ในช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอารมณ์ หรือด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ร่างกายขยายใหญ่ขึ้น และรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเต้านม ด้วยเช่นเดียวกัน วันนี้ Mamastory ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ เต้านมคนท้อง มาฝาก ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
มาทำความรู้จักเต้านมของแม่ท้องกัน
เรามาดูกันว่าส่วนต่าง ๆ ของเต้านม เรียกว่าอะไรกันบ้าง
- เต้านม เป็นการเรียกรวมบริเวณเต้านมของแม่ท้องทั้งหมด
- หัวนม เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากเต้านม มีลักษณะเป็นติ่งยื่นออกมาประมาณ 0.5 เซนติเมตร มีสีเข้ม อยู่บริเวณกลางนม ซึ่งส่วนปลายจะมีรู โดยปกติในผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ในแม่ท้องนั้นหัวนม จะเป็นส่วนเป็นที่ลำเลียงน้ำนมให้ไหลออกมา
- ลานนม เป็นเนื้อตรงบริเวณหัวนม มีสีเข้ม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของปานนมนั่นเอง ซึ่งขณะตั้งครรภ์ลานนมจะ ขยายใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
- ต่อมน้ำนม เป็นส่วนที่สร้างน้ำนม ให้ลูกน้อยนั่นเองจะอยู่ภายในเต้านมของแม่ ๆ
- กระเปาะนม เป็นส่วนที่กักเก็บน้ำนมที่ต่อมน้ำนมผลิตออกมา ซึ่งน้ำนมจะถูกกักเก็บไว้ในกระเปาะน้ำนม จนกว่าลูกจะดูดออกมา ดังนั้นถึงแม้ลูกน้อยยังไม่หิวนม คุณแม่ก็ควรที่จะปั๊มนมเก็บไว้ เพื่อเป็นการรีดน้ำนมเก่าออก ให้มีที่พร้อมผลิตน้ำนมใหม่นั่นเอง
เต้านมแม่เปลี่ยนไปอย่างไร
ตั้งแต่ช่วงที่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่สามารถสังเกตเห็นได้เลยคือ อาการคัดเต้านม คล้าย ๆ กับตอนช่วงเป็นประจำเดือน นั่นก็เป็นเพราะว่าเต้านมของแม่ท้องเริ่มมีการขยายใหญ่ขึ้นนั่นเอง และจะขยายขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาของการตั้งครรภ์ และไม่ใช่เพียงเต้านมที่มีการเปลี่ยนแปลง บริเวณหัวนมเช่นเดียวกัน ด้วยสีที่มีความเข้ม หรือคล้ำมากยิ่งขึ้น และความรู้สึกบริเวณหัวนมจะไวต่อความรู้ขึ้นเป็นพิเศษ นั่นก็เป็นเพราะ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว ร่างกายจะทำการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงออกมามากยิ่งขึ้น เพราะรองรับการตั้งครรภ์ต่อไปค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เต้านมคัด ปวดเต้านม รับมืออย่างไร จะเป็นอันตรายไหม?
5 การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
- หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นและหัวนมไวต่อความรู้สึก ความเปลี่ยนแปลงของ เต้านมคนท้อง นี้สามารถเห็นได้ตั้งแต่มีการปฏิสนธิเลยทีเดียว และจะค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดตามระยะเวลา สาเหตุมาจากการที่บริเวณเต้านม มีเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนมากยิ่งขึ้น ก็เป็นเหมือนการเตรียมตัวที่จะสร้างระบบการผลิตน้ำนม หรือเรียกว่าเป็นการกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำนมนั่นเอง แนะนำให้คุณแม่หาเสื้อในที่ไม่รัดจนเกินไป จะได้ไม่เกิดอาการเสียดสีจนเจ็บ เพราะหัวนมของแม่ท้องนั้นก็จะไวต่อความรู้สึกมากขึ้นเหมือนกัน นอกจากนี้แล้วแม่ท้องยังอาจมีอาการเจ็บจี๊ด ๆ บริเวณเต้านมและหัวนมด้วย อาการจะคล้ายกับตอนที่เจ็บหน้าอก ตอนประจำเดือนมาเลยค่ะ
- น้ำนมไหล ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติเลย หากแม่ท้องมีอาการน้ำนมไหล ซึ่งจะสามารถพบได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ซึ่งน้ำนมนั้นมีสีออกเหลือง อุดมไปด้วยสารที่ช่วยสร้างภูมิต้านทาน มีชื่อว่า คอลลอสตรัม
