วางแผนการเงินตอนท้อง ทำยังไงดี? สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ

ก่อนที่เราจะมีเจ้าตัวเล็ก แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องมีการวางแผนสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาด้วย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในตอนนี้ หนึ่ 

 1416 views

ก่อนที่เราจะมีเจ้าตัวเล็ก แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องมีการวางแผนสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาด้วย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในตอนนี้ หนึ่งในนั้นอาจจะรวมถึงการ วางแผนการเงินตอนท้อง ไปด้วย หากคุณแม่คนไหนที่อยากรู้วิธีการวางแผนการเงิน เพื่อที่เราจะได้ทำการเตรียมตัวและสามารถรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เอาเป็นว่าเรามา วางแผนการเงินตอนท้อง ไปพร้อมกันเลยนะคะ


วางแผนการเงินตอนท้อง

วางแผนการเงินตอนท้อง แบบง่าย ๆ ทำตามได้ไม่ยาก

หากพูดถึงเรื่องการเก็บตังค์สำหรับคุณพ่อคุณแม่บางคนแล้วก็ค่อนข้างเป็นกังวลใจเรื่องนี้มาก ๆ เหมือนกัน ไม่รู้ว่าเราควรวางแผนการเก็บเงินยังไง เพื่อที่เราจะได้ไม่รู้สึกเดือดร้อน หรือไม่ได้มีปัญหาตามมาทีหลัง ขอบอกเลยว่าเราวางแผนทางการเงินที่เราได้นำมาฝากในวันนี้ ไม่ได้ดูยากไปสำหรับคุณแม่แน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง : เรื่องน่ารู้! บล็อกหลังคลอด ตัวช่วยบรรเทาความเจ็บปวด สำหรับแม่ท้องคลอดลูก



 1. เก็บเงินสำรองให้เพียงพอ

การที่เราจะมีเจ้าตัวเล็กขึ้นมาอีกคน นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องวางแผนสิ่งต่าง ๆ ไปแล้วนั้น แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องวางแผนเรื่องการเงินของเราตามไปด้วย เพื่อที่เราจะได้มีเงินเลือกดูลูกในช่วงที่เราหยุดงาน หรือช่วงลาคลอด โดยเราอาจจะต้องทำการสำรองเงินเก็บไว้ด้วย ซึ่งอย่างน้อยอาจจะต้องสำรองเงินไว้ประมาณ 6 เดือน เพื่อที่เราจะได้ไม่เดือดร้อน และไม่มีปัญหาตามมาทีหลังนั่นเองค่ะ

2. วางแผนการเงินช่วงลาคลอด

สิ่งที่คุณแม่จะต้องดูต่อมาเลยคือ วางแผนการเงินช่วงเวลาที่เราต้องลาคลอด โดยเฉพาะคุณแม่คนไหนที่ต้องทำงานเป็นประจำกันอยู่แล้ว แน่นอนว่าจากที่เราเคยได้เงินเดือนประจำ หรือสำหรับคุณแม่คนไหนที่ต้องทำงานได้รับเงินเป็นรายวัน เราก็อาจจะต้องมีการวางแผนเรื่องการเก็บเงินให้มากขึ้น เผื่อเวลาเราลางานจะได้นำเงินเก็บส่วนนี้มาเลี้ยงลูกนะคะ



3. ลดภาระหนี้ที่มีเท่าที่เท่าได้

สำหรับใครที่มีรายจ่ายค่อนข้างมาก หากเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้ทำการวางแผนเรื่องเงินในส่วนนี้เลย ก็อาจจะทำให้เดือดร้อนขึ้นได้ง่าย ๆ เพราะฉะนั้นในช่วงที่เรากำลังตั้งท้องเจ้าตัวเล็กอยู่ในตอนนี้ เราก็อาจจะต้องทำการเก็บเงินให้ได้มากที่สุด พยายามจ่ายใช้เพียงแค่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น และไม่ควรใช้จ่ายอะไรที่ฟุ่มเฟือย ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้คุณแม่เป็นหนี้เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ได้



4. วางแผนค่าคลอด

นอกเหนือจากสิ่งต่าง ๆ ที่เราใส่ใจแล้วนั้น เราอาจจะต้องทำการวางแผนเรื่องการคลอดลูกตามไปด้วย ซึ่งคุณอาจจะต้องทำการศึกษาดูรายละเอียดต่าง ๆ ด้วยว่าค่าคลอดแต่ละโรงพยาบาลนั้นมีความแตกต่างกันยังไง หรือเราอาจจะต้องทำการวางแผนเรื่องผ่าคลอด หรือคลอดลูกไว้ล่วงหน้าจะดีที่สุด เพื่อที่เราจะได้รู้ค่าใช้จ่ายที่แท้จริง และจะได้ไม่มีปัญหาตามมาทีหลัง

วางแผนการเงินตอนท้อง


วางแผนการเงินตอนท้องแล้วดียังไง?

