โรคบาดทะยัก โรครุนแรงต่อระบบประสาท กว่าจะฟื้นตัวใช้เวลานาน !

หลายคนมักคิดว่าบาดแผลที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิด โรคบาดทะยัก ขึ้นในบริเวณที่ร่างกายมีแผล ซึ่งโรคนี้เป็นหนึ่งในความรุนแรงที่อาจต่อเนื่อง หา 

 1203 views

หลายคนมักคิดว่าบาดแผลที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิด โรคบาดทะยัก ขึ้นในบริเวณที่ร่างกายมีแผล ซึ่งโรคนี้เป็นหนึ่งในความรุนแรงที่อาจต่อเนื่อง หากเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทต้องใช้เวลานานหลายเดือน กว่าที่จะฟื้นตัวและหายได้ดี ดังนั้นวันนี้ Mamastory จะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น จะได้เข้าใจถึงอันตรายของโรคบาดทะยัก และหันไปรับวัคซีนกันเยอะ ๆ หากพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันได้เลยค่ะ !

โรคบาดทะยักคืออะไร ?

โรคบาดทะยัก (Telanus) เป็นโรคที่เกิดจากสารพิษของแบคทีเรีย เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ที่มักพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น มูลสัตว์อย่างม้าหรือวัว เป็นโรคที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดอาการต่อผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งการติดเชื้อตามบาดแผลร่างกาย อาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกรามและคอมีอาการกระตุก ทำให้กล้ามเนื้อตึงหรือแข็งเกร็ง รวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านการหายใจ อีกทั้งเมื่อสารพิษเข้าสู่ระบบประสาทจะใช้เวลาหลายเดือนในการฟื้นตัว อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

โรคบาดทะยัก



อาการของโรคบาดทะยัก

หลังจากที่แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางบาดแผลที่เกิดตามร่างกาย อาการจะเริ่มแสดงตั้งแต่ 2-3 วันแรก และอาจจะกินเวลายาวหลายสัปดาห์ แต่ระยะฟักตัวจะใช้เวลาราว 7-10 วัน โดยอาการทั่วไปมีดังนี้

  • ภาวะกรามติด
  • กล้ามเนื้อคอ/ท้อง แข็ง
  • มีปัญหาเรื่องการกลืน
  • กล้ามเนื้อกระตุกจนเจ็บ
  • เหงื่อออก
  • ความดันโลหิตสูง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีปัญหาการหายใจ



สาเหตุของโรคบาดทะยัก

อย่างที่บอกว่าสาเหตุของโรคบาดทะยักนี้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น และมูลสัตว์ เมื่อเชื้อเข้าไปในบาดแผลที่มีความลึก ก็จะเปลี่ยนเป็นสารพิษที่ส่งผลต่อเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการเสื่อม โดยเฉพาะเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ จะก่อให้เกิดอาการตึงหรือกระตุกได้ ซึ่งโรคนี้มักเกิดกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือไม่ได้รับการฉีดป้องกันทุก ๆ 10 ปี โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยที่สามารถติดเชื้อบาดทะยักได้ มักมีสิ่งเหล่านี้ร่วม ได้แก่

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคไอกรน (Pertussis) ในเด็กเล็ก ป้องกันได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ !

  • แผลจากของมีคม
  • การเจาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • การสักโดยใช้เข็มเดียวกัน
  • แผลจากการโดนยิง
  • แผลปิดจากการกระดูกหัก
  • แผลไฟไหม้
  • แผลจากการผ่าตัด
  • แผลจากการฉีดยาเข้าเส้นเลือด
  • แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน
  • การติดเชื้อที่ฟัน
  • การติดเชื้อสายสะดือ จากแม่ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน



โรคบาดทะยัก



ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคบาดทะยัก

  1. ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
  2. ได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักไม่ครบโดส
  3. บาดแผลมีเชื้อแบคทีเรีย
  4. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าใต้ผิวหนัง เช่น เสี้ยน ตะปู



วิธีป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อบาดทะยัก

เมื่อเกิดแผลขึ้นตามร่างกาย การทำความสะอาดแผลของตัวเอง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต โดยเริ่มจากการดูแลสิ่งสกปรก หมั่นล้างแผลให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้สิ่งแปลกปลอม หรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว หลุดออกจากบาดแผลก่อนที่จะเกิดการลุกลาม เพราะการติดเชื้อจนกลายเป็นบาดทะยัก สามารถลดความรุนแรงได้ด้วยการดูแลแผล ในส่วนของผู้ป่วยอาการหนัก แพทย์จะทำการสั่งยาร่วมด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยัก



แนวทางรับวัคซีนป้องกันบาดทะยักในเด็ก

โดยส่วนใหญ่แล้ว วัคซีนป้องกันบาดทะยักมักถูกให้ฉีดร่วมกับ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (Diphtheria) โรคบาดทะยัก (Telanus) และโรคไอกรน (Pertussis) โดยวัคซีนนี้จำเป็นที่จะต้องรับให้ครบ 5 เข็ม โดยจะฉีดให้เด็กตามอายุดังนี้

  • 2 เดือน
  • 4 เดือน
  • 6 เดือน
  • 15-18 เดือน
  • 4-6 ปี



วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำหรับผู้ใหญ่

เมื่อปี 2548 ที่ผ่านมา วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ และไอกรน ได้รับการรับรองว่าสามารถใช้ได้ทั้งในวัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 65 ปี เพื่อเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคไอกรน โดยแนะนำว่าเด็กที่ยังอยู่ในช่วงอายุ 11-12 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีนทุก ๆ 10 ปี แต่ถ้าหาไม่เคยฉีดวัคซีน สามารถรับวัคซีน 1 เข็มเพื่อทดแทนก่อนได้ แล้วหลังจากนั้นสามารถรับวัคซีนได้ต่อเนื่อง ซึ่งสำหรับผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนในตอนเด็ก ควรปรึกษาแพทย์อีกครั้งก่อนการรับวัคซีนทุกชนิด

ต้องบอกก่อนว่าโรคบาดทะยัก ไม่ใช่โรคที่ไกลตัวเสมอไป เพราะในปัจจุบันยังคงมีผู้ป่วยจากโรคนี้เพิ่มขึ้น แม้ในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุมากขึ้นแล้วก็ตาม อีกทั้งผู้ป่วยบางคนที่ได้รับวัคซีนแล้ว เพียงแค่การโดนบาดเล็กน้อย ยังมีความเสี่ยงในการเป็นบาดทะยักได้เช่นกัน อีกทั้งการรับวัคซีนป้องกันตั้งแต่ยังเล็ก นับเป็นเรื่องที่ช่วยป้องกันสุขภาพได้เป็นอย่างดีด้วยค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคลมบ้าหมู หรือ โรคลมชักในเด็ก พ่อแม่รู้เท่าทัน ลูกรักก็ปลอดภัย !

ลูกอาเจียน (Vomiting) สัญญาณบอกโรคอันตราย ที่พ่อแม่ควรระวัง !

ลูกมีผื่นแดง ปัญหาผิวที่แม่ป้องกันได้ แค่เพียงรู้สาเหตุ !

ที่มา : 1, 2