สาเหตุ! โรคคางทูม เกิดจากอะไร? มาค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน

การที่เราจะป่วยเป็นโรคคางทูมขึ้นมาได้นั้น หลายคนก็คงสงสัยใช่ไหมคะว่า มีปัจจัยหรือสาเหตุอะไรที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคนี้ได้ และหากเราป่วยเป 

 1204 views

การที่เราจะป่วยเป็นโรคคางทูมขึ้นมาได้นั้น หลายคนก็คงสงสัยใช่ไหมคะว่า มีปัจจัยหรือสาเหตุอะไรที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคนี้ได้ และหากเราป่วยเป็นโรคนี้ เราควรมีวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง หากใครที่กำลังอยากรู้ถึงสาเหตุพร้อมกับวิธีการรับมือแล้วล่ะก็ เรามาทำความเข้าใจกับ โรคคางทูม ไปพร้อมกันเลยนะคะ



สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคคางทูมเกิดจากอะไร?

เมื่อพูดถึงโรคคางทูม ต้องบอกก่อนนะคะว่าโรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มาพร้อมกับอากาศ ซึ่งเชื้อไวรัสที่เรากำลังพูดถึงอยู่นั้นคือเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า “มัมส์” แถมยังเป็นเชื้อไวรัสที่ค่อนข้างแพร่กระจายได้ดีทุกครั้งที่เรามีอาการไอ หรือจามเกิดขึ้น เท่านั้นยังไม่พอเชื้อไวรัสตัวนี้ยังสามารถแพร่กระจายได้จากการที่เราสัมผัสน้ำมูก หรือน้ำลายของคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นใครที่ไม่อยากป่วยเป็นโรคนี้ เราก็อาจจะต้องระวังตัวเองและรักษาสุขภาพกันให้มากขึ้นด้วยนะคะ


โรคคางทูม


อาการของโรคคางทูมเป็นอย่างไร?

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าหนึ่งในอาการของโรคคางทูมที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในตอนนี้มีลักษณะอย่างไร หรือหากเรากำลังมีอาการแบบนี้ สิ่งนี้กำลังบ่งบอกว่าเราป่วยเป็นโรคคางทูมอยู่หรือไม่ เพราะฉะนั้นเรามาเช็กอาการคางทูมไปพร้อมกันเลยดีกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคแพนิค โรคที่ไม่ได้แค่นิสัยขี้ตกใจ แต่เป็นภัยร้ายทำลายสุขภาพจิต



1. ปวดศีรษะ

หากอยู่ ๆ เราเริ่มมีอาการปวดศีรษะขึ้นมา สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นการบ่งบอกว่าเราอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคคางทูมอยู่ก็เป็นได้ เอาเป็นว่าเราไม่ควรที่จะปล่อยให้ตัวเองรู้สึกแบบนี้นานจนเกินไปนะคะ



2. อ่อนล้า อ่อนเพลีย

สำหรับใครที่ชอบมีอาการอ่อนล้า อ่อนเพลียขึ้นมาบ่อย ๆ สิ่งนี้ก็ค่อนข้างที่จะบ่งบอกเราได้หลายโรคมาก ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็อาจจะเป็นโรคคางทูม ยิ่งใครที่กำลังรู้สึกเหนื่อยง่าย เราก็อาจจะต้องเฝ้าระวังอาการต่าง ๆ ตามไปด้วยนะคะ



3. เบื่ออาหาร

หนึ่งในอาการที่จะทำให้รู้ว่าเรากำลังป่วยเป็นโรคคางทูมอยู่หรือไม่ นั่นคือการที่เรากำลังเริ่มรู้สึกเบื่ออาหาร หรือบางคนก็อาจจะทานข้าวได้น้อยลงกว่าเดิม ใครที่กำลังรู้สึกแบบนี้อยู่อาจจะต้องรีบไปพบแพทย์เลยนะคะ



