ตั้งครรภ์ 3 เดือน ท้องแข็งเป็นก้อน อันตรายหรือไม่? เกิดจากอะไร?

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาการต่าง ๆ จะเกิดขึ้นมากมาย และมีหลายอาการที่พร้อมจะส่งสัญญาณเมื่อมีโอกาสเสี่ยงให้เกิดภาวะแท้งได้ รวมทั้ 

 2241 views

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาการต่าง ๆ จะเกิดขึ้นมากมาย และมีหลายอาการที่พร้อมจะส่งสัญญาณเมื่อมีโอกาสเสี่ยงให้เกิดภาวะแท้งได้ รวมทั้งอาการท้องแข็งก็เช่นกัน แล้ว ตั้งครรภ์ 3 เดือน ท้องแข็งเป็นก้อน เป็นการส่งสัญญาณเกี่ยวกับอะไรบ้าง และคุณแม่จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้รอดพ้นจากสัญญาณอันตรายนี้ไปได้อย่างปลอดภัย

ตั้งครรภ์ 3 เดือน ท้องแข็งเป็นก้อน


ตั้งครรภ์ 3 เดือนท้องแข็งเป็นก้อน เกิดจากสาเหตุอะไร?


อาการท้องแข็งในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือน หรือช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นลักษณะของครรภ์ที่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงได้น้อย เนื่องจากมดลูกเกิดการขยายใหญ่ขึ้น และมดลูกก็จะทำการบีบรัดตัว จนเกิดเป็นก้อนแข็งบริเวณหน้าท้อง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะนี้คือ


ตั้งครรภ์ 3 เดือน ท้องแข็งเป็นก้อน

พักผ่อนไม่เพียงพอ

หากคุณแม่พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย หรือนอนหลับไม่สนิท อยู่บ่อยครั้ง มดลูกจะเกิดอาการเกร็ง และหดรัดตัวอย่ารุนแรง จนทำให้เกิดอาการครรภ์แข็งเป็นก้อน ซึ่งภาวะนี้ อาจเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้อีกด้วย


ทำงานหักโหม หรือยกของหนัก

เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการยกของหนัก การก้ม ๆ เงย ๆ หรือทำงานหนักจนเกิดความเครียดสะสม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผนังมดลูกเกิดอาการเกร็ง และบีบรัดตัว ส่งผลให้ครรภ์มีอาการแข็งเป็นก้อน


ทานอาหารที่มีแก๊สมาก หรือกินอิ่มมากจนเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นการกินอิ่มมากจนเกินไป ส่งผลให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร รวมถึงการรับประทานเครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีแก๊สในปริมาณที่มากก็จะส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด เป็นกรดไหลย้อน และท้องเกิดอาการเกร็ง แข็งเป็นก้อนได้ เช่นกัน



เปลี่ยนท่าลุก นั่ง นอน เร็วเกินไป

เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ จะต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ เลือดที่เคยหล่อเลี้ยงหนึ่งชีวิต ก็ต้องแบ่งไปเลี้ยงเจ้าก้อนเลือดน้อย ๆ ที่อยู่ในครรภ์เพิ่มด้วย ทำให้คุณแม่จะเกิดอาการเหนื่อยง่าย หน้ามืด และมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ การเปลี่ยนท่าทางการนอน การนั่ง หรือแม้กระทั่งการลุกเดิน หากทำอย่างรวดเร็วมากเกินไป ร่างกายจะเกิดอาการช็อก และยึดเกร็งกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง จนทำให้เกิดอาการแข็งเป็นก้อนที่หน้าท้อง ซึ่งมีความเสี่ยงให้เกิดการแท้งได้เช่นกัน



การกลั้นปัสสาวะ

การกลั้นปัสสาวะ จะทำให้กระเพาะปัสสาวะที่โดนเบียดอยู่แล้ว เกิดการบีบรัดมากยิ่งขึ้นจนอักเสบ ทำให้ท้องมีอาการเกร็งแข็งจนเป็นก้อน และอาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้


บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกท้องอืด เกิดจากสาเหตุใด คุณแม่รับมือกับอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง?


ท้องแข็งเฉพาะเวลานอนหงาย

ในกรณีที่คุณแม่มีอาการท้องแข็งเฉพาะเวลาที่นอนหงาย แต่เมื่ออยู่ในท่านอนอื่น ๆ แล้ว กลับไม่แข็ง และไม่มีอาการปวดท้อง ถือว่าเป็นภาวะที่ปกติ และไม่มีอันตรายแต่อย่างใดค่ะ แต่หากนอนหงายแล้วท้องแข็งในขณะที่ตัวคุณแม่ยังคงมีอาการปวดท้อง และเลือดออกจากช่องคลอดร่วมด้วย แม้ว่าเวลานอนตะแคงข้างกลับรู้สึกปกติดี ก็ยังควรต้องไปพบสูติ-นรีแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่เกิดขึ้น

ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตบริเวณของก้อนแข็งที่เกิดขึ้นบริเวณครรภ์ หากก้อนแข็งนั้นเกิดทางด้านบนซ้าย อาจจะเกิดจากแก๊สในกระเพาะอาหารที่มากเกินไปก็ได้ หากเกิดบริเวณด้านล่าง อาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะ ทั้งนี้ คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการเหล่านี้นาน และบ่อยครั้ง เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในภายหลัง



วิธีการดูแลตนเองเมื่อเกิดอาการท้องแข็ง

อาการท้องแข็ง สามารถเกิดขึ้นได้วันละหลายครั้ง แต่โดยปกติแล้ว อาการนี้ไม่ควรเกิน 6 – 10 ครั้งต่อวัน โดยเฉพาะกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก แต่อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นต่อเนื่องจนครรภ์อายุได้ 5 เดือน ซึ่งเราสามารถใช้วิธีเหล่านี้ ในการช่วยให้อาการท้องแข็ง คลายตัวลงได้



ตั้งครรภ์ 3 เดือน ท้องแข็งเป็นก้อน



  • นอนพักผ่อนให้มาก ๆ ห้ามบิดขี้เกียจ เพราะอาจกลายเป็นการกระตุ้นให้ท้องแข็งมากยิ่งขึ้น
  • เคลื่อนไหวให้ช้าลง เมื่อต้องการนอน ให้ค่อย ๆ ตะแคงลงอย่างช้า ๆ เวลาลุกขึ้น ก็ต้องพลิกตัวตะแคง แล้วค่อยพยุงตัวขึ้นอย่างช้า ๆ เช่นกัน
  • อย่ากลั้นปัสสาวะ เพราะนอกจากจะทำให้ท้องเกิดอาการเกร็ง แข็งตัวแล้ว ยังส่งผลให้ความดันสูงขึ้นอีกด้วย
  • อย่าจับท้องบ่อย เพราะยิ่งจับบ่อย ท้องก็จะยิ่งแข็ง เพราะเกิดการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดความเกร็งเกิดขึ้น
  • งดการจับ บีบ คลึง เต้านม เพราะหากมีการกระตุ้นบริเวณหัวนม จะเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนซึ่งมีผลกับการบีบตัวของมดลูกได้
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ในระยะนี้

หากทำตามสิ่งเหล่านี้แล้ว ท้องที่แข็งไม่มีอาการดีขึ้น หรือมีอาการท้องแข็งถี่ และบ่อย โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก โอกาสที่ท้องเกร็ง จนมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพราะนั่นอาจบ่งบอกว่าคุณกำลังเสี่ยงภาวะแท้งก็ได้



บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท้อง 3 เดือน การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์

ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

ท้อง 4 เดือน อาการคนท้อง 4 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์

ที่มา : 1, 2