อาหารสำหรับคนท้อง ไตรมาสที่ 2 เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่อง ที่แม่ท้องต้องค้นหากันค่ะ เพราะในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ การตามใจปากทั้งหมด อาจจะทำให้ร่างกาย ไม่ได้รับสารอาหารที่พอเพียง ที่จะไปแบ่งให้กับทารกในครรภ์ กินเยอะไปก็กลัวน้ำหนักเกิน กินน้อยไปก็กลัวว่าจะไม่พอต่อร่างกายอีก วันนี้ Mamastory จะพาไปทำความเข้าใจ ถึงสารอาหารที่แม่ท้อง ไตรมาสที่ 2 ควรจะได้รับค่ะ
ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ แม่ท้องบางราย อาจจะยังไม่มีความอยากอาหารมากนัก หรือบางรายก็อาจจะอยากทานจุกจิก จนร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ ส่งผลให้น้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม่ท้องไตรมาสที่ 2 ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มากเกินไป ทั้งวันควรจะกินไม่เกิน 2,200 แคลอรี่ค่ะ
อาหารสำหรับคนท้อง ไตรมาสที่ 2 โดยสารอาหารที่ควรได้รับในไตรมาสนี้คือ ไขมันที่มาจากกรดไขมันโอเมก้า 3 แคลเซียม 1,000-1,3000 มิลลิกรัมต่อวัน วิตามิน D และเบต้าแคโรทีน ที่เป็นวิตามิน A ที่ปลอดภัยสำหรับคนท้องค่ะ วิตามิน C และคอลลาเจน นอกจากนี้ก็ควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กด้วยนะคะ
สารอาหารที่แม่ท้องไตรมาส 2 ควรได้รับ
1. ธาตุเหล็ก (Iron)
การทานธาตุเหล็ก (Iron) เข้าไป จะช่วยให้ร่างกายอุดมไปด้วย ออกซิเจน (Oxygen) ในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยจะส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ หากระหว่างการตั้งครรภ์ แม่ท้องขาดธาตุเหล็ก อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ ซึ่งเป็นสาเหตุเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน อาทิ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ต้องรู้! ธาตุเหล็กสำหรับคนท้อง ส่งผลดีต่อลูกอย่างไร?
แหล่งที่มาของธาตุเหล็ก
- เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- อาหารทะเลปรุงสุก
- ผักใบเขียว
- ถั่ว
- ธัญพืช
- ข้าวโอ๊ต
- ซีเรียลน้ำตาลต่ำ
2. โปรตีน (Protein)
การที่แม่ท้อง ไตรมาสที่ 2 กินโปรตีน จะช่วยพัฒนาสมอง และพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ โดยโปรตีนที่ทานเข้าไป จะช่วยในการทำงานของมดลูก และทรวงอก ทั้งนี้ การทานโปรตีนให้ถึง ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของแม่ท้อง หรือนับง่าย ๆ คือ ควรมีโปรตีน 30-40% ของมื้ออาหารค่ะ
แหล่งที่มาของโปรตีน
- เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- ถั่ว
- เต้าหู้
- ไข่
- ปลา (ปรุงสุก)
3. แคลเซียม (Calcium)
เพราะแคลเซียม เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการสร้างกระดูก และฟันของลูกน้อยในครรภ์ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของระบบประสาท ระบบไหลเวียนของเลือดอีกด้วย ยิ่งเป็นข้อสำคัญว่า แม่ต้องบำรุงและเพิ่มแคลเซียมให้เพียงพอ โดยในแต่ละวัน แม่ท้องต้องการแคลเซียมถึง 1,000 มิลลิกรัม
แหล่งที่มาของแคลเซียม
- ผลิตภัณฑ์จากนม
- ไข่
- เต้าหู้
- ถั่วขาว
- อัลมอนด์
- ปลาซาร์ดีน
- ปลาแซลมอน
- ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า, บรอกโคลี
- น้ำผลไม้
4. โฟเลต (Folate)
โฟเลต หรือ กรดโฟลิก เป็นสารอาหารที่จำเป็น ระหว่างการตั้งครรภ์ ที่มีส่วนสำคัญ ในการพัฒนาระบบประสาท และสมองของทารก ช่วยปกป้องท่อประสาท และยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจคลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย หากแม่ท้องได้รับโฟเลตไม่ถึง 600-800 มิลลิกรัมต่อวัน อาจส่งผลให้ลูกน้อย มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้ค่ะ
แหล่งที่มาของโฟเลต
- พืชตระกูลถั่ว
- ธัญพืช
- ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม
- ส้ม
- ข้าว
5. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)
เมื่อแม่ท้องไตรมาสที่ 2 ได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม จะช่วยลดในการแพ้ท้องได้ เนื่องจากเป็นอาหารย่อยง่าย แต่ให้พลังงานสูง แถมยังช่วยลดความคลื่นไส้ได้ แต่ก็ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจเสี่ยงโรคอ้วนได้ โดยส่วนมาก คาร์โบไฮเดรตมักพบได้ ในอาหาร 3 ประเภท ได้แก่ น้ำตาล แป้ง และเส้นใยอาหาร
รวมเมนูอาหารคนท้อง ไตรมาส 2
ในช่วงที่เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ทารกจะเริ่มมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น แม่ท้องจำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักตัว เพื่อให้เหมาะสมตามเกณฑ์ ในช่วงนี้จึงควรเน้นโปรตีน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเต็มที่ แต่ก็ยังจำเป็น ที่จะได้รับสารอาหารอื่นด้วย โดยอาหารสำหรับคนท้อง ไตรมาสที่ 2 ได้แก่
- ต้มยำทะเล
- ต้มส้มปลาทู
- แกงส้มผักรวม
- ตับผัดกะเพรา
- ยำไข่ดาว
- ข้าวกล้องคลุกกะปิ
- ยำปลาทู
- แกงเลียง
- ยำหัวปลี
- ฟักทองผัดไข่
นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มเป็นเมนูอื่น ที่เข้ากับตัวเองได้ด้วยค่ะ ขอเป็นเพียงเมนูที่ดีต่อตัวเอง มีความหลากหลาย และได้สารอาหารที่ครบถ้วน ก็ล้วนเป็นเมนูคนท้องได้ทั้งนั้นค่ะ
ในช่วงเดือนที่ 4-6 ของการตั้งครรภ์ หรือไตรมาสที่ 2 จะเป็นช่วงที่ร่างกายแม่ท้อง มีความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึงขนาดครรภ์ที่เริ่มใหญ่ขึ้น อาการวิงเวียน น้ำหนักขึ้น หน้าอกขยาย เรียกได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่จะได้สัมผัส การเป็นคนท้องอย่างจริงจัง ขณะที่ทารกในครรภ์ก็มีพัฒนาการที่ก้าวกระโดด และทารกยังสามารถเคลื่อนที่ได้มากขึ้น จนคุณแม่รู้สึกได้ถึงการดิ้นอย่างชัดเจนค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องกินข้าวขาหมูได้ไหม กินแล้วมีประโยชน์จริงหรือ!
คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ช่วยบำรุงครรภ์ได้จริงหรือไม่?
คนท้องกินน้ำขิงได้ไหม ขิงแบบไหนให้ดีต่อแม่ท้อง
ที่มา : 1