ฝึกลูกคลาน ตอนไหนดี? เคล็ดลับง่าย ๆ ที่ทำตามได้ไม่ยาก

ในช่วงพัฒนาการของเด็กนั้น ค่อนข้างที่จะมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีข้อแตกต่างไปตามช่วงอายุของเขา ซึ่งเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น พัฒนาการของเขาก็จะยิ 

 1420 views

ในช่วงพัฒนาการของเด็กนั้น ค่อนข้างที่จะมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีข้อแตกต่างไปตามช่วงอายุของเขา ซึ่งเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น พัฒนาการของเขาก็จะยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากรู้ว่าเด็กเริ่มคลานตอนไหน หรือเรามีเคล็ดลับ ฝึกลูกคลาน ครั้งแรกอย่างไรบ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ

 

เด็ก ๆ เริ่มคลานช่วงไหน?

เมื่อเด็ก ๆ เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยประมาณ 6 – 7 เดือน พัฒนาการของเขาก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีการเคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้น ซึ่งสำหรับเด็กบางคนก็อาจจะเริ่มจากการคว่ำเองได้ พยายามควบคุมร่างกายตัวเองด้วยมากขึ้น หรือบางคนก็อาจจะเริ่มมีขยับตัวคืบคลานเกิดขึ้น ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็อาจจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคนด้วยนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

 

ฝึกลูกคลาน

 

วิธีการสังเกตว่าลูกเริ่มคลานดูอย่างไร?

หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่อยากรู้วิธีการสังเกตว่าลูกของเราก่อนที่เขาจะเริ่มคลานนั้น เด็ก ๆ เขาจะมีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง หรือปัจจัยเหล่านี้กำลังบ่งบอกว่าลูกของเรากำลังฝึกคลานอยู่หรือเปล่า มาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 วิธีช่วยฝึกทารกทรงตัวทั้งนั่ง และเดิน ให้ลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย

1. เด็ก ๆ สามารถนั่งเองได้

หลังจากที่เราได้สังเกตพัฒนาการของลูกมาได้สักพัก แล้วอยู่ ๆ มาวันหนึ่งลูกของเราเริ่มที่จะฝึกนั่ง หรือสามารถนั่งได้ด้วยตัวเองโดยที่คุณพ่อคุณแม่ได้ไม่ประคองอะไรเลย สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบอกว่าเด็ก ๆ เริ่มที่จะคลานด้วยตัวเองได้

2. ศีรษะเริ่มตั้งตรง สามารถมองรอบ ๆ ได้

ต่อมาให้เราทำการสังเกตการตั้งศีรษะของลูก หากเด็ก ๆ เริ่มที่จะมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ หรือศีรษะของเขาเริ่มตั้งตรง ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ เริ่มอยากจะลองคลานดูสักครั้งก็ได้เหมือนกัน

 

ฝึกลูกคลาน

3. กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง

เมื่อลูกของเราเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 6 – 7 เดือน เด็ก ๆ วัยประมาณนี้กล้ามเนื้อของเขาจะมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณแขนและขา ซึ่งเด็ก ๆ เขาจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น บางคนก็อาจจะเริ่มมีการพยุงตัวเองขึ้นมาได้บ้าง ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้

4. เปลี่ยนท่านั่งให้เป็นท่าคลาน

หากอยู่ ๆ เด็ก ๆ เริ่มมีการเปลี่ยนท่าจากที่นั่งอยู่ดี ๆ เริ่มเปลี่ยนเป็นท่าคลาน พฤติกรรมเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ เริ่มที่จะอยากคลานเองได้แล้ว ซึ่งแรก ๆ เขาก็อาจจะต้องพยายามเปลี่ยนเป็นท่าคลานไปก่อน อาจจะยังไม่สามารถคลานไปได้ไกลเท่าไหร่ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เขาเริ่มฝึกไปเรื่อย ๆ เขาก็จะเริ่มพยุงตัวเองได้เอง

5. เรียนรู้จากการกลิ้งตัว

สำหรับเด็กบางคนแล้ว ก่อนที่เขาจะคลานได้ เขาก็อาจจะเรียนรู้จากการกลิ้งตัวก่อน ซึ่งการกลิ้งตัวในลักษณะนี้อาจจะกลิ้งตัวไปด้านหน้า ด้านหลัง หรือด้านข้าง จากนั้นเด็ก ๆ ก็อาจจะกลับมาอยู่ในท่านั่งได้เหมือนเดิมนั่นเอง

เคล็ดลับ ฝึกให้ลูกคลาน ครั้งแรกทำอย่างไรดี?

