น้ำหนักทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่ดี? ลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์ไหมมาดูกัน

อีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่มาก ๆ เลยคือเรื่องน้ำหนักของลูกน้อย หากใครที่อยากทราบว่าแท้จริงแล้ว เด็กทารกควรมีน้ำหนักเท่าไห 

 1214 views

อีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่มาก ๆ เลยคือเรื่องน้ำหนักของลูกน้อย หากใครที่อยากทราบว่าแท้จริงแล้ว เด็กทารกควรมีน้ำหนักเท่าไหร่ดี เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าลูกของเรานั้นมีน้ำหนักที่ต่ำกว่า หรือมากกว่าเกณฑ์ เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะว่า น้ำหนักทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่ดี?



โดยปกติแล้วทารกมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไหร่?

ซึ่งต้องบอกว่าตามปกติแล้ว เด็กที่คลอดตามกำหนดจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.5 – 4 กิโลกรัม โดยหากเด็ก ๆ มีน้ำหนักประมาณเท่าไหร่ก็ถือว่ามีน้ำหนักที่อยู่ตามเกณฑ์ปกติ ในทางกลับกันหากเมื่อไหร่ที่ลูกของเรามีน้ำหนักที่ต่ำกว่า 2.5 กิโลกรัม สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกว่าลูกของเรามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดนั่นเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 8 ผ้าห่อตัวทารก ยี่ห้อไหนดี? เหมาะสำหรับลูกน้อย



น้ำหนักทารกแรกเกิด


น้ำหนักทารกต่ำกว่าเกณฑ์บ่งบอกอะไรบ้าง?

การที่ลูกของเรามีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ สิ่งเหล่านี้กำลังบ่งบอกเราในเรื่องไหนบ้าง และหากลูกมีน้ำหนักน้อยจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ อยู่หรือเปล่า เรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกน้อย “แพ้นมวัว” ทำไงดี ให้ลูกกินนมอะไรแทนได้บ้าง?



1. ภูมิคุ้มกันลดลง

อย่างที่รู้กันดีค่ะว่า เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์นั้นโดยส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือค่อนข้างมีปัจจัยต่าง ๆ ตามมา ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องดูแลเด็ก ๆ กันแบบใกล้ชิด เพราะเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ตั้งแต่แรกเกิดนั้น ค่อนข้างที่จะมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง และพยายามปรึกษาคุณหมอ หรือพาลูกมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุดค่ะ



2. โรคโลหิตจาง

เชื่อไหมคะว่าการที่ลูกของเรามีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ตั้งแต่เด็ก สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกคุณแม่ได้ว่าลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางได้เหมือนกัน ดังนั้นหากเด็ก ๆ มีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมีน้ำหนักที่น้อยจนเกินไป คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องพาลูก ๆ มาหาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำ อีกทั้งเราจะได้รู้จักวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องนะคะ


3. มีปัญหาในด้านการเจริญเติบโต

นอกจากสิ่งต่าง ๆ แล้วนั้น สิ่งที่จะทำให้ลูกของเรามีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ขึ้นมาได้นั้น อาจมาจากปัญหาทางด้านการเจริญเติบโตของร่างกายได้เหมือนกัน ทางที่ดีเราอาจจะต้องพาลูกของเรามาพบคุณหมอ เพื่อที่เราจะได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่ชัด และลูกของเราจะได้ไม่มีปัญหาทางด้านการเจริญเติบโตต่อไปค่ะ



4. ภาวะขาดสารอาหาร

อีกหนึ่งสิ่งที่ค่อนข้างส่งผลทำให้ลูกของเรามีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ได้ค่อนข้างมาก นั่นคือภาวะขาดสารอาหารตั้งแต่เด็ก เพราะฉะนั้นคุณแม่อาจจะต้องพาลูกไปพบแพทย์ รวมถึงเราอาจจะต้องทำการปรึกษาคุณหมอในเรื่องของอาหารการกินที่เหมาะสำหรับเด็ก พร้อมกับวิธีการดูแลลูกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมนะคะ



น้ำหนักทารกมากกว่าเกณฑ์ สิ่งนี้กำลังบ่งบอกอะไรบ้าง?

แน่นอนค่ะว่าการที่ลูกเรามีน้ำหนักตามเกณฑ์สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างส่งผลดีต่อเด็ก ๆ แต่หากเมื่อไหร่ที่ลูกของเรามีน้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์ หรือมีน้ำหนักที่มากกว่าปกติ สิ่งนี้ก็อาจจะไม่ได้ส่งผลดีให้กับลูกของเราเสมอไป เรามาดูสาเหตุที่อาจจะทำให้ลูกของเรามีน้ำหนักมากกว่าปกติไปพร้อมกันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเพิ่มน้ำหนักให้ลูก แบบง่าย ๆ ทำอย่างไรให้ลูกมีสุขภาพดี?



