สำหรับช่วงอายุการตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ ช่วงนี้ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวถี่ขึ้น และตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อ คุณแม่ ดังนั้นวันนี้เราจะพาไปคลายข้อสงสัยกันค่ะ ว่าสำหรับช่วง ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์นั้นเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงร่างกายของคุณแม่นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 25 สัปดาห์
- ความยาวทารกจะเพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่ 22 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 700 กรัม
- ทารกในครรภ์อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- หัวใจทารกจะเต้นประมาณ 140 ครั้ง/นาที
- ทารกในครรภ์สามารถได้ยินเสียง หรือตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อ คุณแม่ ได้แล้ว
- ระบบประสาทสัมผัส เซลล์สมอง และระบบหายใจของทารกยังคงพัฒนาต่อเนื่อง
- ลูกจะเริ่มดิ้นชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงนี้
- ในช่วงนี้ทารกกำลังเรียนรู้วิธีหายใจ
- ผิวหนังที่เคยเหี่ยวย่นของทารก จะค่อย ๆ เรียบตึง และหน้าตาจะเริ่มใกล้เคียงกับทารกแรกเกิด
ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ?
- ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่ในสัปดาห์นี้จะโค้งมนเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
- เรื่องของการนอน ซึ่งอาจจะทำให้นอนลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากท้องของคุณแม่ก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น เวลาลูกดิ้น ก็อาจจะทำให้นอนไม่ค่อยหลับ และไม่สบายตัว
- อาการปวดหลัง อาการปวดหลังถือเป็นอาการส่วนใหญ่ที่คุณแม่ท้องต้องพบเจอ เนื่องจากน้ำหนักของอายุครรภ์ที่มากขึ้น
- โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงตั้งครรภ์ จะเป็นริดสีดวงระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากเส้นเลือดบริเวณทวารหนักบวม จากการกดทับของมดลูก ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดีเท่าที่ควร
- คุณแม่จะมีอาการท้องอืดบ่อยขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนอาจส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง
- ปัสสาวะบ่อย ก็จะเป็นอีกหนึ่งอาการที่คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ ต้องเผชิญ เพราะเมื่อท้องเริ่มใหญ่ นั่นเท่ากับว่าร่างกายของทารกก็จะโตขึ้น ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ผิวพรรณคล้ำง่าย ผิวพรรณของคุณแม่ในช่วงนี้ตั้งครรภ์จะมีสีคล้ำขึ้นง่าย เนื่องจากฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลง อาจมีรอยดำตามข้อพับ ขาหนีบ รักแร้ หัวนม เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2
เคล็ดลับดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์
เสื้อผ้า
- เมื่อคุณแม่มีหน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมอย่างชุดคลุมท้อง เพื่อที่จะได้ช่วยให้คุณแม่ไม่รู้สึกอึดอัดเวลาใส่เสื้อผ้า
วิธีการนอน
- สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เนื่องจากท้องจะมีขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นคุณแม่ควรฝึกการนอนตะแคงข้างซ้ายให้ชิน ไม่ควรนอนหงายเพราะมดลูกจะกดทับหลัง ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
ทานอาหารเพื่อสุขภาพ
- คุณแม่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ที่หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ และต้องทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะเมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีความอยากอาหารมากยิ่งขึ้น ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรตามใจปากมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้น้ำหนักเกินมาตรฐานได้ อาหารที่คุณแม่ควรเน้น ก็จะเป็นอาหารจำพวก ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ ที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม โฟเลต โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เหล็ก วิตามิน เป็นต้นเพื่อที่จะได้ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ให้แข็งแรง
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย ควรดื่มน้ำวันละ 2 – 2.5 ลิตรต่อวัน แนะนำให้ดื่มทีละน้อย ๆ ไม่ควรดื่มรวดเดียวในปริมาณที่มาก ซึ่งการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายนั้น จะช่วยลดอาการท้องผูก และปัญหาในการขับถ่ายในภายหลังสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรที่จะต้องระมัดระวัง ในเรื่องของอาหารเป็นพิเศษ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้ ดังนั้นอาหารส่วนใหญ่ที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงก็จะเป็นอาหารจำพวก ที่ไม่สุกหรือกึ่งดิบ หรือของหมักดอง ส่วนใหญ่ที่ผ่านกรรมวิธีการทำที่ไม่สะอาด อาหารที่มีน้ำตาลมาก หรือแอลกอฮอล์เพราะอาหารเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะช่วยให้อวัยวะการทำงานภายในร่างกายของคุณแม่แข็งแรง และอาจส่งผลดีต่อร่างกายหลังคลอดอีกด้วยค่ะ แต่คุณแม่ควรที่จะต้องออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและพอดีด้วยนะคะ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และภาวะตั้งครรภ์เสี่ยงก่อนการออกกำลังกายด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวคุณแม่และลูกในท้อง ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหมเกินไป สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ หรือไตรมาสที่ 2 แนะนำให้ออกกำลังกายเฉพาะ ได้แก่ การเดิน พิลาทิส หรือโยคะ เป็นต้น
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 25 สัปดาห์หรือไตรมาสที่ 2 กันนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1
ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1