4. รู้สึกปากแห้ง

การที่เรามีอาการปากแห้งขึ้นมานั้น สิ่งนี้ก็อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเราขาดสารอาหารที่สำคัญเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นหนึ่งในอาการของโรคคางทูมตามไปด้วย ทางที่ดีเราควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำจากคุณหมอได้จะดีกว่าค่ะ



5. มีไข้สูง

นอกจากอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วนั้น การที่เราจะป่วยเป็นโรคคางทูมขึ้นมาได้นั้น สำหรับบางคนก็อาจจะมีอาการไข้สูงร่วมขึ้นมาด้วย เอาเป็นว่าหากใครที่อยากทราบอาการที่แน่ชัดว่าเรากำลังป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาเลยนะคะ



วิธีการรักษาโรคคางทูม ทำอย่างไรดี?

สำหรับใครที่กำลังป่วยเป็นโรคคางทูม แต่ยังไม่รู้ว่าเราควรมีวิธีการรับมือ รวมถึงวิธีการรักษากับโรคที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง เพื่อที่อาการเหล่านี้ที่เราเป็นอยู่จะได้ดีขึ้น และไม่ทำให้เรามีอาการที่รุนแรงมากไปกว่านี้ หากเป็นเช่นนั้นแล้วล่ะก็ เรามาดูวิธีการรักษาพร้อมกับวิธีการรับมือไปพร้อมกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ไซนัส (Sinus) โรคใกล้ตัวที่น่ารำคาญ รักษาง่าย ไม่ยากอย่างที่คิด อย่าปล่อยไว้ !



โรคคางทูม


1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

สิ่งแรกที่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ เลยคือ หากใครที่ป่วยเป็นโรคนี้เราควรที่จะต้องดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ เพราะการที่เราดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ สิ่งนี้จะช่วยทำให้อาการป่วยโรคคางทูมที่เราเป็นอยู่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน ที่สำคัญไปกว่านั้นการที่เราดื่มน้ำมาก ๆ สิ่งนี้ยังส่งผลดีต่อร่างกายของเราได้ดีอีกด้วย ยังไงอย่าลืมดื่มน้ำสะอาดกันให้เยอะ ๆ นะคะ



2. พักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อไหร่ที่เรานอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ สิ่งนี้จะช่วยทำให้อาการป่วยของเราดีขึ้นได้มาก ๆ ยิ่งใครที่กำลังรู้สึกเหนื่อยล้า หรือมีอาการไข้ร่วมด้วย เราควรที่จะรีบนอนให้เป็นเวลา และพักผ่อนให้เต็มอิ่มมากที่สุด เพื่อที่เราจะได้รู้สึกผ่อนคลายและมีสุขภาพที่ดีตามไปด้วยนะคะ



3. พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเปรี้ยว

นอกเหนือจากสิ่งต่าง ๆ แล้วนั้น เราควรที่จะหลีกเลี่ยงการทานอาหารหรือผลไม้ที่มีรสชาติเปรี้ยวตามไปด้วย เพราะเมื่อไหร่ที่เรากินอาหารหรือผลไม้ที่มีรสชาติเปรี้ยว สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้ต่อมน้ำลายเกิดการระคายเคือง หรือมีอาการบวมขึ้นมาได้ หากใครที่ปวดเป็นโรคนี้เราอาจจะต้องระวังกันด้วยนะคะ



4. ทำการประคบ

สิ่งที่จะช่วยทำให้อาการป่วยเป็นโรคคางทูมที่เราเป็นอยู่ดีขึ้นได้นั้น เราก็อาจจะต้องทำการประคบร้อนหรือประคบเย็นบริเวณที่มีอาการบวมขึ้นมาได้ เพราะวิธีนี้ถือว่าเป็นอะไรที่ค่อนข้างเห็นผลได้ดีมาก ๆ อีกทั้งยังช่วยลดอาการปวดบริเวณต่อมน้ำลายได้ดีมาก ๆ เลย



