ท้อง 7 เดือน ท้องแข็งบ่อย สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ ?

เมื่อตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน ก็ถือว่าคุณแม่ได้เริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 แล้ว ซึ่งเป็นช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ก็จะมี 

 2195 views

เมื่อตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน ก็ถือว่าคุณแม่ได้เริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 แล้ว ซึ่งเป็นช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นรวมถึงลูกน้อยในครรภ์ก็จะมีพัฒนาการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน สำหรับคุณแม่ที่เข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ 7 เดือน มดลูกก็จะเริ่มขยายตัวมากยิ่งขึ้น และบางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าบริเวณท้องนั้นมีความแข็งเกิดขึ้น สาเหตุนั้นอาจเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นครั้งคราว แต่สำหรับคุณแม่ ท้อง 7 เดือน ท้องแข็งบ่อย นั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุ มาตามไปคลายข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอาการท้องแข็งไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

อาการคน ท้อง 7 เดือน เป็นอย่างไร ?

สำหรับคุณแม่ที่ ท้อง 7 เดือน อาจจะต้องพบเจอการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • เรื่องของการนอน ซึ่งอาจจะทำให้นอนลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากท้องของคุณแม่ก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น เวลาลูกดิ้น ก็อาจจะทำให้นอนไม่ค่อยหลับ และไม่สบายตัว 
  • อาการปวดหลัง อาการปวดหลังถือเป็นอาการส่วนใหญ่ที่คุณแม่ท้องต้องพบเจอ เนื่องจากน้ำหนักของอายุครรภ์ที่มากขึ้น และจะมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะฮอร์โมนในร่างกายจะทำการคลายข้อต่อที่เชื่อมกระดูกเชิงกรานทั้งสองข้าง เพื่อรองรับน้ำหนักและเตรียมพร้อมเชิงกรานสำหรับการคลอด
  • ปัสสาวะบ่อย ก็จะเป็นอีกหนึ่งอาการที่คุณแม่ท้อง 7 เดือน ต้องเผชิญ เพราะเมื่อท้องเริ่มใหญ่ นั่นเท่ากับว่าร่างกายของทารกก็จะโตขึ้น ทำให้เกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • อาการอ่อนเพลีย พออายุครรภ์เริ่มเยอะขึ้น ขนาดท้องก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น และน้ำหนักตัวก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ก็จะยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่ายกว่าปกติ

พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 7 เดือน

  • อวัยวะเพศ ทารกในครรภ์มีการแบ่งเพศชายหญิงขึ้นอย่างชัดเจน ในทารกเพศหญิงจะมีการพัฒนาช่องคลอดขึ้นมาจนเป็นร่องลึก ในทารกเพศชายจะมีการพัฒนาลูกอัณฑะขึ้นมา
  • ทารกสามารถขยับนิ้ว กำมือ และมีการพัฒนาลายนิ้วมือที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองขึ้นมา
  • ทารกเริ่มลืมตา และระบบนัยน์ตาพัฒนาขึ้นเกือบสมบูรณ์ แต่สีของนัยน์ตายังไม่ใช่สีที่ถาวร ซึ่งต้องหลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว 2-3 เดือน ถึงจะมีการปรากฏขึ้นมาว่าสีนัยน์ตาที่แท้จริงเป็นสีไหน เช่น ดำ น้ำตาล ฟ้า เขียว เป็นต้น
  • เซลล์สมองและระบบประสาท ช่วงนี้สมองของทารกพัฒนาขึ้นจนโตเต็มกะโหลกศีรษะ และมีร่องหยักบนเนื้อสมอง ส่วน เซลล์ประสาทเชื่อมโยงเครือข่ายกันอย่างสมบูรณ์ เริ่มมีไขมันห่อหุ้มเส้นประสาทเหมือนกับที่ไขสันหลัง
  • ทารกเริ่มมีผิวที่หนาขึ้น เพราะมีไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้นมาก
  • ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเริ่มทำงาน
  • ขนอ่อนตามร่างกายเริ่มหลุดร่วง มีเหลือไว้เฉพาะที่บริเวณไหล่ และหลัง
  • ทารกจะปัสสาวะลงในน้ำคร่ำประมาณวันละครึ่งลิตร
  • ทารกในครรภ์ที่มีอายุ 7 เดือนมักจะขยับตัวประมาณ 10 ครั้ง ภายใน 2 ชั่วโมง
  • ทารกจะมีขนาดประมาณ 36 เซนติเมตร และน้ำหนักลูกในครรภ์ 7 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 900 – 1800 กรัม
ท้อง 7 เดือน ท้องแข็งบ่อย

อาการท้องแข็งเป็นอย่างไร ?