- เส้นเลือดปูดและสีเข้มจนเห็นได้ชัด อย่างที่ได้บอกไปว่าเมื่อภายในเต้านมของคุณแม่นั้น มีเลือดไปไหลเวียนมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการที่หน้าอกขนายใหญ่ทำให้ผิวหนังของแม่ท้องบางลง ทำให้เห็นเส้นเลือดชัดเจนมากยิ่งขึ้นได้
- คลำแล้วเจอก้อนบริเวณเต้านม แม่ท้องหลาย ๆ คนคงจะตกใจ เมื่อคลำบริเวณเต้านมแล้วเจอก้อน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนั่นคือ ถุงบรรจุนม หรือ Galactoceles ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดค่ะ แต่ถ้าหากมีอาการเจ็บร่วมด้วยจนทนไม่ไหว ให้ไปปรึกษาหมอได้เลย
- เต้านมแตกลาย ในแม่ท้องบางคนที่ขนาดของเต้านมขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว ไม่แปลกเลยที่เต้านมจะแตกลาย ดังนั้นควรรักษาความชุ่มชื้นให้ดีตั้งแต่เริ่มรู้สึกคัดหน้าอก เพื่อป้องกันการแตกลายที่ตามมาทีหลังได้นะคะ ใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ที่มีส่วนผสมของวิตามินอี และมอยส์เจอไรเซอร์ ทาเป็นประจำ
หัวนมเปลี่ยนแปลงบ้างไหม?
ในไตรมาสแรกหัวนมก็ขยายใหญ่ขึ้นและมีสีคล้ำขึ้น และมีความไวต่อความรู้สึก คล้าย ๆ กับตอนประจำเดือนมา ส่วนในช่วงไตรมาสที่สอง ในแม่ท้องบางรายอาจมีของเหลว สีออกเหลือง ๆ ไหลออกมาบริเวณหัวนม ซึ่งเรียกว่า น้ำนมเหลือง (Colostrum) ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะถึงแม้จะยังไม่คลอด แต่ร่างกายของแม่ท้องยังมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน อย่างต่อเนื่อง และในไตรมาสสุดท้าย ลานนมและหัวนมจะมีความคล้ำมากยิ่งขึ้น และอาจมีน้ำนมไหลมากขึ้นด้วยค่ะ
กระบวนการผลิตน้ำนมของเต้านมคนท้อง!
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เมื่อคลอดลูกแล้วนั้น ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายของแม่ท้องจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความสามารถในการผลิตน้ำนมนั้นลดลง สิ่งที่จะสามารถกระตุ้นกระบวนการผลิตน้ำนมของแม่ท้อง คือการให้ลูกดูดนมจากเต้านั่นเอง เพราะเป็นการไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมน โปรแลคติน ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมได้ และจะสามารถผลิตอย่างสมบูรณ์ หลังการคลอดภายใน 5 วัน ดังนั้นในช่วงอาทิตย์แรก อย่าลืมให้ลูกดื่มนมจากเต้าเป็นประจำนะคะ!
นอกจากนี้แล้วเมื่อน้ำนมสามารถสร้างได้อย่างอัตโนมัติ ต่อมน้ำนมก็จะทำการผลิตน้ำนมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อทดแทนที่ลูกน้อยดูดออกไป และหากไม่มีการดูด หรือการปั๊มเป็นประจำ แม่ท้องจะมีอาการคัด ตึงเต้านมได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : นวดเต้านม เทคนิคการนวดเพื่อเพิ่มน้ำนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมหลังนวด
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ได้รับเกร็ดความรู้ เรื่อง นม ๆ กันไปแล้ว คลายความสงสัยได้บ้างหรือเปล่า แม่ท้อง หรือใครที่กำลังวางแผนจะมีลูก ก็ไม่ต้องเป็นกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย อย่างเต้านม ไปเลยนะคะ เป็นเรื่องปกติที่แม่ท้องทุกคนต้องเจอกันอยู่แล้ว มาเตรียมตัวบำรุงร่างกายให้สุขภาพแข็งแรงกันดีกว่าค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีสังเกตคนท้องระยะแรก ดูยังไง? อาการแบบนี้เรียกว่าท้องหรือเปล่า
คนท้องกินน้ำตาลเทียมได้ไหม กินแล้วเป็นอันตรายหรือไม่! มาดูกัน
ทำอย่างไร? เมื่อแม่ท้องอยากกินขนม คนท้องกินผักอบกรอบได้ไหม มีประโยชน์หรือเปล่า