4 วิธีเคล็ดไม่ลับ เพิ่มส่วนสูง ให้ลูกน้อยเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ

ลูกของเราตัวเล็กไปหรือเปล่า ตัวเตี้ยไปไหมถ้าเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจกำลังมองหาวิธีที่จะช่วย เพิ่มส่วนสูง ให้กับลูกน้ 

 1702 views

ลูกของเราตัวเล็กไปหรือเปล่า ตัวเตี้ยไปไหมถ้าเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจกำลังมองหาวิธีที่จะช่วย เพิ่มส่วนสูง ให้กับลูกน้อยอยู่ ซึ่งวิธีที่จะช่วยได้นั้นมีอยู่หลายวิธี แต่ทุกวิธีเป็นสิ่งที่เราอาจรู้อยู่แล้ว แต่แค่มองข้าม หรือไม่ได้ทำอย่างถูกต้องเท่านั้นเอง

แบบไหนที่เรียกว่าตัวสูงสำหรับเด็ก

คุณพ่อคุณแม่อาจกำลังคิดว่าลูกของตนไม่สูง จนอยากช่วย เพิ่มส่วนสูง ให้กับลูก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วลูกของเราอาจไม่ได้ตัวเตี้ยอย่างที่คิด  เนื่องจากลูกน้อยของเราอาจมีเพื่อนเป็นเด็กที่มีความสูงมากกว่าเกณฑ์ จนทำให้เกิดการเปรียบเทียบโดยไม่รู้ตัว หรืออาจเป็นการเข้าใจผิดเกี่ยวกับเกณฑ์ความสูงของลูก อาจทำให้ความเข้าใจเรื่องส่วนสูงเด็กคลาดเคลื่อนได้ เพราะแท้จริงแล้วลูกของเราอาจไม่ได้ตัวเตี้ยอย่างที่คิด โดยให้ลองเทียบง่าย ๆ จากตารางด้านล่างนี้

ตารางเทียบความสูงเด็กเล็กอายุแรกเกิด – 1 ปี

อายุเด็กส่วนสูงเด็กเพศชาย (เซนติเมตร)ส่วนสูงเด็กเพศหญิง (เซนติเมตร)
เด็กช่วงแรกเกิด47.6 – 53.146.8 – 52.9
1 เดือน50.4 – 56.249.4 – 56.0
2 เดือน53.2 – 59.152.0 – 59.0
3 เดือน55.7 – 61.954.4 – 61.8
4 เดือน58.1 – 64.656.8 – 64.5
5 เดือน60.4 – 67.158.9 – 66.9
6 เดือน62.4 – 69.260.9 – 69.1
7 เดือน64.2 – 71.362.6 – 71.1
8 เดือน65.9 – 73.264.2 – 72.8
9 เดือน67.4 – 75.065.5 – 74.5
10 เดือน68.9 – 76.766.7 – 76.1
11 เดือน70.2 – 78.267.7 – 77.6
1 ปี71.5 – 79.768.8 – 78.9



วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

ตารางเทียบความสูงเด็กเล็กอายุ 1 ปี – 18 ปี

อายุเด็กส่วนสูงเด็กเพศชาย (เซนติเมตร)ส่วนสูงเด็กเพศหญิง (เซนติเมตร)
1 ปี71 – 7968 – 78
2 ปี81 – 9279 – 91
3 ปี88 – 10186 – 100
4 ปี95 – 11093 – 108
5 ปี103 – 11799 – 115
6 ปี106 – 124105 – 122
7 ปี112 – 130110 – 129
8 ปี117 – 135115 – 135
9 ปี121 – 141120 – 141
10 ปี125 – 146125 – 148
11 ปี129 – 153130 – 155
12 ปี134 – 160135 – 160
13 ปี139 – 168140 – 162
14 ปี145 – 173144 – 165
15 ปี152 – 176146 – 165
16 ปี157 – 178147 – 166
17 ปี159 – 180148 – 166
18 ปี161 – 180150 – 167


ในช่วงวัยรุ่นทั้งเด็กเพศชาย และเพศหญิงจะมีระยะเวลาเพิ่มความสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 2 ปีเท่านั้น โดยในช่วงวัยรุ่นเด็กเพศหญิงจะมีอัตราความสูงที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กเพศชาย

4 วิธีช่วยเพิ่มส่วนสูงให้กับลูกน้อย ทำได้ไม่ยาก

การเพิ่มส่วนสูงให้กับลูกนั้น เป็นการให้ความสำคัญกับกิจวัตรประจำวันของเด็ก ๆ ทั้งเรื่องการนอนพักผ่อน การทานอาหารในแต่ละมื้อ หรือจะเป็นการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ต้องเน้นให้เกิดประโยชน์ต่อรพัฒนาการทางร่างกาย

