หลายคนมักคิดว่าบาดแผลที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิด โรคบาดทะยัก ขึ้นในบริเวณที่ร่างกายมีแผล ซึ่งโรคนี้เป็นหนึ่งในความรุนแรงที่อาจต่อเนื่อง หากเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทต้องใช้เวลานานหลายเดือน กว่าที่จะฟื้นตัวและหายได้ดี ดังนั้นวันนี้ Mamastory จะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น จะได้เข้าใจถึงอันตรายของโรคบาดทะยัก และหันไปรับวัคซีนกันเยอะ ๆ หากพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันได้เลยค่ะ !
โรคบาดทะยักคืออะไร ?
โรคบาดทะยัก (Telanus) เป็นโรคที่เกิดจากสารพิษของแบคทีเรีย เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ที่มักพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น มูลสัตว์อย่างม้าหรือวัว เป็นโรคที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดอาการต่อผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งการติดเชื้อตามบาดแผลร่างกาย อาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกรามและคอมีอาการกระตุก ทำให้กล้ามเนื้อตึงหรือแข็งเกร็ง รวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการหายใจ อีกทั้งเมื่อสารพิษเข้าสู่ระบบประสาทจะใช้เวลาหลายเดือนในการฟื้นตัว อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
อาการของโรคบาดทะยัก
หลังจากที่แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางบาดแผลที่เกิดตามร่างกาย อาการจะเริ่มแสดงตั้งแต่ 2-3 วันแรก และอาจจะกินเวลายาวหลายสัปดาห์ แต่ระยะฟักตัวจะใช้เวลาราว 7-10 วัน โดยอาการทั่วไปมีดังนี้
- ภาวะกรามติด
- กล้ามเนื้อคอ/ท้อง แข็ง
- มีปัญหาเรื่องการกลืน
- กล้ามเนื้อกระตุกจนเจ็บ
- เหงื่อออก
- ความดันโลหิตสูง
- หัวใจเต้นเร็ว
- มีปัญหาการหายใจ
สาเหตุของโรคบาดทะยัก
อย่างที่บอกว่าสาเหตุของโรคบาดทะยักนี้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น และมูลสัตว์ เมื่อเชื้อเข้าไปในบาดแผลที่มีความลึก ก็จะเปลี่ยนเป็นสารพิษที่ส่งผลต่อเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการเสื่อม โดยเฉพาะเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ จะก่อให้เกิดอาการตึงหรือกระตุกได้ ซึ่งโรคนี้มักเกิดกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือไม่ได้รับการฉีดป้องกันทุก ๆ 10 ปี โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยที่สามารถติดเชื้อบาดทะยักได้ มักมีสิ่งเหล่านี้ร่วม ได้แก่
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคไอกรน (Pertussis) ในเด็กเล็ก ป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ !
- แผลจากของมีคม
- การเจาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- การสักโดยใช้เข็มเดียวกัน
- แผลจากการโดนยิง
- แผลปิดจากการกระดูกหัก
- แผลไฟไหม้
- แผลจากการผ่าตัด
- แผลจากการฉีดยาเข้าเส้นเลือด
- แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
- การติดเชื้อที่ฟัน
- การติดเชื้อสายสะดือ จากแม่ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคบาดทะยัก
- ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
- ได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักไม่ครบโดส
- บาดแผลมีเชื้อแบคทีเรีย
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้าใต้ผิวหนัง เช่น เสี้ยน ตะปู
วิธีป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อบาดทะยัก
เมื่อเกิดแผลขึ้นตามร่างกาย การทำความสะอาดแผลของตัวเอง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต โดยเริ่มจากการดูแลสิ่งสกปรก หมั่นล้างแผลให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้สิ่งแปลกปลอม หรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว หลุดออกจากบาดแผลก่อนที่จะเกิดการลุกลาม เพราะการติดเชื้อจนกลายเป็นบาดทะยัก สามารถลดความรุนแรงได้ด้วยการดูแลแผล ในส่วนของผู้ป่วยอาการหนัก แพทย์จะทำการสั่งยาร่วมด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคบาดทะยัก
แนวทางรับวัคซีนป้องกันบาดทะยักในเด็ก
โดยส่วนใหญ่แล้ว วัคซีนป้องกันบาดทะยักมักถูกให้ฉีดร่วมกับ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (Diphtheria) โรคบาดทะยัก (Telanus) และโรคไอกรน (Pertussis) โดยวัคซีนนี้จำเป็นที่จะต้องรับให้ครบ 5 เข็ม โดยจะฉีดให้เด็กตามอายุดังนี้
- 2 เดือน
- 4 เดือน
- 6 เดือน
- 15-18 เดือน
- 4-6 ปี
วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำหรับผู้ใหญ่
เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน ได้รับการรับรองว่าสามารถใช้ได้ทั้งในวัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 65 ปี เพื่อเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคไอกรน โดยแนะนำว่าเด็กที่ยังอยู่ในช่วงอายุ 11-12 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีนทุก ๆ 10 ปี แต่ถ้าหาไม่เคยฉีดวัคซีน สามารถรับวัคซีน 1 เข็มเพื่อทดแทนก่อนได้ แล้วหลังจากนั้นสามารถรับวัคซีนได้ต่อเนื่อง ซึ่งสำหรับผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนในตอนเด็ก ควรปรึกษาแพทย์อีกครั้งก่อนการรับวัคซีนทุกชนิด
ต้องบอกก่อนว่าโรคบาดทะยัก ไม่ใช่โรคที่ไกลตัวเสมอไป เพราะในปัจจุบันยังคงมีผู้ป่วยจากโรคนี้เพิ่มขึ้น แม้ในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุมากขึ้นแล้วก็ตาม อีกทั้งผู้ป่วยบางคนที่ได้รับวัคซีนแล้ว เพียงแค่การโดนบาดเล็กน้อย ยังมีความเสี่ยงในการเป็นบาดทะยักได้เช่นกัน อีกทั้งการรับวัคซีนป้องกันตั้งแต่ยังเล็ก นับเป็นเรื่องที่ช่วยป้องกันสุขภาพได้เป็นอย่างดีด้วยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โรคลมบ้าหมู หรือ โรคลมชักในเด็ก พ่อแม่รู้เท่าทัน ลูกรักก็ปลอดภัย !
ลูกอาเจียน (Vomiting) สัญญาณบอกโรคอันตราย ที่พ่อแม่ควรระวัง !