1. โรคหอบหืด

ปัจจัยแรกที่พบได้บ่อย เมื่อเด็กทารกมีน้ำหนักที่มากกว่าปกติ นั่นคือโรคหอบหืด เมื่อไหร่ที่ลูกของเรามีน้ำหนักที่มากจนเกินไป นี่ก็อาจจะกำลังบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าลูกของเราอาจป่วยเป็นโรคหอบหืดก็เป็นได้ เมื่อไหร่ที่ลูกว่าลูกของเรามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากจนเกินไป ไม่ควรนิ่งนอนใจไปนะคะ รีบพาเด็ก ๆ ไปพบแพทย์ดีที่สุดค่ะ



2. โรคหัวใจ

สิ่งนี้อาจเกิดได้จากการที่ลูกของเรามีคอเลสเตอรอลสูงตั้งแต่เด็ก ๆ และอาจจะไม่ได้เป็นเพียงแค่คอเลสเตอรอลสูง แต่อาจจะทำให้ลูกของเราป่วยเป็นโรคหัวใจตั้งแต่เด็ก ๆ ขึ้นมาได้เลย ดังนั้นการดูแลน้ำหนักของลูกน้อยตั้งแต่เด็ก ๆ นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ และไม่ควรป่วยให้เขามีน้ำหนักที่มากจนเกินไปจะดีกว่านะคะ



3. โรคเบาหวาน

ไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากให้ลูกของเราเป็นโรค หรือมีอาการเจ็บป่วย แต่หารู้ไหมคะว่า หากเราปล่อยให้ลูก ๆ มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น หรือหากลูกของเรามีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขาป่วยเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่เด็กได้เลย ทางที่ดีเราอาจจะต้องดูแลรักษาสุขภาพของเด็ก ๆ ให้มากขึ้น และอาจจะพาลูก ๆ ไปพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อที่เราจะได้รู้จักวิธีการดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง



4. มีปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับ

อีกหนึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องระวังเลยคือ ปัญหาที่เด็ก ๆ ชอบหยุดหายใจขณะที่กำลังนอนหลับ สิ่งเหล่านี้นับได้ว่าเป็นอะไรที่ค่อนข้างอันตรายมาก ๆ หากลูกของเรามีน้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์ และมักมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็ก ๆ มาพบแพทย์ เพื่อคุณหมอจะได้รักษาได้อย่างรวดเร็วที่สุด หากปล่อยไว้นานสิ่งนี้อาจจะเป็นอันตรายต่อลูกของเรามาก ๆ เลยล่ะค่ะ



 เคล็ดลับช่วยให้ลูกมีน้ำหนักตรงตามเกณฑ์ ทำยังไงดี?

หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังมองหาวิธีว่า เราควรทำอย่างไรดี เพื่อที่ลูกน้อยของเราจะได้มีเติบโตมาเป็นเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์และมีน้ำหนักที่ตรงตามเกณฑ์ มาดูเคล็ดลับไปพร้อมกันเลย


น้ำหนักทารกแรกเกิด


1. พาลูกออกกำลังกายอยู่เสมอ

การที่คุณพ่อคุณแม่พาเด็ก ๆ ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน สิ่งนี้นับเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เด็ก ๆ จะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ อีกทั้งยังช่วยทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายขึ้นมาได้มาก ๆ อีกด้วย โดยการออกกำลังกายนั้นอาจจะเริ่มจากการขี่จักรยาน หรือเล่นกีฬา เป็นต้น



2. ให้ลูกนอนหลับอย่างเพียงพอ

สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใส่ใจ คือเรื่องของการพักผ่อน เมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ เขาก็จะกลายเป็นเด็กที่อารมณ์ดี อีกทั้งยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตามไปด้วยนะคะ



3. ควบคุมการรับประทานอาหารของลูก

เรื่องอาหารการกินคือสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามมาก ๆ หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ไม่อยากให้ลูกของเราเป็นเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า หรือมากกว่าเกณฑ์ เราอาจจะต้องทำการควบคุมอาหารการกินของเด็ก ๆ ให้มากขึ้นนะคะ พยายามให้เขากินอาหารที่ดีและเต็มเปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ลูกของเรามีสุขภาพที่ดีมาก ๆ เลยค่ะ




น้ำหนักทารกแรกเกิด



หากใครที่กำลังคิดมากว่าลูกของเรามีน้ำหนักที่ต่ำกว่า หรือมากกว่าเกณฑ์อยู่หรือเปล่า บอกเลยว่าไม่ต้องคิดมากไปเลยนะคะ เพียงแค่เรารู้จักวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้ลูกของเรามีน้ำหนักที่ปกติ และเป็นเด็กที่มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ไม่น้อยเลย


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกแพ้นมแม่ได้จริงหรือ ? ทำไมจึงมีอาการผิดปกติหลังกินนมแม่

6 เคล็ดลับให้ลูกหลับง่าย ทำได้ไม่ยาก ถ้ารู้วิธี !

แพมเพิส สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี ยี่ห้อไหนที่แม่แนะนำ!

ที่มา : 1, 2