1. ดูแลเรื่องมื้ออาหารให้เหมาะสม

ให้ความสำคัญกับการทานอาหารประเภทโปรตีน สามารถพบได้ใน เนื้อสัตว์, นม และไข่ เนื่องจากเป็นโปรตีนที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งแตกต่างจากอาหารประเภทผัก เพราะในผักจะขาดกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อร่างกายบางชนิด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทานเนื้อสัตว์อย่างเดียว การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ยังเป็นความสำคัญอยู่ แต่อาจแบ่งบางมื้ออาหารให้มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์มากขึ้นเท่านั้นเอง

นอกจากโปรตีนแล้ว ยังมีสารอาหารประเภทแคลเซียม ซึ่งพบได้ในคะน้า, งา, นมถั่วเหลือง และอัลมอนด์ หรือในเนื้อปลาต่าง ๆ เช่น ปลาซาดีน หรือแซลมอน เป็นต้น เพราะแคลเซียมมีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ส่งผลให้ลูกมีความสูงที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

เพิ่มส่วนสูง


2. ลดขนมขบเคี้ยว และน้ำหวาน น้ำอัดลม

อาหารเหล่านี้เป็นของคู่กันของเด็ก ๆ อยู่แล้ว เพราะทานได้ง่าย และมีรสชาติอร่อย แต่อาหารประเภทนี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะเด็ก ๆ เนื่องจากไม่ได้มีส่วนช่วยในพัฒนาการด้านใด ๆ ของเด็กเล็ก แน่นอนว่าจะไม่ช่วยให้ลูกสูงขึ้นด้วย ในทางกลับกัน จะสร้างผลร้ายต่อร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิดโรคอ้วน, โรคเบาหวาน หรือโรคไต เป็นต้น แต่ด้วยความเป็นเด็กอาจเกิดการต่อต้าน และเต็มไปด้วยความสงสัย จึงมีควรบังคับลูกให้เลิกทาน แต่ควรจำกัดปริมาณต่อครั้งให้มีความเหมาะสม วิธีนี้จะได้ผลมากกว่า

3. ชวนลูกออกกำลังกายเป็นประจำ

การจะให้เด็กเล็กได้มีโอกาสออกกำลังกายด้วยตนเอง อาจไม่ได้เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ อาจต้องให้คุณพ่อคุณแม่เป็นคนชวนเด็กออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายสำหรับเด็ก ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่ผู้ใหญ่ทำเสมอไป เช่น การชวนลูกเล่นวิ่งไล่จับ หรือการพาลูกไปสนามเด็กเล็ก กิจกรรมง่าย ๆ เหล่านี้ก็มีส่วนช่วยพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กเล็กได้เช่นกัน แต่เมื่อเด็กโตขึ้นพอจะเรียนรู้กีฬาอื่น ๆ ได้ สามารถให้ลูกกระโดดเชือก, ว่ายน้ำ หรือบาสเกตบอล เป็นต้น โดยให้ออกกำลังกายในแต่ละครั้งประมาณ 30 นาที

4. ให้ความสำคัญกับการนอน

ช่วงวัยเด็กในเวลานอน หรือช่วงที่ร่างกายพักผ่อนจะทำการหลั่งฮอร์โมน Growth Hormone ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถเติบโตได้ตามวัยอย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงต้องบริหารเวลาชีวิตให้ดี ควรให้ลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญก่อน เช่น ทำการบ้าน หรืออ่านหนังสือ และพักผ่อน โดยมีเกณฑ์จำนวนชั่วโมงการนอน ดังนี้

ตารางเกณฑ์การนอนหลับของเด็ก

อายุเด็กเวลานาน (ชั่วโมง)
เด็กแรกเกิด – 3 เดือน14 – 17
4 – 11 เดือน12 – 15
1 – 2 ปี11 – 14
3 – 5 ปี10 – 13
6 – 13 ปี9 – 11
14 – 17 ปี8 – 10
18 ปีขึ้นไป7 – 9


วิธีเหล่านี้ช่วย เพิ่มส่วนสูง ให้ลูกได้ก็จริง แต่หากมีความจริงจังมากเกินไป อาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัด และเกิดความไม่เข้าใจได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องวางแผนให้พอดี ไม่ให้ตึงหรือหย่อนมากจนเกินไป

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

7 วิธีแก้อาการหลังลูก “เบื่ออาหาร” ให้กลับมามีความสุขกับมื้ออาหารอีกครั้ง

6 วิธีแก้ปัญหาลูกน้อยไม่ยอม “ขอโทษ” เมื่อตนเองทำความผิด แก้ได้แต่ต้องเข้าใจ

ทำไมลูกตัวน้อยจึงชอบ “โกหก” พาคุณพ่อคุณแม่มาหาคำตอบกัน

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5