ปวดข้อมือ เป็นอย่างไร?  ลักษณะอาการที่คุณแม่ควรต้องระวัง!

สำหรับใครที่มักมีอาการปวดข้อมืออยู่บ่อย ๆ และอยากจะทราบว่าสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกปวดขึ้นมา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง หรือห 

 1451 views

สำหรับใครที่มักมีอาการปวดข้อมืออยู่บ่อย ๆ และอยากจะทราบว่าสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกปวดขึ้นมา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง หรือหากเรากำลังอยู่ในช่วงตั้งท้อง และมีอาการ ปวดข้อมือ สิ่งนี้จะเป็นอันตรายหรือไม่ เรามาดูไปพร้อมกันได้เลยค่ะ

สาเหตุที่ทำให้ปวดข้อมือเกิดจากอะไร

หลายคนก็อาจจะกำลังสงสัยอยู่ใช่ไหมคะว่า การที่เรารู้สึกปวดข้อมือขึ้นมานั้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หรือพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ที่เราเป็นอยู่ในตอนนี้ ส่งผลทำให้เรามีอาการปวดข้อมืออยู่บ่อย ๆ หรือไม่ เข้ามาดูกันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เต้านมคัด ปวดเต้านม รับมืออย่างไร จะเป็นอันตรายไหม?

ปวดข้อมือ

1. ใช้ข้อมือบ่อย

การที่เราทำงานเกี่ยวกับการใช้ข้อมืออยู่บ่อย ๆ เป็นประจำ หารู้ไหมว่าสิ่งเหล่านี้ก็ส่งผลทำให้เรารู้สึกมีอาการปวดข้อมือขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องพิมพ์ดีด หรือการใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพราะฉะนั้นในช่วงระยะเวลาของการทำงาน เราอาจจะต้องคอยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองใหม่ อาจจะทิ้งช่วงเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนบ้าง เพื่อที่อาการปวดข้อมือจะได้ไม่เกิดขึ้นกับเราค่ะ

2. เกิดจากอุบัติเหตุ

สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่เราหลายคนควรระวังด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะใครที่เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อมือ เราอาจจะต้องระมัดระวังตัวเองมากยิ่งขึ้น ไม่ควรยกของหนักจนเกินไป เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้เรามีอาการอักเสบบริเวณข้อมือขึ้นมาได้ง่าย ๆ

3. เกิดจากโรคทั่วไป

สำหรับใครที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เรามีอาการปวดข้อมือตามมาด้วย อาทิเช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ หรือเนื้องอกบริเวณข้อมือ เป็นต้น ทางที่ดีใครที่มีโรคประจำตัวกันอยู่แล้ว เราอาจจะต้องดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นนะคะ

อาการปวดข้อมือในลักษณะต่าง ๆ

หากใครที่กำลังสงสัยอยู่ว่า  อาการที่เรากำลังพบเจออยู่ในตอนนี้ เรียกได้ว่า อาการปวดข้อมือหรือไม่ หรืออาการปวดเหล่านี้กำลังบ่งบอกว่าเราเป็นโรคอะไรหรือเปล่า เอาเป็นว่าเรามาสังเกตอาการไปพร้อมกันเลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดหัว รับมืออย่างไร แม่ท้องปวดหัวอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม?

ปวดข้อมือ

1. ปวดข้อมือช่วงเวลากลางคืน

กรณีที่เรารู้สึกปวดข้อมือในช่วงเวลากลางคืน หรือรู้สึกปวดข้อมือตอนที่ไม่ได้ทำงานแล้ว เราก็อาจจะต้องดูว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากอะไร หรือใครที่อยู่ ๆ ก็ปวดขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุเราก็อาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำจากคุณหมอได้

2. ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้

อาการปวดข้อมือในลักษณะนี้ ค่อนข้างที่ปวดและลำบากอยู่เช่นกัน เพราะสำหรับบางคนแล้ว การที่เรารู้สึกปวดข้อมือขึ้นมามาก ๆ จนไม่สามารถหยิบจับ หรือถือสิ่งของต่าง ๆ ได้เหมือนเมื่อก่อน เราไม่ควรที่จะปล่อยให้ตัวเองรู้สึกปวดนานจนเกินไปนะคะ ทางที่ดีรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาเลยนะคะ

3. อาการปวดข้อมือยังคงอยู่

สำหรับใครที่ทานยาแก้ปวด หรือทายาแก้ปวด แต่เมื่อเวลาผ่านมาสักพักอาการปวดเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ รู้สึกหายสักที เราไม่ควรที่จะปล่อยทิ้งไว้ให้หายเองนะคะ เพราะสิ่งนี้อาจจะส่งผลไม่ดีตามมาได้ ดังนั้นเราอาจจะต้องมาพบแพทย์เพื่อที่คุณหมอจะได้ช่วยดูว่าอาการที่เกิดขึ้นมานั้น เกิดจากอะไร อีกทั้งคุณหมอยังจะช่วยรักษาได้อย่างถูกวิธีด้วยค่ะ

4. เจ็บจนไม่สามารถเหยียดข้อมือได้

อีกหนึ่งอาการที่ค่อนข้างพบได้บ่อย นั่นคือรู้สึกปวดข้อมือจนไม่สามารถเหยียดแขนได้ ซึ่งใครที่เป็นอยู่ในตอนนี้บอกเลยว่าค่อนข้างทรมานมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้นหากเรารู้สึกว่าตัวเองกำลังรู้สึกเจ็บจน หรือปวดจนไม่สามารถเหยียดแขนขึ้นมาได้แล้ว เราอาจจะต้องรีบทำการรักษาให้เร็วที่สุดค่ะ

