ลักษณะท้องของคนท้อง เป็นแบบไหน? พร้อมวิธีการสังเกตแบบง่าย ๆ

ระหว่างการตั้งครรภ์ หากคุณแม่คนไหนที่อยากรู้วิธีการสังเกต หรืออยากรู้ว่า เมื่ออายุครรภ์ของเราเริ่มโตขึ้น ลักษณะท้องของเราจะมีการเปลี่ยนแ 

 1432 views

ระหว่างการตั้งครรภ์ หากคุณแม่คนไหนที่อยากรู้วิธีการสังเกต หรืออยากรู้ว่า เมื่ออายุครรภ์ของเราเริ่มโตขึ้น ลักษณะท้องของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และเราควรมีวิธีการสังเกตท้องตัวเองยังไงในแต่ละเดือน เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะ บอกเลยค่ะว่า ลักษณะท้องของคนท้อง สังเกตได้ไม่ยากเลยล่ะค่ะ



ลักษณะท้องของคนท้อง



ลักษณะท้องของคนท้อง เป็นอย่างไร?

แน่นอนค่ะว่าในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์แรก ๆ โดยส่วนใหญ่ลักษณะท้องของคุณแม่อาจจะดูเหมือนปกติ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก สำหรับคุณแม่บางคนก็อาจจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 3 เดือนขึ้นไป และเมื่อไหร่อายุครรภ์ของเราเริ่มมากขึ้น ลักษณะท้องของคุณแม่ก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นเพราะว่าลูกในท้องของเราเริ่มมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งลักษณะท้องลูกผู้หญิง และลูกผู้ชายก็จะมีลักษณะท้องที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นหากคุณแม่อยากรู้ว่าลักษณะท้องแบบนี้เรากำลังตั้งท้องผู้หญิงหรือผู้ชายอยู่ อาจจะลองสังเกตลักษณะท้องของเราได้เลยนะคะ



การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง?

สำหรับคุณแม่คนไหนที่เริ่มจะเข้าสู่การเป็นคุณแม่มือใหม่ แต่ยังไม่รู้ว่าหากเรากำลังตั้งท้องอยู่ในตอนนี้ จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในร่างกายของเราบ้าง และสิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงในลักษณะแบบไหน เอาเป็นว่าเรามาดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในช่วงการตั้งครรภ์ไปพร้อมกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ต้องรู้! น้ำหนักคนท้อง แต่ละเดือนควรหนักเท่าไหร่? มาดูกัน



1. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

สิ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน อาจจะเป็นเรื่องของน้ำหนัก เมื่อไหร่ที่อายุครรภ์ของคุณแม่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าน้ำหนักตัวของคุณแม่ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และหากเรามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเราก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าตัวเองดูตัวใหญ่ขึ้น แต่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไปนะคะ เพราะเมื่อไหร่ที่เราคลอดเจ้าตัวเล็กออกมาแล้ว โดยส่วนใหญ่ก็จะผอม หรือมีน้ำหนักตัวที่ลดลงได้แน่นอนค่ะ


ลักษณะท้องของคนท้อง


2. มีขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้น

ในช่วงการตั้งครรภ์ อีกหนึ่งสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ บริเวณของมดลูก ซึ่งในช่วงตั้งครรภ์นี้คุณแม่จะมีมดลูกที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น อีกทั้งภายในมดลูกก็จะนุ่มขึ้นตามไปด้วย และที่สำคัญไปกว่านั้นบริเวณหน้าท้องของคุณแม่ก็จะใหญ่ขึ้นเมื่อมีอายุครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือนไปแล้วนั่นเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : มดลูกบีบตัว เกิดจากอะไร? เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ควรระวัง!



3. การเปลี่ยนแปลงบริเวณเต้านม

เมื่อคุณแม่เริ่มมีเจ้าตัวเล็กขึ้นมา บริเวณเต้านมของคุณแม่ก็จะเริ่มมีการขยายใหญ่เพิ่มมากขึ้น แถมยังค่อนข้างที่จะมีความไวต่อการสัมผัสมากกว่าปกติ นอกเหนือจากนี้บริเวณเต้านมของเราจะมีเส้นเลือดที่ขยายใหญ่มากขึ้น รวมถึงเต้านมมีสีคล้ำขึ้นอีกด้วยค่ะ



4. ช่องคลอดมีการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมาเลย คือช่องคลอดของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยจะทำให้คุณแม่มีการตกขาว หรือมีมูกที่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องคอยดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ อีกทั้งยังควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสูตรอ่อนโยน และเหมาะแก่การทำความสะอาด เพื่อที่จะได้ไม่เกิดการระคายเคืองนะคะ



สิ่งที่ควรทำเมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งท้อง

หากคุณแม่คนไหนที่กำลังมีเจ้าตัวเล็กอยู่ในตอนนี้ คงอยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่า เราควรมีวิธีการรับมือ หรือมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร เพื่อเราจะได้ไม่มีน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป ลูกในท้องของเราจะได้ปลอดภัย อีกทั้งเราจะได้ดูแลลูกน้อยในท้องได้อย่างเต็มที่ ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วล่ะก็ เรามาดูสิ่งที่ควรทำในช่วงตั้งท้องไปด้วยกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินปลาอะไรดี กินแล้วมีประโยชน์ต่อลูกในท้องอย่างไร?



