอไปซื้อไข่ที่มีรอยแตกขึ้นมา หรือเราไม่ได้ทำการสังเกตดูตรงนี้เลย ผลที่ตามมาก็อาจจะทำให้เราเผลอไปซื้อไข่ที่ไม่มีคุณภาพขึ้นมาได้


4. ล้างไข่ให้สะอาด

สิ่งที่เราอาจจะต้องคำนึงถึงต่อมาเลยคือ เราควรที่จะทำความสะอาดไข่ก่อนที่จะนำมาประกอบทำเป็นเมนูอาหารจะดีกว่า เพราะเมื่อไหร่ที่ไข่มีรอยเปื้อนต่าง ๆ และเราไม่ยอมนำมาล้างทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาประกอบทำเป็นเมนูอาหารแล้วล่ะก็ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เราเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนมีอาการท้องเสียขึ้นมาได้เหมือนกัน



เทคนิค! การต้มไข่ที่เรายังไม่เคยรู้ว่าก่อน

สำหรับเทคนิคการต้มไข่นั้น ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่เราควรให้ความสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน เพราะแต่ละคนอาจจะชอบความสุกของไข่ไม่เท่ากัน หากใครที่ชอบไข่ประมาณไหน เราก็สามารถเลือกได้ตามความชอบได้เลยนะคะ ส่วนเทคนิคการต้มไข่จะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินปูอัดได้ไหม ปูอัดคือสิ่งที่มีประโยชน์หรือเปล่า?


คนท้องกินไข่ยางมะตูมได้ไหม


1. ต้มไข่ 2 นาที

ต้องบอกว่าการที่เราต้มไข่ 2 นาที สิ่งนี้ไข่ที่เราต้มไปอาจจะยังไม่ได้ผ่านความร้อนขนาดนั้น หรือพูดง่าย ๆ ว่าไข่แดงอาจจะยังดิบอยู่ หรือที่ใครหลายคนชอบเรียกการต้มไข่ในลักษณะนี้ว่า “ไข่ลวก” นั่นเองค่ะ



2. ต้มไข่ 4 นาที

เมื่อเราทำการต้มไข่ในเวลาประมาณ 4 นาที ต้องบอกว่าไข่ที่เราต้มไปนั้นจะเริ่มผ่านความร้อนขึ้นมาหน่อย และไข่แดงก็จะมีความสุกขึ้นมานิดหน่อย แต่ยังไม่ถึงขั้นสุกมาก หรือที่เราเรียกกันว่า ไข่ยางมะตูม หากใครที่ชอบก็อาจจะลองทำตามกันดูนะคะ แต่ในขณะเดียวกันต้องระวังด้วยนะ



3. ต้มไข่ 6 นาที

ต้องบอกเลยนะคะว่าหากใครที่ไม่ค่อยชอบกินไข่ที่สุกมาก เราก็อาจจะเลือกต้มไข่ภายในเวลา 6 นาทีได้ ซึ่งการต้มไข่ในลักษณะแบบนี้ไข่ขาวจะมีความสุกเต็มที่ แต่ไข่แดงจะยังไม่ค่อยสุกเท่าไหร่ หรือมีความเหนียวหน่อย ๆ ก็ว่าได้



4. ต้มไข่ 8 นาที

ต่อมาการที่เราต้มไข่ในลักษณะแบบนี้อาจจะยังไม่ค่อยสุกมาก แต่ก็ถือว่าอยู่ในความอร่อยที่กำลังพอดีเลย หากใครที่ไม่อยากกินไข่แบบสุกมาก ๆ เราก็อาจจะต้มไข่เพียงเวลา 8 ได้เลย



5. ต้มไข่ 10 นาที

สำหรับบางคนแล้วการที่เราจะกินไข่ได้อร่อยก็ต้องเป็นไข่ที่สุกแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้นใครที่อยากจะกินไข่ที่ค่อนข้างสุกเต็มที่ ทั้งไข่ขาวและไข่แดงเราก็สามารถที่จะต้มไข่เป็นเวลา 10 นาทีได้เลยนะคะ บอกเลยว่าอร่อยแบบสุด ๆ



การที่เราจะกินเมนูไข่อะไรก็ตาม หากคุณแม่อยากที่จะกินไข่ให้ได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น เราก็อาจจะต้องพยายามเลือกกินไข่ที่ผ่านการปรุงสุกแล้วจะดีกว่า เพื่อที่ลูกน้อยของเราจะได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่ และเติบโตมาเป็นเด็กที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงนะคะ บอกเลยค่ะว่าหมดคำถามข้อสงสัย คนท้องกินไข่ยางมะตูมได้ไหม แน่นอน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องกินไข่นกกระทาได้ไหม สิ่งนี้เอาไปทำเมนูอะไรได้บ้าง?
คนท้องกินน้ำพริกปลาร้าได้ไหม เป็นเมนูที่ควรระวังหรือเปล่า?
คนท้องกินหม่าล่าได้ไหม เมนูแสนอร่อยที่แม่ทุกคนอยากลอง!
ที่มา : 1, 2