5. รับประทานอาหารแบบอ่อน ๆ

สิ่งที่เราอาจจะต้องคำนึงต่อมาเลยคือ ให้พยายามกินอาหารแบบอ่อน ๆ หรืออาจจะเป็นเมนูอาหารที่ไม่ต้องเคี้ยวมากสักเท่าไหร่ อาทิเช่น เมนูข้าวต้ม หรือโจ๊ก เป็นต้น เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอาหารกิน และกินเมนูอาหารที่ค่อนข้างเคี้ยวยาก สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เรารู้สึกปวดบริเวณแก้ม หรือบริเวณต่อมน้ำลายขึ้นมาก็เป็นได้



ระวัง! ภาวะแทรกซ้อนของโรคคางทูม

ในระหว่างที่เราป่วยเป็นโรคคางทูมกันอยู่นั้น เราอาจจะต้องพยายามระวังโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะมาพร้อมกับโรคคางทูมตามไปด้วย หลายคนก็คงอยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่าภาวะแทรกซ้อนที่มาพร้อมกับโรคคางทูมมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคบาดทะยัก โรครุนแรงต่อระบบประสาท กว่าจะฟื้นตัวใช้เวลานาน !



โรคคางทูม


1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนที่เราอาจจะต้องระวังกันเป็นอย่างแรกเลยคือ เราอาจจะต้องระวังอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบตามไปด้วย เพราะเมื่อไหร่ที่เราป่วยเป็นโรคนี้ เชื้อไวรัสที่อยู่ในร่างกายของเราก็ค่อนข้างที่จะแพร่กระจายเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองได้ง่ายมาก ๆ หากเราไม่รีบทำการรักษา หรือไม่ได้ทำตามที่หมอสั่ง สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เยื่อหุ้มสมองเกิดการอักเสบได้เลย



2. ตับอ่อนอักเสบ

สำหรับใครที่กำลังป่วยเป็นโรคคางทูมอยู่ในตอนนี้ หากเราไม่รีบทำการรักษาหรือปล่อยไว้นาน สิ่งนี้ก็ค่อนข้างส่งผลทำให้ตับอ่อนในร่างกายของเราเกิดการอักเสบขึ้นมาได้ง่ายเช่นเดียวกัน ดังนั้นเราอาจจะต้องระวังเรื่องนี้กันด้วยนะคะ



3. ไข้สมองอักเสบ

หลายคนอาจจะมองว่าโรคคางทูมอาจเป็นโรคธรรมดา ๆ ที่ไม่ได้ร้ายแรงอะไร แต่หารู้ไหมว่าหากเราปล่อยทิ้งไว้นาน โดยที่ไม่ได้ทำการรักษาอะไรเลย สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เรามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอาการไข้สมองอักเสบขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นควรรีบทำการรักษาโดยด่วนเลยนะคะ



4. สูญเสียการได้ยิน

นอกเหนือจากนี้ หากใครที่ป่วยเป็นโรคคางทูม และปล่อยปละละเลยการรักษาโรคนี้ไป สิ่งที่ตามมาก็อาจจะทำให้เราสูญเสียการได้ยินขึ้นมาได้เลย ยังไงอย่าลืมระวังเรื่องนี้กันด้วยนะคะ



จากที่เราได้พาทุกคนมาทำความเข้าใจกับโรคคางทูมกันมากขึ้นแล้วนั้น หากใครที่ไม่อยากป่วยเป็นโรคนี้ และไม่อยากให้มีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น เราไม่ควรที่จะปล่อยไว้นาน และพยายามรักษาสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งอยู่เสมอนะคะ เพื่อที่เราจะได้ห่างไกลจากการเป็นโรคคางทูมนั่นเองค่ะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคท้าวแสนปม โรคทางพันธุกรรม อีกโรคผิวหนังที่ผู้คนรังเกียจ !

เนื้องอกในมดลูก โรคที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม อันตรายมากแค่ไหน?

ลูคีเมีย หรือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคร้ายที่ต้องกังวล หากเครียดหนัก

ที่มา : 1, 2