5. มีอาการปวดบริเวณอื่นร่วมด้วย

นอกจากเราจะรู้สึกปวดบริเวณข้อมือแล้ว หากรู้สึกปวดแขน หรือปวดมือตามไปด้วย สิ่งนี้ค่อนข้างจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพของเราด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเราอาจจะต้องทำการสังเกตอาการตัวเอง เพื่อที่เราจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องนะคะ

6. มีอาการอื่น ๆ แทรกเข้ามาด้วย

ในระหว่างที่เรารู้สึกปวดข้อมือขึ้นมา แต่ในขณะเดียวกัน เราก็รู้สึกเป็นไข้ ปวดหัว หรือบริเวณข้อมือมีอาการบวมแดงขึ้นมาด้วย อย่ารอช้านะคะ เราอาจจะต้องรีบมาทำการรักษา เพราะไม่อย่างนั้น จากที่เรามีอาการปวดข้อมือเฉย ๆ อาจจะส่งผลทำให้เราเป็นโรคร้ายตามมาได้เลย ดังนั้นควรต้องระวัง

วิธีการรักษาเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดข้อมือ

ใครที่ชอบมีอาการปวดข้อมือเป็นประจำอยู่แล้ว เชื่อว่าก็อาจจะกำลังมองหาวิธีการรักษากันอยู่ เอาเป็นว่าเรามาดูวิธีการรับมือกับอาการเหล่านี้กันเลยดีกว่าว่า มีวิธีการรักษาเบื้องต้นอย่างไรบ้าง
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องปวดท้องน้อยเกิดจากอะไร อันตรายหรือเปล่า ?

ปวดข้อมือ

1. พยายามลดการใช้ข้อมือ

เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกปวดข้อมือ หรือไม่สามารถเหยียดข้อมือได้ตามปกติ เราอาจจะต้องหยุดพักหรืองดการใช้ข้อมือข้างใดข้างหนึ่งไปก่อน หรือหากใครที่ไม่ได้รู้สึกเจ็บมากขนาดนั้น เราอาจจะเปลี่ยนท่าหรือใช้ท่าที่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บได้ ในทางตรงกันข้ามหากเรารู้สึกเจ็บ แต่ก็ยังฝืนใช้ข้อมือต่อไปสิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้ข้อมือเราเกิดการอักเสบ และรู้สึกปวดขึ้นมากกว่าเดิมได้

2. ประคบอุ่นเบื้องต้น

สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามต่อมาคือการหาอะไรอุ่น ๆ มาทำการประคบบริเวณข้อมือ เรียกได้ว่าเป็นการรักษาอาการปวดเบื้องต้นที่ค่อนข้างได้ผลมาก ๆ เพราะความร้อนจะช่วยบรรเทาอาการปวดขึ้นดีได้ สำหรับใครที่ชอบปวดข้อมือกันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรดี ลองหาอะไรอุ่น ๆ มาประคบดูนะคะ เชื่อว่าอาการปวดเหล่านี้จะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน

3. เปลี่ยนการใช้มือซ้าย – ขวา

หากใครที่กำลังรู้สึกปวดข้อมืออยู่ในตอนนี้ เราอาจจะต้องทำการสลับการใช้มือบ้าง ยกตัวอย่างเช่น จากที่เคยใช้มือข้างซ้ายอาจจะเปลี่ยนมาใช้มือข้างขวา หรือจากที่เคยใช้มือข้างขวาอาจจะเปลี่ยนมาใช้มือข้างซ้าย เป็นต้น เพื่อสิ่งนี้จะได้ช่วยลดอาการปวด และช่วยป้องกันไม่ให้ข้อมือเกิดการอักเสบตามไปด้วย

4. รีบไปพบแพทย์

หากเราทำการรักษาเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นทานยา หรือทายาแก้ปวด แต่อาการต่าง ๆ เหล่านี้ก็ยังไม่ได้หายดีสักเท่าไหร่ เราอาจจะต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุดนะคะ ยิ่งถ้าใครที่รู้สึกปวดมาก ๆ แต่ก็ไม่ยอมไปพบแพทย์สักที สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลไม่ดีตามมาทีหลังได้เลย

สำหรับอาการปวดข้อมือ ที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ในวันนี้ หลังจากที่คุณแม่ได้อ่านสิ่งนี้ก็น่าจะคลายความกังวลให้กับคุณแม่อยู่บ้าง แต่เราก็ต้องบอกคุณแม่ด้วยค่ะว่า เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกปวดข้อมือ หรือมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หากคุณแม่คนไหนที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งท้อง ก่อนที่เราจะรับประทานยาอะไรเข้าไป เราอาจจะต้องขอคำแนะนำ หรือขอคำปรึกษากับคุณหมอก่อนนะคะ เพื่อที่สิ่งเหล่านี้จะได้ไม่ส่งผลอันตรายต่อลูกในท้องของเราด้วยค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท้องผูก ทำอย่างไรดี? พร้อมวิธีการรับมือสำหรับคนท้อง

คนท้องดื่มน้ำอัดลม ได้ไหม? ดื่มแล้วจะเป็นอันตรายต่อลูกในท้องอย่างไร

แม่ต้องรู้! อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับคนท้อง มีอะไรบ้าง?

ที่มา : 1, 2