รู้หรือไม่คะว่าการที่เราวางแผนการเงินไว้ล่วงหน้านั้น เป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ เลย แถมยังเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ ด้วย หากใครที่อยากรู้ว่า หากเราทำการวางแผนการเงินไว้ล่วงหน้า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลดีต่อเรายังไงบ้าง มาดูกันเลยดีกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธีการเตรียมตัวก่อนคลอด มีอะไรบ้างที่คุณแม่ควรเตรียมให้พร้อม



1. ช่วยให้เราประหยัดได้มากขึ้น

สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดสำหรับการวางแผนการเงินคือจะทำให้เราประหยัดมากขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำการวางแผนเรื่องเงิน รวมถึงการวางแผนรายจ่ายไว้ล่วงหน้า สิ่งนี้ก็จะทำให้เราคุณพ่อคุณแม่รู้ว่า เราควรใช้เงินในแต่ละเดือนเท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้มีเงินเก็บในแต่ละเดือน และไม่ทำให้เราใช้จ่ายเกินตัว หรือไม่ฟุ่มเฟือยนั่นเอง



2. ลดความเสี่ยงทางด้านการเงิน

เชื่อไหมคะว่า การที่เราทำการวางแผนการใช้เงินนั้น สิ่งนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีที่จะเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงทางด้านการเงินให้กับเราได้มาก ๆ เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ทำการวางแผนเรื่องการเงินเลย มัวแต่ใช้จ่ายไปวัน ๆ สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เราไม่ได้รู้จักรายรับ – รายจ่ายที่แท้จริง จนทำให้กลายเป็นหนี้ได้ง่าย ๆ



3. มองเห็นเป้าหมายได้อย่างชัดเจน

การที่เราวางแผนการเงินไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ สิ่งนี้ก็ค่อนข้างที่จะทำให้เรามองเห็นเป้าหมายในอนาคตได้อย่างชัดเจน อย่างที่รู้กันดีว่าเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตเราได้บ้าง ทางที่ดีเราควรตั้งเป้าหมายชีวิตไว้อย่างแน่ชัด พร้อมกับทำการเก็บเงินควบคู่ไปด้วย เพื่อที่เราจะได้ไม่ลำบากในภายภาคหน้านะคะ



4. มีอิสระทางด้านการเงิน

เมื่อไหร่ที่เรามีการวางแผนเรื่องการใช้เงิน สิ่งนี้ก็ค่อนข้างที่จะทำให้เรามีอิสระทางด้านการเงินด้วยเหมือนกัน เราสามารถที่จะใช้ชีวิตในแบบของเราได้ ทำอะไรก็ค่อนข้างที่จะมีความสุข เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่อยากที่จะมีเงินเก็บเอาไว้ให้ลูก ๆ พร้อมกับได้พาลูก ๆ ไปเที่ยวพักผ่อนในคราวเดียวกัน อย่าลืมวางแผนการเงินไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ



5. ไม่ลำบากตอนแก่

หารู้ไหมคะว่า การที่เรารู้จักวางแผนการเงินไว้ก่อนล่วงหน้า สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้เราและครอบครัวสุขสบายได้เหมือนกัน ไม่ต้องมาลำบากในช่วงตอนแก่ไปแล้ว เพราะการวางแผนการเงินไว้ตั้งแต่แรก สิ่งนี้จะทำให้เราค่อนข้างที่จะระมัดระวังเรื่องของการใช้เงิน หรือมีระเบียบวินัยในการใช้เงินเพิ่มมากขึ้น



6. คนในครอบครัวสุขสบาย

ข้อดีของการวางแผนเรื่องการใช้เงินต่อมาเลย คนในครอบครัวจะมีชีวิตที่สุขสบายตามไปด้วย เพราะเหตุนี้มาจากการที่เรารู้จักคิดวิเคราะห์ และมีความรอบคอบในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ก่อนที่ทำอะไร หรือเราจะซื้ออะไร สำหรับคุณพ่อคุณแม่บางคนก็อาจจะต้องดูความคุ้มค่าในสิ่งนั้น ๆ ตามไปด้วย และเมื่อไหร่ที่เรารู้จักคุณค่าของเงิน เราก็จะมีเงินเก็บมากขึ้นและส่งผลให้คนในครอบครัวหรือลูกของมีชีวิตที่สุขสบายในอนาคตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ครรภ์ 39 สัปดาห์ ใกล้คลอดแล้ว จะต้องรู้อะไรบ้าง ?



7. ไม่ทำให้ตัวเองเป็นหนี้

สิ่งที่จะส่งผลดีต่อมาสำหรับการวางแผนเรื่องเงิน นั่นคือช่วยทำให้เราไม่เป็นหนี้ หรือลดการเป็นหนี้นั่นเอง เชื่อไหมคะว่าสิ่งนี้ค่อนข้างช่วยได้เยอะมาก ๆ เพราะถ้าเรารู้จักวางแผนการใช้เงิน เราก็จะได้รู้รายรับ – รายจ่ายของเราในแต่ละเดือน รู้ว่าเดือนนี้เราควรต้องจ่ายอะไรบ้าง หรือมีเงินเก็บต่อเดือนอยู่เท่าไหร่ และเมื่อเราได้รู้ สิ่งนี้ก็จะทำให้เราไม่กล้าที่จะใช้เงินเกินตัว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราใช้เงินไปวัน ๆ โดยที่ไม่ได้ทำการเก็บเงินอะไรเลย สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เรากลายเป็นหนี้ก้อนโตขึ้นมาได้


วางแผนการเงินตอนท้อง


สำหรับเรื่องการ วางแผนการเงินตอนท้อง ที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ให้ได้รู้กันในวันนี้ หากใครทำได้ขอบอกเลยว่าจะทำให้ชีวิตของเราและคนในครอบครัวดีขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูกเลยล่ะค่ะ ยังไงอย่าลืมวางแผนการเงินก่อนใช้กันนะคะ เพื่อที่ลูกของเราจะได้มีชีวิตที่สุขสบายในวันข้างหน้า


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 1 – 42 สัปดาห์ ติดตามอาการคนท้อง และพัฒนาการทารกในครรภ์

แม่ต้องรู้! อาการแพ้ท้องลูกชาย มีลักษณะอย่างไร? มาดูกัน

5 สัญญาณคลอดก่อนกำหนด แม่ท้องรู้ไว้ จะได้รับมือทัน!

ที่มา : 1, 2