สิ่งนี้อาจเป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ค่อนข้างกังวล เพราะเด็ก ๆ แต่ละคนอาจจะมีช่วงที่คลานเองได้ไม่เหมือนกันสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นใครที่อยากจะลองฝึกให้เด็ก ๆ คลานเองได้ แต่ไม่รู้ว่าเราควรมีวิธีการฝึกลูก ๆ อย่างไรบ้าง เข้ามาอ่านกันเลยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีช่วยแก้ปัญหา เมื่อลูกรักกลายเป็นเด็ก “ขี้อาย”

ฝึกลูกคลาน

 

1. จัดบ้านหรือพื้นที่ให้เหมาะสม

อย่างแรกเลยก่อนที่เราจะฝึกให้เด็ก ๆ คลานเองได้นั้น พื้นที่ของการฝึกก็ค่อนข้างที่จะสำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ควรที่จะวางสิ่งของเกะกะ หรือพื้นที่ที่จะฝึกให้เด็ก ๆ คลานนั้นจะต้องเป็นพื้นที่กว้างขวาง ไม่มีเหลี่ยมมุมที่เป็นอันตราย นอกจากนี้เราอาจจะต้องทำการปูเบาะ หรือให้ลูกฝึกคลานในคอกกั้นเด็ก เพื่อที่เวลาเขาล้มจะได้ไม่รู้สึกเจ็บนะคะ


2. จัดท่าตั้งคลานให้ลูก

เมื่อลูกของเราเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยประมาณ 6 – 7 เดือน เด็ก ๆ ในช่วงประมาณนี้ก็อาจจะเริ่มมีการพลิกคว่ำเองได้ สำหรับเด็ก ๆ คนไหนที่ยังไม่คลาน คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะจัดท่าให้ลูกเริ่มตั้งคลานก่อน โดยอาจจะเริ่มจากการจับให้ลูกนอนคว่ำ พร้อมกับวางแขนและขาของเขาให้อยู่ในท่าคลานนั่นเองค่ะ

3. ใช้ของเล่นมาล่อ

สิ่งนี้ก็ค่อนข้างเป็นอะไรที่ช่วยฝึกให้เด็ก ๆ เริ่มอยากคลานขึ้นมามากเหมือนกัน เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะนำของเล่นหรือตุ๊กตาชิ้นโปรดของเด็ก ๆ มาล่อ หรือนำมาวางไว้บริเวณด้านหน้า ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เด็ก ๆ ต้องคลานไปเอาของเล่น หรือสิ่งที่เขาอยากได้ค่ะ

4. คลานไปกับลูก

หากเราอยากฝึกให้เด็ก ๆ สามารถคลานเองได้อีกหนึ่งวิธีคุณพ่อหรือคุณมาอาจจะต้องลองคลานไปพร้อมกับเด็ก ๆ ค่ะ เพราะด้วยความที่เขายังเป็นเด็ก เขาก็อาจจะมีการเลียนแบบหรือทำตามในสิ่งที่เขาเห็น  นอกจากเขาจะคลานได้เร็วขึ้นแล้ว สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกสนุกกับการฝึกคลานในครั้งนี้ด้วยนะคะ

5. คอยให้กำลังใจเด็ก ๆ

ในระหว่างการฝึกเด็ก ๆ คลานนั้น การที่เราคอยให้กำลังใจลูกถือเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องคอยส่งเสียงเชียร์ หรือคอยกอดเขาในช่วงเวลาที่เขาล้ม เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้รู้สึกปลอดภัย และมีความมั่นใจในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นนะคะ

 

 

เคล็ดลับฝึกลูกหลาน และวิธีการสังเกตเด็ก ๆ ที่เราได้นำมาฝากในวันนี้ น่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนคลายความกังวลขึ้นมาบ้าง ยังไงลองฝึกเด็ก ๆ และอย่าลืมดูสุขภาพของเด็ก ๆ กันด้วยนะคะ เชื่อว่าเขาจะต้องทำได้และเติบโตมาเป็นเด็กที่ดีอย่างแน่นอนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ปัญหาเด็กยุคใหม่ ลูกติดมือถือ จับไม่ยอมวาง ทำอย่างไรดี ?
เทคนิคการบวกลบเลข ที่เด็กประถมควรรู้ไว้ พร้อมแบบทดสอบง่าย ๆ
ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

ที่มา : 1, 2, 3