อาการท้องแข็ง คือ อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายของคุณแม่นั้นพร้อมที่จะคลอดลูกแล้ว ซึ่งเกิดจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ไปกระตุ้นให้มดลูกส่วนต้นหดรัดตัว โดยคุณแม่ก็อาจจะมีอาการแน่นท้อง และรู้สึกว่าหน้าท้องแข็งเมื่อสัมผัส และจะมีอาการปวดท้องคล้ายกับปวดประจำเดือน ซึ่งอาการท้องแข็งจะพบได้บ่อยสำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการท้องแข็งนั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ว่าอาการปวดท้องแข็งมาจากการที่คุณแม่ใกล้จะคลอดจริง ๆ หรือเป็นเพียงอาการท้องแข็งหลอก หรือเจ็บท้องเตือนเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการคน ท้อง 7 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์ เป็นอย่างไร ?

 

ท้อง 7 เดือน ท้องแข็งบ่อย สาเหตุเกิดจากอะไร ?

ท้อง 7 เดือน ท้องแข็งบ่อย นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สามารถแบ่งได้คร่าว ๆ ดังนี้

  • มดลูกบีบตัว
  • ความเครียดขณะตั้งครรภ์
  • ทารกในครรภ์ดิ้นแรง พลิกตัวแรง หรือโก่งตัว
  • กินอาหารอิ่มจนเกินไป
  • กลั้นปัสสาวะ
ท้อง 7 เดือน ท้องแข็งบ่อย

ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย มีวิธีแก้อาการอย่างไรบ้าง ?

  • สำหรับคนท้องที่มีอาการท้องแข็ง ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ หากปวดปัสสาวะให้เข้าห้องน้ำทันที เพราะถ้าหากยิ่งกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ นาน ๆ ก็ยิ่งเสี่ยงจะทำให้เกิดอาการท้องแข็งมากยิ่งขึ้น 
  • ไม่ควรทานอาหารอิ่มจนเกินไป ควรทานอาหารในปริมาณที่พอดี เพราะถ้าหากทานอาหารมากเกินไป อาจส่งผลให้อาหารไม่ย่อย ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ จนทำให้เกิดอาการท้องแข็งได้
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาส 3 หรือระมัดระวังการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงท่าโลดโผนเกินไป เพราะอาจไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว และทำให้เกิดอาการท้องแข็งได้
  • หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เพื่อไม่ให้ตัวเองเครียด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้อง 7 เดือนมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม อันตรายหรือไม่ ?

 

อาการท้องแข็งแบบไหนที่ต้องรีบพบแพทย์

หากยังไม่ถึงกำหนดคลอด และมีอาการท้องแข็ง แต่ไม่มีอาการปวด หรือท้องแข็งบ่อยเกิน 3-4 ครั้งต่อวัน ซึ่งอาการท้องแข็งจะมีอาการปวดทุก ๆ 5-10 นาที แต่ถ้ามีอาการปวดเกิดขึ้นและยังไม่ถึง 5 นาที ก็ปวดขึ้นมาอีก หากเกิดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ควรไปพบแพทย์ทันที

 

สำหรับคุณแม่ที่ท้อง 7 เดือน เมื่อมีอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะต้องยิ่งหมั่นดูแลสุขภาพ และต้องคอยหมั่นสังเกตร่างกายตัวเองและทารกในครรภ์อยู่เรื่อย ๆ แต่ถ้าหากสังเกตเห็นถึงความปกติของตัวเอง หรือทารกในครรภ์ แนะนำให้รีบพบแพทย์ทันทีค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ระยะแรก ที่คุณแม่ต้องรับมือ

ตั้งครรภ์ 2 เดือน ท้องใหญ่แค่ไหน มีอาการอย่างไร?

แม่ท้อง 9 เดือนปัสสาวะไม่สุด อย่ารอช้า เสี่ยงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4 , 5