ลักษณะท้องของคนท้อง



1. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง

ในอาหารแต่ละมื้อ หากคุณแม่ไม่อยากให้ตัวเองมีน้ำหนักที่เพิ่มสูงมากจนเกินไป ดังนั้นคุณแม่อาจจะต้องพยายามเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยค่อนข้างสูง โดยอาจจะเลือกรับประทานเป็นข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีต เป็นต้น   เพราะอาหารประเภทนี้ค่อนข้างที่จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกอิ่มท้องได้ดีอีกด้วยนะคะ



2. กินบ่อย ๆ แต่กินในปริมาณที่น้อยลง

หากคุณแม่คนไหนที่ไม่อยากให้ตัวเองมีน้ำหนักที่เพิ่มมากจนเกินไป แน่นอนว่าเราอาจจะต้องพยายามกินบ่อย ๆ แต่อาจจะกินในปริมาณที่ไม่ได้มาก และอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะกินมื้อละประมาณ 5 – 6 มื้อก็ได้เหมือนกัน แต่ไม่ควรอดข้าวนะคะ เพราะสิ่งนี้อาจจะส่งผลทำให้ลูกในท้องขาดสารอาหารได้ง่ายเลยทีเดียว



3. กินอาหารที่มีประโยชน์

สิ่งต่อมาเลยคือ เราควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์มากที่สุด ซึ่งอาหารแต่ละอย่างที่คุณแม่รับประทานนั้นควรเป็นอาหารที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ และเป็นอาหารที่ครบทุก 5 หมู่ เพื่อที่เราจะได้เป็นคุณแม่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง อีกทั้งลูกน้อยของเราจะได้เติบโตได้อย่างเต็มที่ด้วยนะคะ



4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง

อย่างที่รู้กันดีว่า สิ่งนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างปฏิเสธได้อย่าง แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่อาจจะต้องคอยระวังเรื่องนี้ตามไปด้วยนะคะ ไม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง ๆ เพราะสิ่งนี้จะส่งผลทำให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือดีไม่ดีอาจจะมีน้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้ เอาเป็นว่าหากใครที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งท้องอยู่ในตอนนี้ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ไปจะดีกว่านะคะ



5. พยายามเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

สำหรับใครที่เป็นห่วงเรื่องของน้ำหนัก สิ่งที่เราควรต้องคำนึงถึงต่อมาเลยคือเรื่องของน้ำหนัก ซึ่งการเคี้ยวอาหารเป็นอะไรที่เราควรต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อน ไม่ควรรีบกิน หรือกลืนอาหารเร็วจนเกินไป เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้ระวังเรื่องนี้ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานหนักมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ลำไส้เกิดการบีบตัวได้ช้าลง จนส่งผลทำให้คุณแม่มีอาการท้องอืด หรืออาหารไม่ย่อยได้เลย ทางที่ดีควรต้องระวังเรื่องนี้ตามไปด้วยนะคะ



6. ดื่มน้ำเป็นประจำ

การดื่มน้ำถือเป็นสิ่งที่ดีที่คุณแม่ควรต้องปฏิบัติตาม โดยคุณแม่ควรต้องดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก้วต่อวัน เพราะหากวันไหนที่เราดื่มน้ำในปริมาณที่น้อยจนเกินไป สิ่งนี้ก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ไม่ปกติ หรือดีไม่ดีก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ดีตามมาทีหลังได้เหมือนกัน



จากข้อมูลลักษณะท้องของคนท้อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ให้ได้รู้กันนั้น เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นสิ่งที่เราควรดูแลใส่ใจในเรื่องของสุขภาพตามไปด้วย หากคุณแม่คนไหนที่อยากมีน้ำหนักที่ตรงตามเกณฑ์ ไม่อ้วน หรือไม่ผอมจนเกินไป อย่าลืมใส่ใจเรื่องของสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์กันนะคะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องปวดหลัง อันตรายไหม บรรเทาอาการด้วยวิธีใดได้บ้าง?

คนท้องเท้าบวม ทำยังไงดี? อีกหนึ่งอาการที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง!

คนท้องปวดหัว รับมืออย่างไร แม่ท้องปวดหัวอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม?

ที่มา : 1, 2